dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพและเศรษฐศาสตร์นโยบายกัญชาทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยประกอบด้วยการศึกษา 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรมเพื่อประเมินผลกระทบด้านบวกและลบที่เกิดจากการอนุญาตใช้กัญชาในต่างประเทศ การประเมินความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์และการวิเคราะห์ต้นทุนผลได้จากการใช้กัญชาทางการแพทย์ การทบทวนประสบการณ์การใช้กัญชาทั้งทางการแพทย์และสันทนาการในต่างประเทศ พอจะสรุปได้ว่าองค์ประกอบของนโยบายการอนุญาตใช้กัญชาในแต่ละประเทศส่งผลต่อการเข้าถึงกัญชา โดยต้องมีการรักษาความยืดหยุ่นให้อยู่ในระดับสมดุลระหว่างการเข้าถึงกัญชาเพื่อใช้ในการรักษาโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสิทธิได้รับยาตามที่กฎหมายระบุไว้ ซึ่งหมายถึงผลได้ของการอนุญาตใช้กฎหมายกับการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยนอกเหนือจากกลุ่มโรคที่ได้รับอนุญาตรวมถึงการรั่วไหลของยาเข้าสู่การใช้ทางสันทนาการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรและสาธารณสุขซึ่งต้นทุนของผลกระทบเหล่านี้จะส่งผลต่อความคุ้มค่าของการออกนโยบายทางการแพทย์การประเมินความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ โดยใช้ข้อมูลภาระโรคหรือจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่มีแนวโน้มจะใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อรักษาอาการทางแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษา การรักษาโรคลมชักในเด็ก การรักษาโรค multiple sclerosis และการรักษาผู้ป่วยด้วยโรค neuropathic pain รวมทั้งกลุ่มโรคที่มีแนวโน้มจะได้รับอนุญาตใช้ในการรักษา ได้แก่ โรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรค HIV และผู้ที่ต้องการได้รับการรักษาแบบประคับประคองในอนาคต โดยประมาณการณ์ตั้งแต่ปี 2556-2561 โดยใช้ข้อมูลการตาย เพื่อคาดการณ์ผู้ที่ต้องการได้รับการรักษาแบบประคับประคองในระยะสุดท้ายของชีวิตไปถึงปี 2573 พบว่า ปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั้งหมด จากโรคมะเร็ง จำนวน 212,256 คน โรคลมชักที่รักษายากและที่ดื้อต่อยารักษาในเด็กต่ำกว่า 14 ปี จำนวน 10,128 คน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จำนวน 281 คน ภาวะปวดปลายประสาท จำนวน 20,245 คน โรคพาร์กินสัน จำนวน 14,472 คน โรค HIV จำนวน 7,030 คน ผู้ที่ต้องการได้รับการรักษาแบบประคับประคอง จำนวน 53,924 คน ผลการศึกษาเพื่อคาดการณ์การรักษาแบบประคับประคองแสดงถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้บริการรักษาแบบประคับประคองในประชากรกลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นตามระดับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น การประเมินต้นทุนผลได้โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์แขนงการตัดสินใจและแบบจำลองมาร์คอฟ ด้วยมุมมองของสังคม โดยกำหนดให้ 1 ปีสุขภาวะ (QALYs) เท่ากับรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร พบว่าการใช้กัญชาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์มีความคุ้มค่าเพียงกลุ่มโรคเดียว คือ การรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดของผู้ป่วยมะเร็งในระยะเวลา 5 ปี คิดผลได้สุทธิเท่ากับ 130 ล้านบาท โดยสรุปผลได้ของการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ตามข้อบ่งใช้ทางการแพทย์พบว่าไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้การนำกัญชามาใช้ในโรคที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์และผลกระทบต่อสังคมเชิงผล เช่น การใช้เชิงสันทนาการก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนของน้ำมันกัญชาทางการแพทย์มีราคาสูง ส่วนการใช้กัญชาในผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ก็จะมีต้นทุนในการรักษาโรคแทรกซ้อนสูงเนื่องจากผู้ป่วยบางส่วนจะมีการใช้กัญชาทดแทนยาแผนปัจจุบัน เมื่อผู้ป่วยหยุดการใช้ยาแผนปัจจุบันในขณะที่ผลของกัญชายังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนจึงทำให้โรคของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นมากขึ้นและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ใช้กัญชาในกรณีอื่นที่ยังไม่ได้รับอนุญาต เช่น การใช้เพื่อสันทนาการ ซึ่งกรณีนี้จะเกิดผลกระทบด้านลบต่อทั้งตัวผู้ใช้กัญชาและบุคคลอื่นในสังคมได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายกัญชาทางการแพทย์ยังมีการดำเนินงานในส่วนของแพทย์แผนไทยด้วย ซึ่งการศึกษานี้ยังไม่ได้นำมารวมไว้ รวมทั้งยังไม่ได้ทำสถานการณ์การใช้จากแหล่งใต้ดินที่อาจมีราคาที่สูงกว่าราคามาตรฐานและไม่ได้รวมถึงรายได้ของชุมชนหากมีการเปิดเสรีให้เกษตรกรสามารถปลูกและขายพืชกัญชารวมทั้งการส่งออกได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการประเมินผลกระทบของนโยบายให้ครอบคลุมจึงควรมีการขยายการศึกษาเพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินงานของนโยบายในทุกภาคส่วนเพื่อนำผลมาใช้ในการตัดสินใจต่อไป | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The main objective of this study was to assess the health and economic impact of medical cannabis policy appropriate to the Thai context. It consists of three studies which are literature reviews to assess the positive and negative impacts of cannabis use in other countries, assessment of the medical cannabis demand and cost-benefit analysis of medical cannabis use. A review of international experiences of using medical and recreational cannabis can be concluded that elements of the cannabis legalization policy in each country affect accessibility to cannabis. The flexibility must be balanced between access to cannabis for therapeutic use among legally eligible patients, which is the benefit from the law; and the use in patients other than the permitted disease group, including leakage of drugs into recreational use which could have an impact on population health and public health where the cost of these impacts would affect the cost-benefit of medical policies. The medical cannabis demand was estimated using the burden of disease data or the number of patients in the disease groups that likely benefited from modern medical treatments using cannabis, including cancer patients with chemotherapy treatment, treatment of pediatric epilepsy, treatment of multiple sclerosis, and the treatment of neuropathic pain syndrome, as well as a group of promising therapeutic uses, such as, Parkinson’s disease, HIV patients, and those who seeking palliative treatment in the future. Estimated from 2013-2018 using mortality data to predict those seeking palliative care at the end of their life to 2030 shows that in 2018 the total number of a patient admitted from cancer was 212,256 cases, 10,128 from difficult and drug-resistant epilepsy in children under 14 years old, 281 from multiple sclerosis, 20,245 from neuropathy, 14,472 from Parkinson’s disease, 7,030 from HIV, and 53,924 cases from those needing palliative treatment. The result of the study to predict palliative care shows a trend of increasing demand for palliative care in the population group of 65 years and over, reflecting the growing demand for medical cannabis as the aging population grows. The cost-benefit analysis of medical cannabis policy, using decision tree and the Markov model with a societal perspective, by assigning 1 quality-adjusted life year (QALY) equal to GDP per capita, found that the use of cannabis according to medical indications was worthwhile for only one disease group, namely the treatment of chemotherapy-induced nausea and vomiting of cancer patients over a period of 5 years with a net result of 130 million baht. In summary, the benefits of medical cannabis use, including its use according to medical indications, use in diseases with no medical indication and for recreational use, indicate no economic value; by causing a negative impact on economics. This is due to the higher price of medical cannabis oil comparing to the standard regimens. While the use of cannabis in patients with no medical indications has a high cost of treating complications, as some patients will substitute cannabis for modern medicine. When patients stop using modern drugs, while the effects of cannabis are still lacking strong evidence, patient’s disease are more likely to occur as well as complications. There are also those who use cannabis for other unauthorized cases, such as for recreational use; which in this case will have negative impacts on both the cannabis users and other people in the society However, the implementation of the medical cannabis policy is also operating in the area of traditional Thai medicine, which has not been included in this study, as well as, the situation of using from illegal sources that the price may be higher than the standard price. Also, this study does not include community income if farmers are allowed to grow and sell cannabis, as well as export them. Therefore, in order to comprehensively assess the impact of the policy, the study should be expanded to cover the implementation of the policy in all sectors for further use in decision-making. | th_TH |
.custom.citation | กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, Kanitta Bundhamcharoen, ฐิติพร สุแก้ว, Thitiporn Sukaew, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, Surasit Lochid-amnuay, ณัฏฐิญา ค้าผล, Nattiya Kapol, น้ำฝน ศรีบัณฑิต and Namfon Sribundit. "การวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพและเศรษฐศาสตร์ของการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5347">http://hdl.handle.net/11228/5347</a>. | |