dc.contributor.author | สมจิตต์ สินธุชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Somchit Sinthuchai | th_TH |
dc.contributor.author | นุสรา นามเดช | th_TH |
dc.contributor.author | Nusara Namdej | th_TH |
dc.contributor.author | ประไพ กิตติบุญถวัลย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Prapai Kittiboonthawal | th_TH |
dc.contributor.author | สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Suda Dejpitaksirikul | th_TH |
dc.contributor.author | จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ | th_TH |
dc.contributor.author | Jeeraporn Chuencham | th_TH |
dc.contributor.author | กันยารัตน์ อุบลวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Kanyarat Ubolwan | th_TH |
dc.contributor.author | ปัฐยาวัชร ปรากฎผล | th_TH |
dc.contributor.author | Padthayawad Pragodpol | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-08-03T07:59:13Z | |
dc.date.available | 2021-08-03T07:59:13Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.other | hs2685 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5384 | |
dc.description.abstract | การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี จำนวน 150 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 75 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและเอกสารประกอบรูปแบบ และ 2) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ประกอบด้วยขั้นตอนของรูปแบบ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) มั่นใจที่จะเปลี่ยนแปลง 2) เข้าถึงเข้าใจโรคของเรา 3) สื่อสารและตัดสินใจทางสุขภาพ 4) กำหนดทิศทางปรับเปลี่ยนตนเอง และ 5) ปฏิบัติต่อเนื่องสู่ผลลัพธ์สุขภาพดี 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง พบว่า 2.1 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองหลังทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และ (p < 0.001) ตามลำดับ ส่วนค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวของกลุ่มทดลองหลังทดลองต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง และควบคุมค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมและความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | Health Literacy | th_TH |
dc.subject | ความรอบรู้ด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Behavior | th_TH |
dc.subject | เบาหวาน | th_TH |
dc.subject | Diabetes Mellitus | th_TH |
dc.subject | ความดันโลหิตสูง | th_TH |
dc.subject | Hypertension | th_TH |
dc.subject | เบาหวานชนิดที่ 2 | th_TH |
dc.subject | Type 2 Diabetes | th_TH |
dc.subject | คลินิกหมอครอบครัว | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--การดูแลตนเอง | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | Health Behavior--in old age | th_TH |
dc.subject | Diabetes Mellitus--in old age | th_TH |
dc.subject | Hypertension--in old age | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | Self Management | en_US |
dc.subject | การจัดการตนเอง | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Development of the Health Literacy Model to Enhance Self-Management Behaviors and Health Outcomes among Older Adults with Type 2 Diabetes Mellitus and Hypertension in Primary Care Cluster, Saraburi Province | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Development of a health literacy model to enhance self-management behaviors and health outcomes among older adults with coexisting type 2 diabetes mellitus and hypertension in primary care cluster Saraburi province was a research and development. The main purposes of this study were to develop health literacy model of older adults with coexisting type 2 diabetes mellitus and hypertension and to determine the effects of this model. A sample of 150 older adults with coexisting type 2 diabetes mellitus and hypertension visiting in primary care cluster Saraburi province was randomly entered into the experimental and control group, 75 participants for each group. The experimental group participated in the health literacy developmental activities for a period of 12 weeks, whereas the control group obtained regular care. The instruments employed in this research included 1) the health literacy developmental model and supporting documents and 2) the self-management behavior questionnaire. The percentage, mean, standard deviation, t-test, and content analysis were used to analyzed the data. The results showed that: 1. The health literacy developmental model to promote self-management behavior and health outcomes among older adults with coexisting type 2 diabetes mellitus and hypertension consisted of 5 stages as followed: 1) confidence to change, 2) access and understand our disease, 3) communicate and make decisions for health, 4) set the direction for self-change, and 5) continuously perform towards good health outcomes. 2. The effects of the health literacy developmental model to promote self-management behavior and health outcomes were found: 2.1 Post-test mean score of self-management behavior of the experimental group was significantly higher than the control group (p < 0.001). Post-test mean of HbA1c and systolic blood pressure of the experimental group were significantly lower than the control group (p <0.01 and p <0.001, respectively), whereas mean of diastolic blood pressure of the experimental groups were lower than the control group, but there was no statistical significance. 2.2 Post-test mean score of self-management behavior of the experimental group was significantly higher than pre-test (p <0.001), whereas mean HbA1c, systolic blood pressure, and diastolic blood pressure of post-test was significantly lower than pre-test (p <0.001). The results of this study can be employed to develop health literacy to promote self-management behaviors and control HbA1c, and blood pressure among older adults with coexisting type 2 diabetes mellitus and hypertension. | th_TH |
dc.identifier.callno | WT100 ส236ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-013 | |
dc.subject.keyword | Older Adults | th_TH |
dc.subject.keyword | ความแตกฉานด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | การรู้เท่าทันด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | ความฉลาดทางสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Primary Care Cluster | th_TH |
.custom.citation | สมจิตต์ สินธุชัย, Somchit Sinthuchai, นุสรา นามเดช, Nusara Namdej, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, Prapai Kittiboonthawal, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, Suda Dejpitaksirikul, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, Jeeraporn Chuencham, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, Kanyarat Ubolwan, ปัฐยาวัชร ปรากฎผล and Padthayawad Pragodpol. "การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5384">http://hdl.handle.net/11228/5384</a>. | |
.custom.total_download | 854 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 192 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 25 | |