แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาสถานการณ์และความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

dc.contributor.authorพินิจ ฟ้าอำนวยผลth_TH
dc.contributor.authorPinij Faramnuaypholth_TH
dc.date.accessioned2021-08-02T02:37:49Z
dc.date.available2021-08-02T02:37:49Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.otherhs2684
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5383
dc.description.abstractในการควบคุมการระบาดของโรค เช่น โรคโควิด-19 จำเป็นต้องสกัดโรคให้อยู่ในวงจำกัด ซึ่งเป็นบทบาทของสถานบริการระดับปฐมภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการติดตามผู้สัมผัสและการค้นหาเชิงรุกในชุมชน โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินภาระงานของบุคลากรระดับปฐมภูมิ ในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพและส่วนขาดด้านบุคลากรระดับปฐมภูมิ ในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ตามระดับความรุนแรงของการระบาด การศึกษานี้ประเมินภาระงานบริการ 6 ประเภท โดยประมวลผลจากข้อมูลบริการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับข้อมูลระยะเวลาในการให้บริการเฉลี่ยต่อครั้ง จากการทบทวนการศึกษาที่ผ่านมาและการประชุมร่วมกับ รพ.สต. 9 แห่ง ใน 3 จังหวัด นำมาคำนวณชั่วโมงการทำงานหลังหักภาระงานขั้นต่ำ โดยนำชั่วโมงการทำงานทั้งหมดของบุคลากร 4 ตำแหน่ง หักด้วยภาระงานบริการ 6 ประเภท และภาระงานชุมชนและงานอื่นๆ (เฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อบุคลากร 1 คนต่อวัน) มาใช้ในการคาดประมาณศักยภาพในการทำกิจกรรมควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่ ซึ่งในที่นี้คือ จำนวนการติดตามผู้สัมผัสหรือการค้นหาเชิงรุกที่สามารถทำได้สูงสุดใน 1 วัน ในระดับ รพ.สต. อำเภอ จังหวัดและเขต ทั้งประเทศ (ไม่รวมกรุงเทพฯ) โดยผลการศึกษาพบว่า หากใช้ร้อยละ 50 ของชั่วโมงการทำงานหลังหักด้วยภาระงานขั้นต่ำ ในระดับจังหวัด ร้อยละ 85 ของจังหวัดสามารถติดตามผู้สัมผัสหรือค้นหาเชิงรุกได้ 2,000 – 8,000 รายต่อวัน ในขณะที่ร้อยละ 75 ของอำเภอ สามารถติดตามผู้สัมผัสหรือค้นหาเชิงรุกได้ 200 – 800 รายต่อวัน และสำหรับระดับ รพ.สต. มีร้อยละ 75 ที่สามารถติดตามผู้สัมผัสหรือค้นหาเชิงรุกได้ 20 – 80 รายต่อวัน เมื่อใช้ข้อมูลการให้บริการในช่วงการระบาดของโควิด-19 รอบแรก (มกราคม-มิถุนายน 2563) แสดงให้เห็นว่า ในระดับ รพ.สต. มีศักยภาพ (ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น) ในการควบคุมการระบาดของโรคได้ในระดับที่ต่างกัน โดยในระดับอำเภอ จะช่วยในการระดมบุคลากรภายในอำเภอ หากระดับของการระบาดไม่รุนแรงและในระดับจังหวัด ยังสามารถรองรับปริมาณการค้นหาเชิงรุกได้มากขึ้น โดยการระดมบุคลากรในจังหวัด ทั้งนี้ควรมีการจัดทำแผนกำลังคนสำรอง (surge capacity plan) เพื่อวางแผนรองรับหากต้องมีการระดมบุคลากรในระดับอำเภอและระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนบุคลากรในระดับปฐมภูมิ ตามสถานการณ์ความรุนแรงของการระบาดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectPandemicsth_TH
dc.subjectโรคระบาดth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์และความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19th_TH
dc.title.alternativeSituation analysis and requirement of health manpower at primary care level during the situation of COVID-19 pandemicsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeFor disease control such as COVID-19, limiting the spread of epidemics is an important activity. Parts of activities are the roles of primary care or health centers in the area including contact tracing and active care finding. The objective of this study is to develop the methodology to assess the workload of health personnel at primary care in the normal situation and in the COVID-19 pandemics situation in order to identify human resource capacity and gap at primary care level for defending COVID-19 at different levels of epidemics. This study assessed the workload for 6 types of health services by analyzing the related databases and estimating average time of service using previous study and discussion with 9 health centers in 3 provinces. Subtraction of total working hours for 4 types of health personnel including doctor, nurse, public health technical officer, public health officer by service workload (6 types of services) and workload for community services and others (2 hours per person per day in average) was done. The remaining working hours were used for estimating capacity of COVID-19 control activities, in this case, the highest number of contact tracing and active case finding that can be performed in one day at health center level, district level and provincial level for the whole country (except Bangkok). The result of the study showed that in case of using 50% of remaining working hours after subtraction by the existing workload (6 services workload and community workload), there are about 85% of provinces that can perform 2,000 – 8,000 cases per day of contact tracing or active case finding. At district level, there are about 75% of districts that can perform 200 – 800 cases per day. At health center level, there are about 75% of health centers that can perform 20 – 80 cases per day. These figures are based on service data between January and June 2020 which was the first round of COVID-19 epidemics. The result reflects that health centers have different capacity (flexible working hours) for defending epidemics. District level seems to be more flexible and manageable to mobilize human resources within district for not severe epidemics situation and provinces can cover higher volume of active case finding per day. Therefore, the surge capacity plan should be developed at district and provincial level for mobilizing human resources within area in the situation of epidemics.th_TH
dc.identifier.callnoW76 พ685ก 2564
dc.identifier.contactno63-155
dc.subject.keywordกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
.custom.citationพินิจ ฟ้าอำนวยผล and Pinij Faramnuayphol. "การศึกษาสถานการณ์และความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5383">http://hdl.handle.net/11228/5383</a>.
.custom.total_download635
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2684.pdf
ขนาด: 1.932Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย