การศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย
dc.contributor.author | สาวิตรี อัษณางค์กรชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Sawitri Assanangkornchai | th_TH |
dc.contributor.author | กนิษฐา ไทยกล้า | th_TH |
dc.contributor.author | Khanittha Thaikla | th_TH |
dc.contributor.author | มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ | th_TH |
dc.contributor.author | Muhammad Fahmee Talib | th_TH |
dc.contributor.author | สุชาดา ภัยหลีกลี้ | th_TH |
dc.contributor.author | Suchada Paileeklee | th_TH |
dc.contributor.author | ศยามล เจริญรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sayamol Charoenratana | th_TH |
dc.contributor.author | ดาริกา ใสงาม | th_TH |
dc.contributor.author | Darika Saingam | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-04-28T03:10:56Z | |
dc.date.available | 2021-04-28T03:10:56Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.other | hs2659 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5346 | |
dc.description.abstract | นับตั้งแต่การออกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และการนิรโทษการครอบครองกัญชา ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มนำร่องเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ และสำหรับแพทย์แผนไทยเริ่มให้บริการนำร่องในโรงพยาบาล 13 แห่ง วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562 จนกระทั่ง ณ เวลาที่เขียนรายงานนี้ (มิถุนายน 2563) มีโรงพยาบาลที่ให้บริการทางแพทย์แผนปัจจุบันในทุกเขตสุขภาพทั้งสิ้น 255 แห่ง โรงพยาบาลในโครงการศึกษาวิจัยสารสกัดน้ำมันกัญชาใน 4 โรค และคลินิกกัญชาการแพทย์แผนไทย 24 แห่ง ถึงแม้ว่าจะมีการให้บริการสารสกัดน้ำมันกัญชาในโรงพยาบาลต่างๆ ดังกล่าว ก็ยังมีผู้ใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์อีกจำนวนมากที่ไม่ได้มาแจ้งขอครอบครองฯ หรือไม่สามารถเข้าถึงยากัญชาจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขและยังมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความคิดเห็นความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างหลากหลาย รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์กัญชาที่มีคุณภาพหลายระดับ การศึกษาสถานการณ์จริงในประเทศไทยเกี่ยวกับกลุ่มผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ รวมทั้งผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องในบทบาทต่างๆ จึงมีความจำเป็นเพื่อจะได้ทราบจำนวนความต้องการหรือความจำเป็นของผู้ใช้กัญชาทางแพทย์ โครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการใช้กัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอุปสงค์และอุปทานของกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ในประเทศไทย วิธีการศึกษา โครงการนี้ประกอบด้วยงานสองขั้นตอนหลัก ได้แก่ การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant in-depth interviews) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจาก กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ จำนวน 36 คนทั่วประเทศ ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรงพยาบาลของรัฐที่เปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์ หมอพื้นบ้าน แพทย์ทางเลือก ผู้ให้บริการน้ำมันกัญชาใต้ดิน ผู้บริหาร นักการเมือง ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย และการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้การสำรวจภาคตัดขวาง (cross-sectional survey) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ respondent-driven sampling (RDS) เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ที่มาแจ้งขอครอบครองกัญชาฯ ผู้ป่วยที่ได้รับยากัญชาจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้านหรือแพทย์ทางเลือก และผู้ใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคที่ยังไม่เปิดเผยตน (ผู้ใช้ซ่อนเร้น หรือ ใต้ดิน) รวม 485 คน (ภาคเหนือ 125 คน ภาคกลาง 120 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 120 คน และภาคใต้ 120 คน) เก็บข้อมูลในช่วงปลายเดือนกันยายน 2562 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ผลการศึกษา ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์มีสัดส่วนเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุวัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือ 45-65 ปี (ร้อยละ 61.5) ผู้ให้ข้อมูลประมาณหนึ่งในสามจบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป อาชีพที่พบเป็นสัดส่วนสูงสุด ได้แก่ การเป็นเจ้าของกิจการ (ร้อยละ 16.5) รองลงมาได้แก่ การรับราชการ (ร้อยละ 14.2) ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ในการศึกษานี้เริ่มใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์มานาน 10.5 เดือนโดยเฉลี่ย (พิสัย 7 วัน ถึง 828 วัน) โดยใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคมะเร็งเป็นสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 22.5, 95% CI: 15.6, 29.4 ได้แก่ มะเร็งเต้านม ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด ลำไส้ ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ) รองลงมาคือโรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (ร้อยละ 21.7, 95% CI: 16.3, 27.0 ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดประจำเดือน ข้อเข่า ข้อสะโพกเสื่อม ออฟฟิศซินโดรม ไมเกรน กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระตุก หดตัวผิดปกติ อัมพาตครึ่งซีก กระดูกทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นแขนขาตึง) โรคทางจิตประสาท (ร้อยละ 20.8, 95% CI: 15.4, 26.0 ได้แก่ เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไบโพลาร์ นอนไม่หลับ นอนหลับผิดปกติ ใกล้หมดประจำเดือน โรคหัวใจอ่อนๆ อัลไซเมอร์และพาร์กินสัน) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ร้อยละ 20.5, 95% CI: 15.2, 25.9 ได้แก่ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงและเก๊าท์) เมื่อแบ่งตามกลุ่มโรคหรืออาการเจ็บป่วยตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจำแนกตามตามระดับหลักฐานทางวิชาการ พบว่าสัดส่วนของผู้ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยทั้งสามกลุ่มมีพอๆ กัน (กลุ่ม ก. ข. และ ค. ร้อยละ 21.5, 20.6, และ 21.7 ตามลำดับ) แต่มีสัดส่วนของผู้ที่ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคอื่นๆ ที่อยู่นอกประกาศฯ นี้มากที่สุด (ร้อยละ 36.3, 95% CI: 29.8, 42.8) ผู้ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในรูปแบบน้ำมันสกัดสำหรับกินหรือหยดใต้ลิ้น (ร้อยละ 84.7, 95% CI: 78.9, 90.5) แต่มีประมาณร้อยละ 9.2 ระบุว่าใช้ดอก ใบ ต้น หรือรากกัญชาสดหรือแห้งโดยไม่ผ่านการสกัดแปรรูปและมีผู้ให้ข้อมูลเพียงหกคนที่ใช้ในรูปแบบขนมหรือชากัญชา ผู้ให้ข้อมูลมากกว่าร้อยละ 90 ระบุว่า หลังใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สำหรับรักษากลุ่มโรคใดก็ตาม เขามีอาการดีขึ้นหรือดีขึ้นมาก วิธีการเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์มีความแตกต่างกันมากในแต่ละภาค ผู้ให้ข้อมูลในภาคกลางและภาคใต้ระบุว่าได้ผลิตภัณฑ์กัญชามาจากผู้ค้ายาในตลาดมืดเป็นสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 77.8 และร้อยละ 80.4) ในขณะที่ผู้ให้ข้อมูลในภาคเหนือจำนวนมากได้จากแพทย์พื้นบ้านนอกระบบสาธารณสุขและได้ฟรีจากเพื่อนหรือญาติพี่น้องให้มาและผู้ให้ข้อมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จากแพทย์แผนปัจจุบันที่เปิดคลินิกส่วนตัวที่มีการรักษาด้วยกัญชาสูงที่สุด (ร้อยละ 45.2) สัดส่วนของการได้รับจากโรงพยาบาลหรือหน่วยงานในระบบสาธารณสุขต่ำมากในทุกภาค (น้อยกว่าร้อยละ 1 ในภาคเหนือถึงร้อยละ 3 ในภาคใต้) ผู้ใช้กัญชาทางแพทย์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการอนุญาตให้ใช้ จำหน่ายหรือปลูกกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ แต่ไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตสำหรับการจำหน่ายหรือปลูกเพื่อการผ่อนคลาย ส่วนใหญ่ต้องการให้กัญชามีสถานะทางกฎหมายในระดับเดียวกันกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบและบุหรี่ แต่ก็ไม่ควรควบคุมในระดับเดียวกันกับสารเสพติดชนิดอื่น จากการประมาณการจำนวนผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์แบบวิธีพหุคูณ (multiplier) โดยใช้จำนวนของผู้ลงทะเบียนขอนิรโทษกรรมฯ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ของโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเป็นฐานเทียบ จะได้จำนวนประชากรผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ประมาณ 560,031 และ 606,153 คน หรือคิดเป็นความชุก 10.93 และ 11.83 ต่อประชากรหนึ่งพันคน ตามลำดับ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพระบุว่า ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ใช้เพื่อรักษาโรคเรื้อรังตามความเชื่อของตนเอง ส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือกลุ่มโรคตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่เชื่อว่ากัญชารักษาได้ทุกโรคและมีผลเสียน้อย ผู้ใช้ฯ ส่วนใหญ่ได้รับกัญชาจากแหล่งนอกระบบ เนื่องจากเข้าถึงยาจากแหล่งนอกระบบมาก่อน มีความเชื่อถือและไว้วางใจผู้ให้บริการนอกระบบ เข้าถึงคลินิกกัญชาในระบบยาก โรคที่เป็นไม่ตรงกับข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ใช้ฯ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการทำให้กัญชาทางการแพทย์เป็นสิ่งถูกกฎหมาย ให้ควบคุมเหมือนสุรา ยาสูบ แต่ไม่เห็นด้วยกับการให้ใช้เพื่อผ่อนคลาย การติดต่อสื่อสารของเครือข่ายการใช้กัญชาใต้ดิน มักไม่เปิดเผยตัวตน มีการเรียนรู้กันผ่านตำราและการฝึกอบรม การบอกต่อและสื่อสารผ่านวิทยุ หรือนัดประชุมกันผ่านกลุ่มไลน์ ซึ่งตรวจสอบได้ยาก กัญชาที่ซื้อขายโดยทั่วไปจากประเทศเพื่อนบ้านหรือในตลาดทั่วไปมักมีการปนเปื้อนของสารเคมี โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปัจจุบันมีการลักลอบปลูกกัญชาไว้ใช้เองเป็นจำนวนมาก กลุ่มที่ครอบครองและผลิตหรือแปรรูปกัญชาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักธุรกิจหรือผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ดังนั้น กัญชาใต้ดินส่วนใหญ่จึงเป็นการซื้อขายกันในเชิงพาณิชย์มากกว่านำไปใช้เพื่อรักษาอาการป่วยเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นของการเข้าไปให้บริการกัญชานั้นมักมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยของตนเองเป็นหลัก โดยสรุป ผลการศึกษานี้แสดงภาพสถานการณ์เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยในระยะเกือบหนึ่งปีแรกของการประกาศใช้กัญชาทางการแพทย์แบบถูกกฎหมาย ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ยังได้รับผลิตภัณฑ์กัญชาจากแหล่งนอกระบบสาธารณสุขและใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยหลายชนิดที่อยู่นอกเหนือข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนประสิทธิผล แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่กลับมองเห็นเฉพาะด้านบวกของกัญชาและผลของการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค เนื่องจากประชาชนจำนวนมากก็ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคอยู่แล้ว การช่วยให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ การเพิ่มการเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ในระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะจากคลินิกกัญชาทางการแพทย์ทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข และการทบทวนข้อบ่งชี้ของการสั่งใช้ยากัญชาให้ทันสมัยตามหลักฐานวิชาการ โดยคำนึงถึงความจำเป็นของผู้ป่วย จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและเร่งด่วน ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายทางนโยบายอันต่อเนื่องของประเทศไทยในเรื่องกัญชาทางการแพทย์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กัญชา | th_TH |
dc.subject | Cannabis | th_TH |
dc.subject | นโยบายด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์นโยบาย | th_TH |
dc.subject | กัญชา--การใช้รักษา | th_TH |
dc.subject | Cannabis--Therapeutic Use | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Population Size Estimation of Current Medical Cannabis User in Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | After the enactment of the Narcotics Law, Seventh version, B.E. 2562 on 17th February 2019, there was an implementation of the amnesty programme by the Ministry of Public Health (MoPH) between 27th February and 21th May 2019, mandating persons who had previously been using cannabis products for medical purposes to notify the Food and Drug Administration (FDA) of their possession and/or use of it. The Ministry of Public Health started opening piloted medical cannabis clinics in 12 hospitals in August 2019 and Thai traditional medicine cannabis clinics in 13 hospitals nationwide on 2nd September 2019. At the time of writing this report (June 2020), there were 255 hospitals around the country that had opened a medical cannabis clinic, including those conducting research on cannabis oil extracts, and 24 Thai traditional medicine clinics. Despite these official services, there were still many medical cannabis users who did not register for amnesty or could not legally access medical cannabis via the public health system. Furthermore, there are several medical professionals who have different levels of knowledge, opinions, and experiences concerning medical cannabis. The quality of medical cannabis products available also varies considerably. A study on the current situation of medical cannabis users, suppliers, and other stakeholders is thus needed in order to understand their needs and quantify the magnitude of problems, including the number of medical cannabis users in Thailand. This study is a sub-project under the research programme to develop policy recommendations for medical cannabis in Thailand. It specifically aimed to examine patterns and purposes of the use among medical cannabis users and their perception and opinion towards the benefits and harms of cannabis and related policies. We also estimated the size of the current medical cannabis-using population in Thailand at the time of the study between the end of 2019 to early 2020. Methods This study has two parts, a qualitative study using in-depth interviews and non-participatory observations, and a quantitative cross-sectional survey. Purposive sampling was used to recruit 36 key informants, including medical professionals working in medical cannabis clinics of the Ministry of Public Health, folk or alternative medicine doctors, underground traders, not-for-profit provider groups (for example priests, folk healers, civil society advocacy groups), and home or clandestine growers or producers. A respondent-driven sample of 485 medical cannabis users was obtained, 125 from the northern region and 120 each from the central, northeastern, and southern regions. Data collection was conducted between late September 2019 and the end of February 2020. Results Of all 485 medical cannabis users, 55.7% (95% confidence interval (CI): 49.4, 62.0) were males. The highest proportion of users was seen in the late adult age group (45-65 years). About one-third had attained a tertiary education or higher. The main occupation types were business owner (16.5%, 95% CI: 11.5, 21.5) and government officer (14.2%, 95% CI: 9.3, 19.1). The average duration of current cannabis use for medical purposes was 10.5 months (range 7 – 828 days). The three most common illnesses that the respondents used cannabis for treatment were cancers (including cancers of the breast, prostate gland, lymph nodes, liver, lung, intestine, ovary, ureter, and bladder) or non-malignant tumors (23.3%, 95% CI: 16.1, 30.4); neuro-psychiatric symptoms or disorders, including stress, depression, anxiety, bipolar affective disorders, insomnia, stroke, epilepsy, multiple sclerosis, dementia, and Parkinson’s disease (22.8%, 95% CI: 17.5, 28.0) and musculoskeletal pains, spasms, rigidity or weakness (21.6%, 95% CI: 16.7, 26.6). Other diseases or symptoms that the respondents reported using cannabis for treatment were various, for example diabetes mellitus, hypercholesterolemia, hypertension, gout, asthma, chronic lung disease, anemia, liver cirrhosis, HIV-AIDS, herpes zoster, herpes simplex, psoriasis, vitreous degeneration, cataract, and low appetite. Based on the condition groups classified by the MoPH, similar percentages of the respondents reported using cannabis for the treatment of conditions in Groups A (strong evidence of benefit from cannabis, 21.5%), B (some evidence of benefit, 20.6%) and C (insufficient evidence of benefit, 21.7%). However, the highest percentage was seen in the “other” group, which was composed of other conditions that had not been classified as an indication for medical cannabis treatment by the MoPH (36.3%). Most respondents (84.7%, 95% CI: 78.9, 90.5) used an oral form of crude oil extract (unidentified tetrahydrocannabinol or cannabidiol content) while 9.2% (95% CI: 4.1, 14.2) used raw plant ingredients (flowers, leaves, or whole plants with roots and stems) and 5% (95% CI: 2.2, 7.8) used topical skin products, for example: massage oil, cream, spray, and soap. The majority used it 6-7 days per week or many times a day every day (68.8%, 95% CI: 61.4, 76.2). Most (72.6%, 95% CI: 64.9, 80.2) reported using the same amount of the product continuously since the beginning of their use for medical purposes and most (79.1%, 95% CI: 69.3, 89.0) felt that their conditions got better after use. The main source of medical cannabis products was illegal suppliers (74.0%, 95% CI: 63.7, 84.3), which included underground traders (54.5%, 95% CI: 40.8, 68.3), not-for-profit provider groups such as priests, folk healers, and civil society advocacy groups (5.2%, 95% CI: 0.5, 10.9), friends and relatives (12.2%, 95% CI: 6.2, 18.3) and home or clandestine growers or producers (2.9%, 95% CI: 0.6, 5.3). Among the legal sources (26%), the most common suppliers were modern (0.4%, 95% CI: -0.1, 1) and Thai traditional medicine doctors in medical cannabis clinics of MoPH hospitals (7.2%, 95% CI: -3.2, 17.7), medical doctors who provided care in their private clinics (12.8%, 95% CI: -0.3, 25.8), and folk doctors who were licensed for folk medical cannabis treatment (4.6%, 95% CI: 0, 9.2). Almost all respondents in the south and all in the central region reported obtaining medical cannabis from illegal sources, of which most were underground traders who were contacted via the internet or social media (of all sources: 77.8%, 95% CI: 33.5, 122.2 in the central region and 80.4%, 95% CI: 70.6, 90.2 in the southern region). Most participants (94-96%) agreed or strongly agreed with the policies regarding permission to use, sell, or home grow cannabis for medical purposes. However, 60-65% agreed or strongly agreed with the policies regarding sales and home-growing cannabis for recreational purposes. Moreover, most preferred the legal control of cannabis to be at the same level as alcohol 75.0%, 95% CI: 69.1, 81) or tobacco (75.8%, 95% CI: 69.9, 81.7), whereas 21.6% (95% CI: 15.9, 27.2) expressed the view that cannabis should remain as a substance of abuse under the narcotics control law, which should be controlled at the same level as other hard drugs such as methamphetamine and heroin. Using the number of people who were successfully granted amnesty, and received treatment from medical cannabis clinics operated by the MoPH at the same time of data collection as benchmarks, the number of medical cannabis users in Thailand in 2019-2020 was estimated to be 560,031 (95% CI: 438,774 - 677,637) and 606,153 (95% CI: 415,095 - 814,210), respectively, with an estimated prevalence of 10.93 and 11.83 per 1000 population. Our qualitative study revealed that most used cannabis based on their personal beliefs for conditions not recommended by the MoPH. Most believed that cannabis could treat any disease and did not cause any adverse effects. Most obtained medical cannabis products from illegal suppliers as they had accessed these sources before legal sources became available and they also trusted their suppliers. Furthermore, it was difficult to access the legal sources as their illnesses were not indicated as conditions for cannabis use by the MoPH. Most users agreed with the policy of legalizing cannabis for medical purposes but not for recreational purposes. Users and suppliers were mostly anonymous and contacted each other via social media. Some respondents mentioned that medical cannabis products that were sold using raw materials which are contaminated with a wide variety of toxic substances, for example insecticides or fertilizers and there have been several illegal cannabis plantations or clandestine home-growing sites. Most producers or suppliers of medical cannabis are businessmen or politicians with high influences in the areas. Additionally, the cannabis products which are sold underground are for commercial purposes rather than philanthropic or pure medical purposes. However, the starting point of medical cannabis services was often because the providers had used it for treating their own illnesses and found it worked well. In conclusion, our study reflects the experiences of medical cannabis users during the first year after the major regulatory transition in Thailand. Most users obtained cannabis from illicit suppliers and used it for various indications that were not supported by scientific evidence but appeared positive towards the results of use. Given that many people have already been using illicit medical cannabis products for a variety of conditions, there is an urgent need to facilitate access to legal and high-quality supplies, revise prescription indications with updated scientific evidence to ease physicians reluctance to prescribe medical cannabis, and provide effective mechanisms for public communication. These findings and recommendations highlight ongoing policy challenges for Thailand. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV77.7 ส687ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 62-099 | |
dc.subject.keyword | กัญชาทางแพทย์ | th_TH |
.custom.citation | สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, Sawitri Assanangkornchai, กนิษฐา ไทยกล้า, Khanittha Thaikla, มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ, Muhammad Fahmee Talib, สุชาดา ภัยหลีกลี้, Suchada Paileeklee, ศยามล เจริญรัตน์, Sayamol Charoenratana, ดาริกา ใสงาม and Darika Saingam. "การศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5346">http://hdl.handle.net/11228/5346</a>. | |
.custom.total_download | 810 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 90 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 10 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย