dc.contributor.author | พัทธรา ลีฬหวรงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pattara Leelahavarong | th_TH |
dc.contributor.author | ทรงยศ พิลาสันต์ | th_TH |
dc.contributor.author | Songyot Pilasant | th_TH |
dc.contributor.author | จุฑามาศ พราวแจ้ง | th_TH |
dc.contributor.author | Juthamas Prawjaeng | th_TH |
dc.contributor.author | ชลทิชา จันทร์แจ่ม | th_TH |
dc.contributor.author | Chonticha Chanjam | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐกานต์ บุตราช | th_TH |
dc.contributor.author | Nuttakarn Budtarad | th_TH |
dc.contributor.author | วันรัชดา คัชมาตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Wanruchda Katchamart | th_TH |
dc.contributor.author | พงศ์ธร ณรงค์ฤกษ์นาวิน | th_TH |
dc.contributor.author | Pongthorn Narongroeknawin | th_TH |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ กิตอำนวยพงษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Tasanee Kitumnuaypong | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-05-19T07:27:03Z | |
dc.date.available | 2021-05-19T07:27:03Z | |
dc.date.issued | 2564-02 | |
dc.identifier.other | hs2666 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5353 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (disease-modifying anti-rheumatic drugs; DMARDs) ในกลุ่มยาชีววัตถุ (biologic DMARDs; bDMARDs) และยาสังเคราะห์มุ่งเป้า (targeted synthetic DMARDs; tsDMARDs) ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดที่มีภาวะการอักเสบมาก วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์โดยใช้แบบจำลองแบบมาร์คอฟ (Markov model) ในการวิเคราะห์อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (incremental cost-effectiveness ratio: ICER) เปรียบเทียบระหว่างการให้ยาเดิมที่มีอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติและการให้ยากลุ่ม bDMARDs หรือ tsDMARDs ซึ่งรวมถึง biosimilar ของยาดังกล่าวที่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดที่มีภาวะการอักเสบมากที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือมีข้อห้ามในการใช้ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคชนิดดั้งเดิม (conventional disease-modifying antirheumatic drugs; csDMARDs) และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณหากมียากลุ่ม bDMARDs หรือ tsDMARDs ซึ่งรวมถึง biosimilar ของยาดังกล่าวในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยข้อมูลด้านประสิทธิผลของยาได้จากการวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายจากการศึกษาแบบ randomised controlled trials (RCTs) ข้อมูลด้านโอกาสการเปลี่ยนแปลงสถานะสุขภาพได้จากการวิเคราะห์อัตรารอดชีพ (survival analysis) จากข้อมูลผู้ป่วย 84 ราย ในโรงพยาบาล 3 แห่ง ข้อมูลด้านต้นทุนการรักษาพยาบาลและข้อมูลด้านต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ได้จากรายการต้นทุนมาตรฐานเพื่อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ข้อมูลค่ารักษาผลข้างเคียงรุนแรงได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยในจากฐานข้อมูลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และค่าอรรถประโยชน์ได้จากการศึกษาในประเทศไทย ผลการศึกษา การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดที่มีภาวะการอักเสบมากโดยใช้ยากลุ่ม bDMARDs หรือ tsDMARDs ซึ่งรวมถึง biosimilar ของยาดังกล่าว เปรียบเทียบยาจำนวน 11 รายการ กับยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันและมีในบัญชียาหลักแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนตลอดชีพของการรักษาโดยยา bDMARDs หรือ tsDMARDs (รวมถึง biosimilar) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.82-2.4 ล้านบาท โดยยา golimumab มีต้นทุนตลอดชีพสูงที่สุด (2.4 ล้านบาท) รองลงมาคือ ยา infliximab (1.9 ล้านบาท) และ etanercept (1.2 ล้านบาท) และยาในรายการอื่นๆ ได้แก่ tocilizumab, rituximab, tofacitinib, baricitinib, biosimilar infliximab (Remsima® และ Ixifi®), biosimilar adalimumab (Amgitiva®), biosimilar rituximab (Truxima®) มีค่าต้นทุนใกล้เคียงกันอยู่ระหว่าง 0.82-1.2 ล้านบาท และการรักษาโดยการใช้ยาปัจจุบันมีต้นทุนน้อยที่สุด (246,175 บาท) การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสุขภาพพบว่า ปีสุขภาวะของการรักษาโดยยา bDMARDs หรือ tsDMARDs (รวมถึง biosimilar) มีค่าใกล้เคียงกัน (5.06-5.20 ปี) และปีสุขภาวะของการรักษาโดยยาที่ใช้ในปัจจุบันเท่ากับ 4.8 ปี เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มกับเกณฑ์พิจารณาความคุ้มค่าที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ พบว่า ไม่มียา bDMARDs หรือ tsDMARDs (รวมถึง biosimilar) รายการใดที่มีความคุ้มค่าทั้งในมุมมองทางสังคม โดยมีค่า ICER อยู่ระหว่าง 1.6-5.4 ล้านบาทต่อปีสุขภาวะ ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ราคายาที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าพบว่า จำเป็นต้องลดราคายาจากที่เสนอประมาณร้อยละ 70-89 โดยราคายาแต่ละตัวอยู่ในระหว่าง 57-4,847 บาทต่อขนาดบรรจุ โดยคำนวณผลกระทบด้านงบประมาณของภาครัฐจากราคายาที่ปรับลดแล้ว พบว่า ภาครัฐต้องเตรียมงบประมาณทั้งสิ้น 70-130 ล้านบาทต่อปี และ 330-635 ล้านบาทใน 5 ปี หากมียา bDMARDs หรือ tsDMARDs (รวมถึง biosimilar) ตัวใดตัวหนึ่งในบัญชียาหลักแห่งชาติ สรุปผลการศึกษา การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดที่มีภาวะการอักเสบมากโดยใช้ยากลุ่ม bDMARDs หรือ tsDMARDs ซึ่งรวมถึง biosimilar ของยาดังกล่าวสามารถเพิ่มโอกาสภาวะโรคสงบของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ดีกว่ายาที่ใช้รักษาในปัจจุบัน แต่ยากลุ่มดังกล่าวมีต้นทุนการรักษาตลอดชีวิตสูง เพิ่มปีสุขภาวะเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รักษาในปัจจุบัน จึงยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย ซึ่งยากลุ่มนี้จะมีความคุ้มค่าหากลดราคายาลง ดังนั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติควรพิจารณาบรรจุยา bDMARDs and tsDMARDs (รวมถึง biosimilar ของยาดังกล่าว) ตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หลังจากต่อรองราคายาที่กองทุนสามารถจ่ายได้และเกิดความยั่งยืน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิผลทางคลินิก หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันหรือผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากการรักษาในปัจจุบัน เพื่อให้มีผลกระทบด้านงบประมาณที่ไม่สูงมากและภาครัฐสามารถจ่ายได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคข้อรูมาตอยด์ | th_TH |
dc.subject | ยา--ต้นทุนและประสิทธิผล | th_TH |
dc.subject | บัญชียาหลักแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | นโยบายด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ต้นทุน | th_TH |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของการใช้ยาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคในการรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีภาวะการอักเสบมาก | th_TH |
dc.title.alternative | A synthesis of policy recommendations on economic evaluation of biologic and targeted synthetic disease-modifying antirheumatic drugs (bDMARDs and tsDMARDs) for the treatment of rheumatoid arthritis patients with high disease activity | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 พ547ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-048 | |
dc.subject.keyword | โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ | th_TH |
.custom.citation | พัทธรา ลีฬหวรงค์, Pattara Leelahavarong, ทรงยศ พิลาสันต์, Songyot Pilasant, จุฑามาศ พราวแจ้ง, Juthamas Prawjaeng, ชลทิชา จันทร์แจ่ม, Chonticha Chanjam, ณัฐกานต์ บุตราช, Nuttakarn Budtarad, วันรัชดา คัชมาตย์, Wanruchda Katchamart, พงศ์ธร ณรงค์ฤกษ์นาวิน, Pongthorn Narongroeknawin, ทัศนีย์ กิตอำนวยพงษ์ and Tasanee Kitumnuaypong. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของการใช้ยาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคในการรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีภาวะการอักเสบมาก." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5353">http://hdl.handle.net/11228/5353</a>. | |
.custom.total_download | 56 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |