dc.contributor.author | ธัญญลักษณ์ เธียรธัญญกิจ | th_TH |
dc.contributor.author | Tanyaluck Thientunyakit | th_TH |
dc.contributor.author | วีรศักดิ์ เมืองไพศาล | th_TH |
dc.contributor.author | Weerasak Muangpaisan | th_TH |
dc.contributor.author | รุจพร ชนะชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Rujaporn Chanachai | th_TH |
dc.contributor.author | จักรมีเดช เศรษฐนันท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chakmeedaj Sethanandha | th_TH |
dc.contributor.author | ยุทธพล วิเชียรอินทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Yudthaphon Vichianin | th_TH |
dc.contributor.author | กันตรัตน์ อรุณรุ่งวิเชียร | th_TH |
dc.contributor.author | Kuntarat Arunrungvichian | th_TH |
dc.contributor.author | อรสา ชวาลภาฤทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Orasa Chawalparit | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-05-28T08:42:30Z | |
dc.date.available | 2021-05-28T08:42:30Z | |
dc.date.issued | 2564-05 | |
dc.identifier.other | hs2670 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5357 | |
dc.description.abstract | อุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัวและจะเป็นปัญหาที่สำคัญของเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาประเทศ การวินิจฉัยอาการและอาการแสดงทางคลินิกอาจยังไม่เพียงพอ ดังนั้น การตรวจการสะสมของโปรตีนอะมัยลอยด์เบต้า (Aβ ) ในสมองได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มจึงมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การวินิจฉัยโรค, การระบุประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค, การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมทั้งโอกาสในการคิดค้นวิธีการหรือยาในการรักษาหรือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในอนาคต วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประโยชน์ของการตรวจเพทสแกนด้วยสารเภสัชรังสี [F-18]Florbetapir สำหรับประเมินการสะสมของ Aβ ในสมอง โดยอาศัยผู้ป่วย Alzheimer’s Disease (AD), ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของการรู้คิดสมอง Mild Cognitive Impairment (MCI) และผู้สูงอายุที่มีระดับความสามารถสมองปกติ Healthy Cognitive elderly (HC) รวมทั้งศึกษาความสอดคล้องของผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir กับระดับความผิดปกติของความสามารถสมองจากผลการประเมินทางจิตประสาท รวมทั้งผลตรวจภาพสมองด้วย Magnetic Resonance Imaging (MRI) และเพทสแกนด้วยสารเภสัชรังสี F-18 FDG และศึกษาความสัมพันธ์ของผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir กับการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถสมอง ตลอดจนผลการเปลี่ยนแปลงจากการตรวจภาพรังสีสมองด้วย MRI และเพทสแกนด้วยสารเภสัชรังสี [F-18]FDG วิธีการศึกษา 1) การสังเคราะห์สารเภสัชรังสี [F-18]Florbetapir และ 2) การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัคร 86 ราย ที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็นกลุ่ม HC 21 ราย กลุ่ม MCI 32 ราย และกลุ่ม AD 33 ราย ตามเกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิก อาสาสมัครทุกรายจะได้รับการตรวจประเมินทางคลินิก การทำแบบทดสอบทางจิตประสาท การตรวจภาพรังสีสมองด้วย MRI และการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]FDG และ [F-18]Florbetapir ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยภาพรังสีสมองต่างๆ จะถูกนำมาวิเคราะห์ผลด้วยการประเมินด้วยสายตาและผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลการศึกษา สารเภสัชรังสี [F-18]Florbetapir ที่สังเคราะห์ได้มีคุณสมบัติทางกายภาพเทียบเคียงกับสารต้นแบบและผ่านเกณฑ์มาตรฐานยาฉีด โดยไม่พบว่ามีอาสาสมัครรายใดที่แสดงอาการข้างเคียงจากการตรวจ การศึกษาระยะแรกรับในอาสาสมัคร 86 ราย พบว่าการตรวจภาพรังสีสมองทุกชนิดมีความสอดคล้องกับผลการวินิจฉัยทางคลินิกและมีความสัมพันธ์กับผลทดสอบทางจิตประสาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งจากการประเมินด้วยสายตาและผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยความสามารถในการวินิจฉัยแยกผู้ป่วย AD จาก HC จากการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18] FDG สูงกว่า [F-18]Florbetapir และการตรวจ MRI สมองตามลำดับ และพบว่า [F-18]Florbetapir ให้ผลสอดคล้องกับผลการตรวจอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสัมพันธ์กับผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18] FDG สูงกว่าการตรวจ MRI จากการติดตามผลในอาสาสมัคร 72 ราย ที่มาติดตามผลจนครบระยะเวลา 2 ปี (HC 19 ราย MCI 31 ราย AD 22 ราย) พบว่าผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir ขณะแรกรับเข้าโครงการมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความสามารถสมองด้วยคะแนน TMSE, CDR-SB และ ADAS-COG อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงค่าเชิงปริมาณของผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir กับการเปลี่ยนแปลงของผลคะแนนการประเมินระดับความสามารถสมองทั้ง 3 ชนิด นอกจากนี้ พบว่าระดับของ Aβ ในสมองที่พบจากการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir ในช่วงแรกรับมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับระดับของ Aβ ในสมองในระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสมองทุกส่วน โดยพบความสัมพันธ์สูงสุดในกลุ่ม AD>MCI>HC และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]FDG อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สมองส่วน parietal และ occipital ในกลุ่มผู้ป่วย AD อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ดังกล่าวยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างระดับของ Aβ ในสมองที่พบจากการตรวจเพทสแกนในช่วงแรกรับกับระดับความเหี่ยวของเนื้อสมองส่วน mesial temporal ในเวลาต่อมาอยู่ในระดับต่ำมากและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าการตรวจภาพถ่ายรังสีสมองทุกชนิดมีความสัมพันธ์กับผลการวินิจฉัยทางคลินิกและผลการทดสอบทางจิตประสาทเป็นอย่างมาก โดย [F-18]FDG มีความสัมพันธ์ในระดับสูงสุด มากกว่าการตรวจอะมัยลอยด์เพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir และความผิดปกติทางกายวิภาคจาก MRI ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir มีความสัมพันธ์กับผลการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]FDG และการตรวจ MRI ทั้งในช่วงเวลาเดียวกันและในช่วงติดตามผลตลอดจนมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถสมอง โดยมีระดับของความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มผู้ป่วยและแต่ละชนิดการตรวจ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | Aging | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | โรคอัลไซเมอร์ | th_TH |
dc.subject | Alzheimer's Disease | th_TH |
dc.subject | โรคอัลไซเมอร์--การวินิจฉัย | th_TH |
dc.subject | Alzheimer's Disease--Diagnosis | th_TH |
dc.subject | Amyloid | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | สมองเสื่อม--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | สมองเสื่อม--การวินิจฉัย | th_TH |
dc.subject | Alzheimer Disease--Prevention & Control | th_TH |
dc.title | ประโยชน์ของการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir ([F-18]-AV-45) เพื่อประเมินการสะสมของ amyloid ในสมองในผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมองและผู้สูงอายุปกติ (ปีที่ 3) | th_TH |
dc.title.alternative | The use of [F-18]Florbetapir ([F-18]-AV-45) PET to assess brain amyloid deposition in Alzheimer’s disease, mild cognitive impairment and normal aging (Third-year) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The incidence of dementia in elderly population, aged 60 year or older, has been rapidly increasing. Dementia causes significant negative impacts on quality of lives, both in patients and families, constituting a huge socioeconomic burden and drawback in country’s development. Current diagnostic approach based on clinical symptoms and signs may not sufficient. Thus, early detection of amyloid deposition in the brain may play important role in accurate diagnosis, identifying patients at risk, planning for patient management and also leading to development the drug or procedure aimed for therapy or prevention of dementia. Objectives To evaluate the use of [F-18]Florbrtapir PET scan in assessing brain amyloid deposition in Alzheimer’s disease (AD), mild cognitive impairment (MCI) and healthy cognitive elderly (HC) and the correlation between brain amyloid deposition in PET scan and results from neuropsychological test, MRI brain and [F-18]FDG PET scan. We also aimed to evaluate the correlation between [F-18]Florbetapir PET scan results and changes in neuropsychological test, MRI brain and [F-18]FDG PET scan results. Methods 1) Synthesis of [F-18]Florbetapir PET tracer 2) Clinical study in 86 eligible subjects including 21 HCs, 33 MCIs and 32 ADs according to clinical diagnosis. All subjects underwent clinical and neuropsychological assessment including TMSE, CDR-SB, ADAS-COG, brain MRI, [F-18]FDG PET and [F-18]Florbetapir PET scan of the brain within 6-week period. The images were then analyzed using visual and quantitative analyses. Results The in-house synthesized [F-18]Florbetapir PET tracer demonstrated equivalent characteristics to those of reported original compound and passed the standard for drug for injection. There was no report of any adverse symptom after the study. The baseline clinical study in 86 eligible subjects found that results from all imaging techniques were concordant with clinical diagnosis and showed statistically significant correlation with neuropsychological test scores, either by visual assessment or quantitative analyses. The ability to differentiate AD from HC by [F-18] FDG PET was higher than [F-18]Florbetapir PET and MRI, respectively. Results from [F-18]Florbetapir PET were also significantly correlated with both [F-18]FDG PET and MRI, with higher correlation with [F-18]FDG PET>MRI. The results at 2-year follow-up period in 72 subjects (19 HCs, 31 MCIs and 22 ADs) found that baseline [F-18]Florbetapir PET results significantly and moderately correlated with the change in all neuropsychological test scores. But there was insignificant and low correlation between the change in quantitative results of [F-18]Florbetapir PET and the change in neuropsychological test scores. Moreover, the level of Aβ deposition in baseline [F-18]Florbetapir PET had high and significant correlation with the follow-up [F-18]Florbetapir PET in all brain regions and in AD>MCI>HC. Baseline [F-18]Florbetapir PET results also showed significant negative correlation with [F-18]FDG PET at parietal and occipital lobes in AD, although the level of correlation was relatively low. There was very low and insignificant correlation between baseline Aβ deposition and degree of mesial temporal atrophy at floow up. Conclusion The results from all imaging techniques showed concordance with clinical diagnosis and highly correlated with neuropsychological test results, which the highest correlation was detected in [F-18]FDG PET followed by [F-18]Florbetapir PET and MRI, respectively. Results from baseline [F-18]Florbetapir PET was well correlated with [F-18]FDG and MRI, both during baseline and follow-up, and also correlated with the change in neuropsychological test scores. The level of correlation varied among clinical groups and neuroimaging techniques. | th_TH |
dc.identifier.callno | WM220 ธ454ป 2564 | |
dc.identifier.contactno | 62-044 | |
dc.subject.keyword | PET scan | th_TH |
dc.subject.keyword | เพทสแกน | th_TH |
.custom.citation | ธัญญลักษณ์ เธียรธัญญกิจ, Tanyaluck Thientunyakit, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, Weerasak Muangpaisan, รุจพร ชนะชัย, Rujaporn Chanachai, จักรมีเดช เศรษฐนันท์, Chakmeedaj Sethanandha, ยุทธพล วิเชียรอินทร์, Yudthaphon Vichianin, กันตรัตน์ อรุณรุ่งวิเชียร, Kuntarat Arunrungvichian, อรสา ชวาลภาฤทธิ์ and Orasa Chawalparit. "ประโยชน์ของการตรวจเพทสแกนด้วย [F-18]Florbetapir ([F-18]-AV-45) เพื่อประเมินการสะสมของ amyloid ในสมองในผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์, ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมองและผู้สูงอายุปกติ (ปีที่ 3)." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5357">http://hdl.handle.net/11228/5357</a>. | |
.custom.total_download | 25 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |