dc.contributor.author | เขตต์ ศรีประทักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Khate Sripratak | th_TH |
dc.contributor.author | เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล | th_TH |
dc.contributor.author | Kiattawee Choowongkomon | th_TH |
dc.contributor.author | ฤชา ทับทิมใหม่ | th_TH |
dc.contributor.author | Lueacha Tabtimmai | th_TH |
dc.contributor.author | สิริจิต รัตนวัย | th_TH |
dc.contributor.author | Sirijit Rattanawai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-04-29T08:35:55Z | |
dc.date.available | 2021-04-29T08:35:55Z | |
dc.date.issued | 2564-02 | |
dc.identifier.other | hs2662 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5349 | |
dc.description.abstract | สถานการณ์การติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 ในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากขึ้น การพัฒนายาต้านไวรัสจึงเป็นที่สำคัญเร่งด่วน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว การสร้างแบบจำลองปอดเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนายาต้านไวรัส อันเนื่องมาจากไวรัส SARS-CoV-2 อาศัยโปรตีนตัวรับเป้าหมายชนิด Angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) ในการเข้าสู่เซลล์ซึ่งพบมากเซลล์ปอดและเกิดจากอาการปอดอักเสบ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาแบบจำลองปอดเพื่อศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสและพัฒนาแนวทางในการรักษาโรค COVID-19 เนื่องมาจากการศึกษาตัวอย่างชิ้นเนื้อจากผู้ติดเชื้อนั้นทำได้ยาก ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ในการจำลองโครงสร้างเนื้อเยื่อปอดโดยอาศัยเทคนิคที่เรียกว่า Air-liquid interface เพื่อสร้างสภาวะให้มีความคล้ายคลึงกับโครงของปอดที่มีการแสดงออกของโปรตีนตัวรับ ACE2 พัฒนามาเป็นแบบจำลองในการพัฒนาแนวทางการรักษาและทดสอบยาสำหรับโรค COVID-19 จากผลการทดลองในเซลล์มะเร็งปอด A549 แบบสองมิติที่ถูกกระตุ้นการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่าในกลุ่มตัวอย่างมีความเข้มข้นของโปรตีนมากสุดอยู่ที่ 0.2 ไมโครกรัมต่อไมโครลิตร เมื่อทำการวัดปริมาณไนตริกออกไซด์พบในกลุ่มตัวอย่างที่กระตุ้นด้วย LPS เป็นเวลา 24 ชั่วโมง สามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้โดยพบปริมาณไนตริกออกไซด์ต่ำประมาณ 2 ไมโครโมลาร์ ในขณะที่แบบสามมิติที่ทดสอบด้วย LPS และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ไม่พบปริมาณไนตริกออกไซด์ ในส่วนของการแสดงออกของ ACE2 receptor ที่วิเคราะห์ด้วยวิธี Western blot สามารถพบแบบขนาดประมาณ 97 กิโลดัลตัน (kDa) ของ ACE2 receptor ดังนั้นจึงสามารถยืนยันได้ว่าแบบจำลองการเลี้ยงเซลล์มะเร็งปอด A549 สามมิติแบบ Air-Liquid Interface มีการแสดงออกของ ACE-2 receptor การทดลองนี้ยังต้องทำการทดลองซ้ำในส่วนของการวิเคราะห์การแสดงออกของ ACE2 และ AT1R และตัวควบคุมเป็น beta Actin ด้วย western blot และเพิ่มเติมในระดับยีนด้วยการวิเคราะห์โดยเทคนิค qPCR ในแบบจำลองสองมิติเปรียบเทียบกับสามมิติ เพื่อดูความแตกต่างในการแสดงออกของ receptor ในส่วนการกระตุ้นการอักเสบยังคงต้องตรวจสอบสารและความเข้มข้นที่ใช้กระตุ้นในครั้งต่อไปโดยเลือกกระตุ้นด้วย Spike protein แทน และมีการวัดปริมาณของ anti-oxidant และไนตริกออกไซด์เพื่อตรวจสอบการอักเสบด้วย LPS และ H2O2 ทั้งนี้ปัญหาที่ยังไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ยังต้องทำการทดสอบคุณภาพและทดสอบความเข้มข้นของสารอีกครั้ง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ปอด | th_TH |
dc.subject | โปรตีน--แบบจำลอง | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | โครงการพัฒนาแบบจำลองปอดโดยแบบจำลองการเลี้ยงเซลล์สามมิติเพื่อการพัฒนายาในการรักษาโรค COVID-19 | th_TH |
dc.title.alternative | Development of lung model by using a 3D cell culture model for COVID-19 drug development | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The current situation of the SARS-CoV-2 virus infection causing COVID-19 is more serious. The development of antiretroviral drugs is urgently important. To stop the spread of the virus, the lungs model is critical to develop of antiretroviral drugs. Due to, SARS-CoV-2 relies on the Angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) target receptor protein, which is more common in lung cells, and caused of pneumonia. Thus, the focus of this research is to develop a lung model to study the mechanism of viral infection and develop the treatment of COVID-19, because of it is difficult to study biopsy samples from infected people. The aim of this research project is to simulate lung tissue structures using a technique as the Air-liquid interface to create conditions like the pulmonary scaffolds with ACE2 receptor protein expression. Development of therapeutic and drug testing guidelines for COVID-19. The experimental results in two-dimensional A549 lung cancer cells that were induced inflammation by lipopolysaccharide (LPS) was found the highest protein concentration of 0.2 micrograms per microliter. The nitric oxide measurement was observed in LPS-stimulated samples for 24 hours. Inflammation was observed with low nitric oxide about 2 µM, while the three-dimensional with LPS and hydrogen peroxide (H2O2) stimulation, the nitric oxide was not detected. As for the expression of ACE2 receptor that analyzed by Western blot method, the result can be found at approximately 97 kilodalton (kDa) size of the ACE2 receptor. Consequently, the lungs cancer cell line A549 in three-dimensional Air-Liquid Interface was expression ACE-2 receptor. However, the experiments also need to be repeated in the analysis of ACE2 and AT1R expression and control as beta-actin with western blot, and further at the gene level through qPCR analysis in a two-dimensional versus three-dimensional model. To determine the difference in receptor expression in inflammatory stimulation. The model will further investigation of the substance and the stimulation concentration was selected with spike protein instead for stimulation. The antioxidant was measured, and nitrate content will detect inflammation by LPS and H2O2. The problems that cannot trigger inflammation. So, the experiment still needs quality testing and test the concentration of the substance again. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ข615ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-053 | |
.custom.citation | เขตต์ ศรีประทักษ์, Khate Sripratak, เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล, Kiattawee Choowongkomon, ฤชา ทับทิมใหม่, Lueacha Tabtimmai, สิริจิต รัตนวัย and Sirijit Rattanawai. "โครงการพัฒนาแบบจำลองปอดโดยแบบจำลองการเลี้ยงเซลล์สามมิติเพื่อการพัฒนายาในการรักษาโรค COVID-19." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5349">http://hdl.handle.net/11228/5349</a>. | |
.custom.total_download | 118 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 16 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |