Show simple item record

The Development of Community Participating Heat-Health Warning and Heat-related Illness Surveillance Systems

dc.contributor.authorพงศ์เทพ วิวรรธนะเดชth_TH
dc.contributor.authorPhongtape Wiwatanadateth_TH
dc.contributor.authorมยุรา วิวรรธนะเดชth_TH
dc.contributor.authorMayura Wiwatanadateth_TH
dc.contributor.authorวันวิสาข์ ชูจิตรth_TH
dc.contributor.authorWanwisa Chujitth_TH
dc.contributor.authorจุรีรัตน์ มัฎฐาพันธ์th_TH
dc.contributor.authorJureerat Matthaphanth_TH
dc.contributor.authorธารทิพย์ พรหมขัติแก้วth_TH
dc.contributor.authorTharntip Promkutkaoth_TH
dc.date.accessioned2021-06-24T08:09:14Z
dc.date.available2021-06-24T08:09:14Z
dc.date.issued2564-05
dc.identifier.otherhs2676
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5364
dc.description.abstractโครงการนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา 2 ระบบ ที่เกี่ยวข้องกัน โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นแกนหลักในการดำเนินการ คือ ระบบเตือนภัยสุขภาพจากความร้อนและระบบเฝ้าระวังโรคที่สัมพันธ์กับความร้อน การพัฒนาระบบการเตือนภัยสุขภาพจากความร้อนอิงกรอบแนวคิดที่เสนอโดยองค์การอนามัยโลก ได้แก่ 1) การทำนายสภาพอากาศ (Weather forecasting) โดยใช้ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา 2) การกำหนดค่าขีดจำกัดของอุณหภูมิ (Threshold temperature) โดยอิงวิธีการจากการศึกษาของพงศ์เทพ วิวรรธนะเดช (พ.ศ. 2559) ภายใต้โครงการ “การพัฒนาเกณฑ์และระบบกลไกการเตือนภัยด้านสุขภาพจากความร้อนสำหรับประเทศไทย” และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ ย้อนหลัง 5 ปี และ 3) การออกคำเตือน (Issuance of watch/warning messages) ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการระบุกลุ่มที่มีความเปราะบาง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน แต่โครงการนี้ได้เพิ่มกิจกรรมขั้นที่ 4 คือ การออกติดตามให้การแนะนำ ดูแล และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่กลุ่มเสี่ยง ดำเนินการโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกับผู้ให้การดูแลกลุ่มเสี่ยง (Caregiver) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่สัมพันธ์กับความร้อนทั้งเชิงรับและเชิงรุก ดำเนินการในระดับตำบล เป้าหมายโดยดัดแปลงจากแบบจำลองการเฝ้าระวังโรคที่พัฒนาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention (CDC)) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรวบรวมข้อมูล 2) การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผล และแปลผล 3) การสรุปผลการเฝ้าระวังและการรายงานผลการเฝ้าระวังแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ 4) การดำเนินการแก้ไขหรือป้องกันปัญหา ระยะเวลาโครงการ 1 ปี 6 เดือน โดยมีพื้นที่นำร่อง คือ ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลการดำเนินงาน ระบบการเตือนภัยสุขภาพจากความร้อน ระหว่าง 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2563 (2 เดือน) พบว่า มีระดับการเตือนภัยในระดับ “เตือนภัย” (ระดับ 3) (อุณหภูมิสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส) สูงที่สุด จำนวน 25 วัน และพบผู้ป่วยด้วยโรคที่สัมพันธ์กับความร้อนถึง 28 ราย พบมากที่สุดที่หมู่ 6 บ้านกลางแดด จำนวนรวม 30 ราย และโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ เป็นลมจากแดด (Heat syncope) จำนวน 39 ราย ไม่พบผู้ป่วยโรคลมร้อนหรือลมแดด สำหรับผลการดำเนินงาน ระบบเฝ้าระวังโรคที่สัมพันธ์กับความร้อน ระหว่าง 1 มีนาคม 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 (1 ปี) พบว่า มีระดับการเตือนภัยในระดับ “เฝ้าระวัง” (ระดับ 1) (อุณหภูมิต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียส) สูงที่สุด จำนวน 280 วัน เดือนที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ มีนาคม 2563 จำนวน 42 ราย พบมากที่สุดที่หมู่ 6 บ้านกลางแดด จำนวนรวม 36 ราย และโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ เป็นลมจากแดด (Heat syncope) จำนวน 47 ราย โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อัตรา 1.6:1 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อายุ 65 – 69 ปี รองลงมา อายุ 50 – 54 ปี และอายุ 60 – 64 ปี ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ทำงานกลางแดดหรือสถานที่ที่มีอากาศร้อน รองลงมา ดื่มชาหรือกาแฟ และเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง ตามลำดับ ไม่พบผู้ป่วยโรคลมร้อนหรือลมแดด การประเมินโครงการโดยภาพรวม พบว่า หน่วยงานระดับตำบล ได้แก่ รพ.สต. ร่วมกับ อสม. สามารถดำเนินการทั้ง 2 ระบบได้ด้วยตนเอง ไม่ยุ่งยาก ไม่เพิ่มภาระงานมากเกินไป เพราะสามารถผนวกเข้ากับกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำเป็นปกติอยู่แล้ว และที่สำคัญคือแทบไม่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม แต่สามารถป้องกันการป่วยและตายจากโรคลมร้อนหรือลมแดดได้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ ควรเป็นแกนหลักในการขยายพื้นที่ดำเนินโครงการออกไป โดยอาจเริ่มต้นด้วยการจัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินโครงการเตือนภัยสุขภาพและระบบเฝ้าระวังโรคที่สัมพันธ์กับความร้อนในปีแรก อย่างน้อยอำเภอละ 1 ตำบล และให้มีการประเมินผลเพื่อขยายพื้นที่ดำเนินโครงการไปยังตำบลอื่นในปีต่อๆ ไป ทั้งนี้สามารถขอรับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้ 2. ระดับประเทศ กระทรวงสาธารณสุขอาจกำหนดให้มีการทำการเตือนภัยควบคู่กับการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ตามแนวทางที่ได้เสนอในรายงานฉบับนี้ นำร่องในแต่ละจังหวัดๆ ละ 1 ตำบล เฉพาะหน้าร้อนเป็นระยะเวลา 3 - 4 เดือน จากนั้นค่อยๆ ขยายไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยอาจใช้แนวทางการดำเนินนโยบายเหมือนกับระดับจังหวัดที่ได้นำเสนอข้างต้น และ 3. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) อาจนำเสนอผลการศึกษาในโครงการนี้แก่ที่ประชุมคณะกรรมการ สวรส. เพื่อเสนอแก่ผู้บริหารในระดับกรมของกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานปลัดกระทรวง กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ฯลฯ เพื่อให้มีการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนในระดับประเทศต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHeat Stroketh_TH
dc.subjectโรคลมร้อนth_TH
dc.subjectการเฝ้าระวังโรคth_TH
dc.subjectการเฝ้าระวังโรค--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectสุขภาพ--ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectโรค--ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบการเตือนภัยสุขภาพจากความร้อนแบบมีส่วนร่วมจากชุมชนและระบบเฝ้าระวังโรคที่สัมพันธ์กับความร้อนth_TH
dc.title.alternativeThe Development of Community Participating Heat-Health Warning and Heat-related Illness Surveillance Systemsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis project is a participatory action study. The objective was to develop two related systems, where the Tambon Health Promoting Hospital is the core of implementation comprising of the heat-health warning system and the heat-related illness surveillance system. The development of the heat-health warning system was based on a concept proposed by the World Health Organization, namely: 1) Weather forecasting using data from the Meteorological Department; 2) Setting the threshold temperature based on the method from the study of Phongtape Wiwatanadate (2016) under the project “The Development of Health Warning System and Mechanism for Heat-Related Illnesses” and analyzing the data obtained from the Nakhon Sawan Provincial Health Office for the past 5 years and 3) Issuance of watch/warning messages to related persons including identifying vulnerable groups through participation from the community and all stakeholders in every step. Nonetheless, this project has added a fourth step of activity, namely monitoring, providing advice and first aid to vulnerable groups, carried out by village health volunteers in collaboration with caregivers. Development of both passive and active heat-related illness surveillance systems was also carried out at the target sub-district level. It was adapted from a surveillance model developed by the Centers for Disease Control and Prevention (CDC), which has four steps: 1) data collection, 2) data analysis, processing and interpretation, 3) summarizing the surveillance results and reporting the results of the surveillance to those involved, and 4) corrective action or prevention of problems. The duration of the project was 1 year and 6 months with the pilot area being Klang Daet Sub-district, Mueang District, Nakhon Sawan Province. The outcome of the heat-health warning system between 1 March-to 30 April, 2020 (2 months) showed that the warning level in the "warning" level (level 3) (temperature above 39 degrees Celsius) was the highest for 25 days and there were 28 cases of heat-related illnesses. Most cases were found at Moo 6, a total of 30 cases. The most common disease was heat syncope, totally 39 cases. No cases of heatstroke were found. For the heat-related illness surveillance system between March 1, 2020 and February 28, 2021 (1 year), it revealed that the warning level of "surveillance" (level 1) (temperature below 37 degrees Celsius) was the highest totally 280 days. Most cases were in March 2020, with 42 cases. Most cases were found at Moo 6, a total of 36 cases. The most common disease was heat syncope, with 47 cases. The ratio of female : male was 1.6:1. The top 3 most common age group were 65–69 years old, followed by 50–54 years and 60–64 years old, respectively. The top 3 risk factors were working outdoors or in a hot place, drinking tea or coffee, and having heart disease or high blood pressure, respectively. No patients with heatstroke were found. The overall project evaluation found that the sub-district agencys, such as the Tambon Health Promoting Hospital, together with the village health volunteers, were able to operate both systems by themselves without difficulty, not adding too much workload as it can be integrated with other activities that are routinely performed. Most importantly, there is almost no budget required for the activities, but it can prevent morbidity and mortality from heatstroke. Policy Recommendations Policy recommendations are divided into 3 levels as follows: 1. Provincial level. Nakhon Sawan Provincial Health Office should be the key to expanding the project area. It may begin with a meeting of the heads of district government agencies to establish policies for implementing the heat-health warning and the heat-related illness surveillance systems at least 1 sub-district per district in the first year and making an assessment to expand the project to other sub-districts in the following years. It can get the funding support from the Health System Research Institute. 2. National level. The Ministry of Public Health may issue the policy to implement the heat-health warning and the heat-related illness surveillance systems according to the guidelines presented in this report by piloting one sub-district in each province in the summertime for a period of 3-4 months, and then gradually expanding to cover the entire province. It may use the same policy implementation guidelines at the provincial level aforementioned. 3. Health System Research Institute (HSRI). It may present the results of the study in this project to the meeting of HSRI Board of Directors to propose to the relevant departmental administrators of the Ministry of Public Health, such as the Office of the Permanent Secretary, Department of Disease Control, Department of Health, Department of Medical Services, Department of Health Service Support, etc. in order to have policy-making and driving at the national level.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 พ124ก 2564
dc.identifier.contactno63-009
dc.subject.keywordโรคลมแดดth_TH
dc.subject.keywordHeat Syncopeth_TH
dc.subject.keywordการเตือนภัยด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordCommunity Surveillanceen_US
.custom.citationพงศ์เทพ วิวรรธนะเดช, Phongtape Wiwatanadate, มยุรา วิวรรธนะเดช, Mayura Wiwatanadate, วันวิสาข์ ชูจิตร, Wanwisa Chujit, จุรีรัตน์ มัฎฐาพันธ์, Jureerat Matthaphan, ธารทิพย์ พรหมขัติแก้ว and Tharntip Promkutkao. "การพัฒนาระบบการเตือนภัยสุขภาพจากความร้อนแบบมีส่วนร่วมจากชุมชนและระบบเฝ้าระวังโรคที่สัมพันธ์กับความร้อน." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5364">http://hdl.handle.net/11228/5364</a>.
.custom.total_download54
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs2676.pdf
Size: 13.70Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record