แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาความไว ความจำเพาะ และความถูกต้อง ของการใช้ชุดตรวจคัดกรองแอนติบอดีของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เปรียบเทียบกับการตรวจโดยวิธีขยายสารพันธุกรรม (Real-time PCR) ในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในผู้ป่วยที่ทำหัตถการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาฉุกเฉิน และบุคลากรทางการแพทย์

dc.contributor.authorอมรินทร์ นาควิเชียรth_TH
dc.contributor.authorAmarin Narkwicheanth_TH
dc.contributor.authorวิภาดา เหล่าสุขสถิตย์th_TH
dc.contributor.authorWipada Laosooksathitth_TH
dc.contributor.authorวิทยา จอมอุยth_TH
dc.contributor.authorWittaya Jomouith_TH
dc.contributor.authorระรินทิพย์ บุญประดิษฐ์th_TH
dc.contributor.authorRarinthip Boonpraditth_TH
dc.date.accessioned2021-03-26T08:20:27Z
dc.date.available2021-03-26T08:20:27Z
dc.date.issued2564-01
dc.identifier.otherhs2654
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5331
dc.description.abstractที่มาและเหตุผล เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ (ความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำ) ของชุดตรวจ Baiya’s Rapid Covid-19 IgM/IgG test kit ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ทำหัตถการทางสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยาฉุกเฉิน กึ่งฉุกเฉิน ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และบุคลากรทางการแพทย์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เปรียบเทียบกับการตรวจโดยวิธี Real-time reverse transcriptase polymerase chain reaction (Real-time RT-PCR or Real-time PCR) จากสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาแบบพรรณนาในผู้ป่วย จำนวน 230 ราย และบุคลากรแผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จำนวน 60 ราย รวมจำนวนอาสาสมัคร 290 ราย อาสาสมัครทุกคนได้รับการตรวจหาแอนติบอดี้ โดยชุดตรวจ Rapid IgM/IgG antibody test อ่านผลที่ 15 นาที และ Real-time RT-PCR ต่อเชื้อไวรัส 2019-nCoV ก่อนเข้ารับการรักษา (ผู้ป่วย) หรือในวันเดียวกัน (บุคลากร) ผลการศึกษา กลุ่มผู้เข้ารับบริการที่มีผลตรวจทั้ง rapid test และ Real-time PCR จำนวน 210 คน ค่ามัธยฐาน อายุ [พิสัย] 29 [25-36] ปี ร้อยละ 83 เป็นการคลอดบุตรรวมผ่าตัดคลอด เป็นผู้มีความเสี่ยงเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรคของประเทศ 8 (3.8%) ราย จากจำนวนทั้งหมดมีผลตรวจ Rapid test ให้ผลบวก IgM 2 ราย IgM 0 ราย คิดเป็นอัตราให้ผลบวก 1% ทั้งสองรายไม่มีความเสี่ยงจากการเดินทาง สัมผัสและอาการแสดง ผลการตรวจ Real-time PCR ให้ผลลบทั้ง 2 ราย โดย 1 จาก 2 รายเป็นแพทย์ (บุคลากร) ของโรงพยาบาลที่ตั้งครรภ์ กลุ่มบุคลากร จำนวน 60 ราย เป็นหญิงร้อยละ 78.3 ค่ามัธยฐานอายุ [พิสัย] 28 [24.8-38] ปี เข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง 12/60 คน คิดเป็น 20% ผลการตรวจ Rapid test พบว่าให้ผลบวก IgM 4 ราย ในจำนวนนี้ 3 ราย ไม่มีอาการแสดงและไม่มีประวัติสัมผัสเสี่ยง 1 ราย มีอาการไอ น้ำมูก คิดเป็นอัตราการให้ผลบวก 6.8% โดยผลตรวจ Real-time PCR ให้ผลลบทั้งหมด บทวิจารณ์และข้อสรุป การใช้ชุดตรวจ Baiya rapid COVID-19 IgG/IgM test kit ในการคัดกรอง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ทำการผ่าตัด/หัตถการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และบุคลากรของแผนก การตรวจให้ผลลบใกล้เคียงกับการตรวจ Real-time RT-PCR โดยมีผลบวกลวง 1.9% ทั้งนี้ ผู้เข้ารับบริการและบุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ ไม่มีความเสี่ยงในการสัมผัส โดยมีกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงตามเกณฑ์สอบสวนโรค รวม 7.6% (20/260 ; 3% และ 20% ในกลุ่มผู้ป่วยและบุคลากร ตามลำดับ) คณะผู้วิจัยสนับสนุนการใช้ชุดตรวจ Rapid antibody test ในการคัดกรองผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลอดบุตร ผ่าตัด หัตถการต่างๆ และในบุคลากร ควบคู่ไปกับการตรวจ Real-time PCR (กรณีให้ผลบวก) เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ณ จุดบริการth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectชุดตรวจหาเชื้อth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการศึกษาความไว ความจำเพาะ และความถูกต้อง ของการใช้ชุดตรวจคัดกรองแอนติบอดีของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เปรียบเทียบกับการตรวจโดยวิธีขยายสารพันธุกรรม (Real-time PCR) ในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในผู้ป่วยที่ทำหัตถการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาฉุกเฉิน และบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.title.alternativeSensitivity, specificity and accuracy of the Baiya’s COVID-19 Rapid Test in comparison to Real-time PCR for diagnosis of the infection in emergency obstetrics and gynecology patients and medical personnelth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWC503 อ295ก 2564
dc.identifier.contactno63-132
.custom.citationอมรินทร์ นาควิเชียร, Amarin Narkwichean, วิภาดา เหล่าสุขสถิตย์, Wipada Laosooksathit, วิทยา จอมอุย, Wittaya Jomoui, ระรินทิพย์ บุญประดิษฐ์ and Rarinthip Boonpradit. "การศึกษาความไว ความจำเพาะ และความถูกต้อง ของการใช้ชุดตรวจคัดกรองแอนติบอดีของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เปรียบเทียบกับการตรวจโดยวิธีขยายสารพันธุกรรม (Real-time PCR) ในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในผู้ป่วยที่ทำหัตถการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาฉุกเฉิน และบุคลากรทางการแพทย์." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5331">http://hdl.handle.net/11228/5331</a>.
.custom.total_download185
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2654.pdf
ขนาด: 1.535Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย