การพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ในเชิงอุตสาหกรรม
dc.contributor.author | ปัทมาภรณ์ กฤตยพงษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pattamaporn Kittayapong | th_TH |
dc.contributor.author | ปรียาพร เกิดฤทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Preeyaporn Koedrith | th_TH |
dc.contributor.author | อุรุญากร จันทร์แสง | th_TH |
dc.contributor.author | Uruyakorn Chansang | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-08-16T09:40:52Z | |
dc.date.available | 2021-08-16T09:40:52Z | |
dc.date.issued | 2564-04 | |
dc.identifier.other | hs2694 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5393 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยในโครงการนี้มีวัตถุประสงค์โดยรวมเพื่อพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM หรือยุงลายเพศผู้ที่ผ่านการทำหมันด้วยการฉายรังสีและ/หรือการถ่ายโอนแบคทีเรีย Wolbachia ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ชีวภัณฑ์ฯ ปริมาณมาก คุณภาพสูงและต้นทุนต่ำ โดยเน้นการพัฒนาอุปกรณ์การเลี้ยง อุปกรณ์การแยกเพศตัวโม่ง สูตรอาหารลูกน้ำและโปรตีนทดแทนเลือด รวมทั้งการประเมินและควบคุมคุณภาพของชีวภัณฑ์ฯ เพื่อให้ได้ชีวภัณฑ์ฯ ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถทำให้ยุงลายเพศเมียในธรรมชาติเป็นหมันได้ สำหรับการพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงลูกน้ำ พบว่าอาหารเลี้ยงลูกน้ำสูตรทดแทนมีผลแตกต่างน้อยมากต่อพัฒนาการโดยรวมของตัวโม่งเพศผู้ และตัวโม่งเพศเมียเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารสูตรมาตรฐานอ้างอิงและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้อาหารเลี้ยงลูกน้ำสูตรทดแทนมีราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า 60% เมื่อเปรียบเทียบกับราคาต้นทุนของอาหารเลี้ยงลูกน้ำสูตรมาตรฐานอ้างอิง ดังนั้นการนำอาหารสูตรทดแทนที่พัฒนาได้มาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงลูกน้ำจำนวนมากเพื่อการผลิตชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ในระดับอุตสาหกรรมจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ สำหรับการพัฒนาอุปกรณ์คัดแยกเพศตัวโม่ง พบว่าเครื่องคัดแยกเพศตัวโม่งที่ผลิตภายในประเทศมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากเครื่องคัดแยกเพศตัวโม่งที่ผลิตจากต่างประเทศ เมื่อพิจารณาจากความเร็วในการคัดแยกเพศตัวโม่งและอัตราการปะปนของยุงลายบ้านเพศเมียที่เจริญมาจากตัวโม่งที่ผ่านการคัดแยกเพศด้วยเครื่องคัดแยก และเมื่อพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ราคา การขนส่ง การซ่อมบำรุง ซึ่งเฉพาะในส่วนของราคานั้น พบว่าเครื่องคัดแยกเพศตัวโม่งที่ผลิตภายในประเทศมีราคาถูกกว่าเครื่องคัดแยกเพศที่ผลิตจากต่างประเทศประมาณ 70% ดังนั้นเครื่องคัดแยกเพศตัวโม่งที่ผลิตภายในประเทศนี้จึงมีประสิทธิภาพสามารถนำมาใช้ในการคัดแยกเพศตัวโม่ง เพื่อใช้ในการผลิตชีวภัณฑ์ซุเปเปอร์มอสTM ในปริมาณมากในระดับอุตสาหกรรมได้ ในส่วนการพัฒนาโปรตีนยีตส์ทดแทนเลือด พบว่าโปรตีนยีสต์ทดแทนที่นำมาศึกษายังไม่สามารถใช้ทดแทนเลือดในการทำให้ยุงลายบ้านเพศเมียวางไข่ได้ เนื่องจากจำนวนยุงลายบ้านเพศเมียที่กินโปรตีนยีสต์ มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนยุงลายบ้านเพศเมียที่กินเลือด อีกทั้งยังพบว่ายุงลายบ้านเพศเมียที่กินโปรตีนยีสต์ทดแทนนั้นไม่สามารถวางไข่ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องศึกษาวิจัยและหาวัตถุดิบชนิดอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาสูตรอาหารที่จะนำมาทดแทนเลือดต่อไป สำหรับการควบคุมคุณภาพชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM จากการทดสอบการบิน พบว่าชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ที่ถูกทำให้เป็นหมันจากการฉายรังสีและชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ที่ถูกทำให้เป็นหมันจากการถ่ายโอนแบคทีเรีย Wolbachia มีอัตราการบินหลุดรอดออกจากกระบอกทดสอบที่แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการบินหลุดรอดของยุงลายบ้านปกติที่ไม่ได้ฉายรังสีหรือไม่มีแบคทีเรีย Wolbachia ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการฉายรังสีและการมีแบคทีเรีย Wolbachia ไม่มีผลต่อคุณภาพและความสามารถในการบินของชีวภัณฑ์ฯ สำหรับการทดสอบคุณภาพโดยประเมินจากการเป็นหมันของยุง พบว่าชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ที่ถูกทำให้เป็นหมันจากการฉายรังสีและชีวภัณฑ์ฯ ที่ถูกทำให้เป็นหมันจากการถ่ายโอนแบคทีเรีย Wolbachia เมื่อผสมพันธุ์กับยุงลายบ้านเพศเมียปกติที่ไม่ได้ผ่านการฉายรังสีและไม่ได้มีแบคทีเรีย Wolbachia พบว่าทำให้ยุงลายบ้านเพศเมียไข่ฝ่อโดยไข่ไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือยุงลายบ้านเพศเมียนั้นเป็นหมัน ดังนั้นสรุปได้ว่าการทำให้ยุงลายบ้านเพศผู้เป็นหมันด้วยการฉายรังสีหรือด้วยการถ่ายโอนแบคทีเรีย Wolbachia ทำให้ยุงลายบ้านเพศเมียที่ผสมพันธุ์กับยุงลายบ้านเพศผู้ดังกล่าวเป็นหมันและไม่สามารถผลิตยุงในรุ่นถัดไปได้ สำหรับการควบคุมคุณภาพชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM โดยการทดสอบการแข่งขันเข้าคู่ผสมพันธุ์ พบว่าชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ที่ถูกทำให้เป็นหมันด้วยการฉายรังสีสามารถแข่งขันเข้าคู่ผสมพันธุ์กับยุงลายบ้านเพศเมียและมีความสามารถในการเข้าคู่ผสมพันธุ์ได้ใกล้เคียงกับยุงลายบ้านเพศผู้ในธรรมชาติ เมื่อชีวภัณฑ์ฯ มีจำนวนอย่างน้อย 10 เท่าของจำนวนของยุงลายบ้านเพศผู้ สำหรับชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ที่ถูกทำให้เป็นหมันด้วยการถ่ายโอนแบคทีเรีย Wolbachia พบว่าชีวภัณฑ์ฯ มีความสามารถใกล้เคียงกับยุงลายบ้านเพศผู้ปกติในการเข้าคู่ผสมพันธุ์กับยุงลายบ้านเพศเมียเมื่อชีวภัณฑ์ฯ มีจำนวนอย่างน้อย 1 เท่าของจำนวนยุงลายบ้านเพศผู้ ดังนั้นถ้าหากต้องการนำชีวภัณฑ์ฯ ดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่จริง จะต้องปล่อยชีวภัณฑ์ฯ ที่ถูกทำให้เป็นหมันจากการฉายรังสีในอัตราส่วนที่มากกว่าจำนวนยุงลายบ้านเพศผู้ที่พบในธรรมชาติเป็นจำนวนอย่างน้อย 10 เท่าและจะต้องปล่อยชีวภัณฑ์ฯ ที่ถูกทำให้เป็นหมันจากการมีแบคทีเรีย Wolbachia ในอัตราส่วนที่มากกว่าจำนวนยุงลายบ้านเพศผู้ที่พบในธรรมชาติเป็นจำนวน 1 เท่าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับยุงลายบ้านเพศผู้ในธรรมชาติในการเข้าคู่ผสมพันธุ์กับยุงลายบ้านเพศเมียได้ สำหรับการควบคุมคุณภาพโดยการประเมินจากอัตราการรอดชีวิตและอายุขัยของยุง พบว่าการฉายรังสีแทบจะไม่มีผลใดๆ ต่ออัตราการรอดชีวิตและอายุขัยโดยเฉลี่ยของยุงลายบ้านเพศผู้ที่ผ่านการฉายรังสี ในส่วนของการถ่ายโอนแบคทีเรีย Wolbachia พบว่ายุงลายบ้านเพศผู้ที่มีแบคทีเรีย Wolbachia มีอัตราการรอดชีวิตที่ต่ำลงและมีอายุขัยเฉลี่ยที่สั้นลงเมื่อเปรียบเทียบกับยุงลายบ้านที่ไม่มีแบคทีเรีย Wolbachia ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการนำยุงลายบ้านเพศผู้มาทำให้เป็นหมันด้วยการฉายรังสีไม่มีผลใดๆ ต่อยุงลายบ้านเพศผู้ ในขณะที่การทำหมันด้วยการถ่ายโอนแบคทีเรีย Wolbachia มีผลทำให้ยุงลายบ้านเพศผู้มีอัตราการรอดชีวิตและอายุขัยเฉลี่ยที่สั้นลง สำหรับการควบคุมคุณภาพโดยการตรวจหาแบคทีเรีย Wolbachia พบว่าเปอร์เซ็นต์การตรวจพบแบคทีเรีย Wolbachia ในชีวภัณฑ์ฯ อยู่ที่ 100% ในชีวภัณฑ์ฯ ทุกล็อตที่ทำการสุ่มตรวจ จึงอาจกล่าวได้ว่าแบคทีเรีย Wolbachia มีความเสถียรเมื่ออยู่ในชีวภัณฑ์ฯ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Mosquitoes | th_TH |
dc.subject | Mosquitoes--Control | th_TH |
dc.subject | Mosquitoes--Prevention and Control | th_TH |
dc.subject | ยุงลาย | th_TH |
dc.subject | ยุงลาย--การควบคุม | th_TH |
dc.subject | ยุงลาย--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | ยุงลาย--การวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ | th_TH |
dc.subject | เชื้อแบคทีเรีย | th_TH |
dc.subject | Wolbachia | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) | th_TH |
dc.subject | Aedes | en_US |
dc.title | การพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ในเชิงอุตสาหกรรม | th_TH |
dc.title.alternative | Development of industrial production of SuperMosqTM bioproduct | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study has the overall goal to develop and improve mass-rearing of the SuperMosqTM bio-products or sterile male mosquitoes produced either by Sterile Insect Technique (SIT) through low-dose irradiation or by Wolbachia-induced Incompatible Insect Technique (IIT). The specific objectives are as follows: 1) develop a high-quality, low-cost, industrial scale, Aedes aegypti larval diet, 2) develop a local sex separator device for separating Ae. aegypti male and female pupae, 3) test yeast proteins for blood meal replacement of female mosquitoes, and 4) assess quality control of mass-reared immatures and sterile mosquitoes. For the development of Ae. aegypti larval diets, it was found that an alternative larval diet had very little effect on the growth and development of both male and female pupae and adults when compared to those that were reared with the standard larval diet. Moreover, when the cost of the diet was taken into consideration, it was found that the cost of an alternative larval diet was 60% lower than that of the standard diet. Therefore, it was concluded that an alternative larval diet could be applied for mass production of mosquitoes at the industrial scale as it reduces the cost of production but still yield good quality of mosquitoes. For the development of local pupal sex separator device, It was found that there was no significant different in the efficacy between the local pupal sex separator and the imported one. When the speed of sex separation and the percentage of female contamination, together with other factors such as cost, transportation, maintenance, etc. was considered, it was found that there were no significant differences in the speed of sex separation and the percentage of female contamination while the cost of the locally assembled device was 70% lower. For the development of yeast protein Ae. aegypti females, it was found that the yeast protein diet was not able to replace the general blood meal as females could not lay eggs when they were fed with the yeast protein diet. Besides, Ae. aegypti females were less attractive to the yeast protein diet when compared to the pig blood. In addition, females that were fed on the yeast protein diet were unable to produce eggs. Therefore, it is necessary to study and find other raw materials in order to improve and develop recipes that could be used to replace blood in the future. For quality control of sterile male mosquitoes using flight ability test, it was found that there was no significant difference in the escape rate of the sterile mosquitoes produced from both low-dose irradiation and Wolbachia-induced incompatibility, or the SuperMosqTM bio-products, when compared to the control ones. Therefore, it could be concluded that the low-dose irradiation and the presence of Wolbachia bacteria did not affect the flight ability of the SuperMosqTM bio-products. For quality control of sterile male mosquitoes using sterility test, it was found that sterile mosquitoes, whether they were sterile by either low-dose irradiation or by Wolbchia-induced incompatibility, could make fertile Ae. aegypti females sterile; as the latter lay unhatched eggs or even could not produce eggs at all. In other words, it could be concluded that the SuperMosqTM bio-products, sterilized by either low-dose irradiation or Wolbachia-induced incompatibility, can cause sterility in the fertile Ae. aegypti females when they were mated and that the females could not produce any offspring. For quality control of sterile male mosquitoes by assessing male mating competitiveness, it was found that both radio-sterilized and Wolbachia-induced incompatible males had nearly similar ability to compete with wild males in order to mate with Ae. aegypti females. Therefore, when the SuperMosqTM bio-products were applied for vector control, they should be released in a ratio equal to 10 times of the number of wild males in the case radio-sterilized males and only one time of the number of wild males in the case of Wolbachia-induced incompatible males, in order to effectively compete with wild Ae. aegypti male mosquitoes. For quality control of sterile male mosquitoes by assessing survival rate and life expectancy, it was found that low-dose irradiation had no effect on average survival rate and life expectancy of sterile males when compared to the control ones, while those that were sterilized by Wolbachia-induced incompatibility reduced average survival rates and shortened the life expectancy of sterile males when compared to the control ones. For quality control of sterile male mosquitoes by detection of Wolbachia bacteria, it was found that Wolbachia bacteria was 100% present in the sterile males that were randomly selected for detection in every lots of productions. Therefore, it could be concluded that Wolbachia bacteria was stably established in the SuperMosqTM bio-products. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC528 ป533ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-049 | |
dc.subject.keyword | ชีวภัณฑ์ | th_TH |
.custom.citation | ปัทมาภรณ์ กฤตยพงษ์, Pattamaporn Kittayapong, ปรียาพร เกิดฤทธิ์, Preeyaporn Koedrith, อุรุญากร จันทร์แสง and Uruyakorn Chansang. "การพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์ซุปเปอร์มอสTM ในเชิงอุตสาหกรรม." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5393">http://hdl.handle.net/11228/5393</a>. | |
.custom.total_download | 12 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 1 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2433]
งานวิจัย