dc.contributor.author | ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล | th_TH |
dc.contributor.author | Tippawan Liabsuetrakul | th_TH |
dc.contributor.author | หมิวมินอู | th_TH |
dc.contributor.author | Myo Minn Oo | th_TH |
dc.contributor.author | เพชรวรรณ พึ่งรัศมี | th_TH |
dc.contributor.author | Petchawan Pungrassami | th_TH |
dc.contributor.author | นริศ บุญธนภัทร | th_TH |
dc.contributor.author | Naris Boonthanapat | th_TH |
dc.contributor.author | เททโกโกออง | th_TH |
dc.contributor.author | Htet Ko ko Aung | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-04-22T02:27:09Z | |
dc.date.available | 2021-04-22T02:27:09Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.other | hs2658 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5345 | |
dc.description.abstract | บทนำ วัณโรคเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่เป็นภาระต่อสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในประเทศที่ประชาชนมีรายได้ต่ำและปานกลางรวมถึงประเทศไทย วัณโรคเกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis สามารถแพร่จากผู้ติดเชื้อไปยังผู้อื่นผ่านทางระบบทางเดินหายใจและทางอากาศ การแพร่เชื้อขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของคนและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้พบได้บ่อยในแรงงานข้ามชาติทำให้เป็นแหล่งของการแพร่กระจายวัณโรคได้ง่าย แม้ว่าระบบสุขภาพและสังคมจะตระหนักถึงการเข้าถึงการดูแลรักษา การป้องกันและควบคุมวัณโรคดีกว่าในอดีต แต่ยังคงมีความท้าทายจากการที่แรงงานข้ามชาติที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ มีความรู้สึกการตีตราทางสังคม มีข้อจำกัดด้านการสนับสนุนทางสังคมหรือไม่มีสิทธิประกันสุขภาพ ตลอดจนมีความเชื่อหรือการรับรู้ของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ อำเภอแม่สอดเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่าที่มีชาวพม่าอาศัยและอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรคในแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่มีสิทธิประกันสุขภาพและตัดสินใจเข้ารับการดูแลในสถานพยาบาลหรือรับการดูแลรักษาล่าช้าในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) ตรวจสอบผลของสิทธิประกันสุขภาพต่อความล่าช้าในการเข้าถึงและดูแลรักษาและผลลัพธ์ของการรักษาในแรงงานข้ามชาติที่เป็นวัณโรค และ 3) วัดขนาดปัญหาของการตีตราทางสังคม การได้รับสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติที่เป็นวัณโรค ระเบียบวิธีศึกษา การศึกษาแบบไปข้างหน้ารูปแบบผสมผสานดำเนินการในโรงพยาบาลแม่สอดและศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโกล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นสถานพยาบาลหลักในการดูแลวัณโรคแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ระยะเวลาการศึกษา คือ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เกณฑ์การคัดเลือกคือ แรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่ป่วยเป็นวัณโรคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ศึกษา ช่วง 3 เดือนแรกของการรักษา โดยมีขนาดตัวอย่างสำหรับการศึกษาเชิงปริมาณจำนวน 218 คน และเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 37 คน ตัวแปรหลักที่ศึกษา ได้แก่ สิทธิประกันสุขภาพ ความล่าช้าในการดูแลรักษา การตีตราทางสังคม การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิต และตัวแปรอิสระอื่นๆ ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ การเข้ารับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลแรงงานและอาการทางคลินิก การวิเคราะห์สำหรับความครอบคลุมของสิทธิประกันสุขภาพและความล่าช้าในการดูแลรักษา เป็นเชิงพรรณนาแสดงค่าร้อยละ โดยใช้เกณฑ์ความล่าช้าโดยรวมตั้งแต่มีอาการจนถึงรับการรักษาที่เกิน 3 สัปดาห์ การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีประกันสุขภาพโดยใช้การถดถอยโลจิสติกส์แบบพหุคูณ ส่วนผลของการประกันสุขภาพหรือการสนับสนุนทางการเงินอื่นๆ ที่มีต่อความล่าช้าในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพถูกวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ สำหรับการเลือกปฏิบัติทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิต แสดงเป็นระดับของคะแนนแสดงค่าเป็นค่าเฉลี่ยหรือมัธยฐานตามเหมาะสม ระดับนัยสำคัญตั้งไว้ที่ร้อยละ 5 ผลการศึกษา ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษามีแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่ป่วยเป็นวัณโรคเข้าในโครงการจำนวน 229 ราย และในจำนวนนี้ 37 คนได้รับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผลการศึกษา พบว่า ความครอบคลุมของการมีสิทธิประกันสุขภาพในขณะที่วินิจฉัยวัณโรคเท่ากับร้อยละ 32 โดยสถานที่พำนักและสถานะ การมีเอกสารสิทธิแรงงานข้ามชาติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการมีสิทธิประกันสุขภาพ เหตุผลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพสนับสนุนการค้นพบเชิงปริมาณที่ว่า การมีสิทธิประกันสุขภาพช่วยสนับสนุนการเข้าถึงการบริการทั้งในด้านการวินิจฉัยและรับการรักษา แต่การไม่รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องหรือปัญหาอุปสรรคด้านการเงินทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประกันสุขภาพได้ มีผู้ป่วยจำนวน 41 คน จากผู้เข้าร่วม 229 คน วินิจฉัยโรคมาจากการตรวจสุขภาพตามปกติหรือการค้นหาโรคเชิงรุก จึงไม่เหมาะสมในการวิเคราะห์เกี่ยวกับความล่าช้าในการดูแลรักษา จึงเหลือผู้ป่วยจำนวน 188 คน ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับความล่าช้าพบว่า ร้อยละ 66.4 มีความล่าช้าโดยรวม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความล่าช้าในส่วนผู้ป่วย คือ มีระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนถึงวินิจฉัยที่มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 35 วัน การวิเคราะห์เชิงพหุคูณพบว่า การมีประกันสุขภาพและการอาศัยในพื้นที่ที่ให้บริการทำให้ความล่าช้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจะดีขึ้นเมื่อรักษาครบ 6 เดือน สุขภาพโดยทั่วไปยังคงอยู่ในระดับต่ำที่สุดและการทำงานทางสังคมพบว่าดีขึ้นน้อยที่สุด แม้จะมีการตีตราทางสังคมจะลดลงเล็กน้อยในเดือนที่ 6 แต่การรับรู้ต่อการตีตราทางสังคมด้านชุมชนสูงกว่าด้านตนเองและการสนับสนุนทางสังคมต่ำอย่างต่อเนื่องตลอดหกเดือน สรุปผล มีเพียงหนึ่งในสามของผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชาติชาวพม่าเท่านั้นที่มีประกันสุขภาพ ประมาณครึ่งหนึ่งถึงสองในสามของแรงงานข้ามชาติที่เป็นวัณโรคทั้งหมดมีความล่าช้าของระบบสุขภาพที่นับระยะเวลาจากการขอรับบริการด้านสุขภาพถึงได้รับการรักษา การมีประกันสุขภาพช่วยลดความล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในระดับปานกลาง มีการรับรู้การตีตราทางสังคมสูง และการสนับสนุนทางสังคมต่ำ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | วัณโรค | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis | th_TH |
dc.subject | ประกันสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Insurance | th_TH |
dc.subject | แรงงานข้ามชาติ | th_TH |
dc.subject | Migrant Workers | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การประกันสุขภาพและความล่าช้าในการเข้าถึงและรับการดูแลรักษาของผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Health insurance, delays in seeking and receiving care and treatment outcomes among Myanmar migrants with tuberculosis in a border area, Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WF200 ท478ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 62-082 | |
.custom.citation | ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล, Tippawan Liabsuetrakul, หมิวมินอู, Myo Minn Oo, เพชรวรรณ พึ่งรัศมี, Petchawan Pungrassami, นริศ บุญธนภัทร, Naris Boonthanapat, เททโกโกออง and Htet Ko ko Aung. "การประกันสุขภาพและความล่าช้าในการเข้าถึงและรับการดูแลรักษาของผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5345">http://hdl.handle.net/11228/5345</a>. | |
.custom.total_download | 76 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 6 | |