แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงยากลุ่มโอปิออยด์ สำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในประเทศไทย

dc.contributor.authorจอมขวัญ โยธาสมุทรth_TH
dc.contributor.authorJomkwan Yothasamutth_TH
dc.contributor.authorกานต์พีชญา เนตรพิสิทธิ์กุลth_TH
dc.contributor.authorKanpechaya Netpisitkulth_TH
dc.contributor.authorศรวณีย์ อวนศรีth_TH
dc.contributor.authorSonvanee Uansrith_TH
dc.contributor.authorจุฑามาศ พราวแจ้งth_TH
dc.contributor.authorJuthamas Prawjaength_TH
dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสth_TH
dc.contributor.authorSripen Tantivessth_TH
dc.date.accessioned2021-09-14T07:07:41Z
dc.date.available2021-09-14T07:07:41Z
dc.date.issued2563-12-18
dc.identifier.otherhs2702
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5402
dc.description.abstractปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ป่วยระยะท้ายที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคองเพิ่มมากขึ้น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์จัดเป็นยาที่จำเป็นในการบรรเทาอาการปวดชนิดรุนแรง ซึ่งช่วยลดความทรมานและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามในประเทศไทยมีปัญหาการเข้าไม่ถึงยาแก้ปวดกลุ่มนี้ แม้จะถูกจัดเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติมาเป็นเวลานาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ระเบียบวิธีศึกษาใช้การทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรของหน่วยงานระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์และการดูแลแบบประคับประคอง ตัวแทนผู้ป่วย และแพทย์ พยาบาล เภสัชกร จากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 4 แห่ง โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จำนวน 9 แห่ง หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) การศึกษานี้พบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ในผู้ป่วยระยะท้ายในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กฎหมายที่ควบคุมการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ ไม่สอดคล้องกับการดำเนินงาน หากเกิดกรณียาขาดฉุกเฉิน หรือยาใกล้หมดอายุ โรงพยาบาลไม่สามารถขอยืมยา หรือแลกเปลี่ยนยาระหว่างโรงพยาบาลได้ (2) ระบบบริหารจัดการยาที่ไม่มีความพร้อม ทำให้โรงพยาบาลมียาไม่ครบตามกรอบยาจำเป็นที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ (3) แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร มีความรู้เรื่องการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ไม่เพียงพอ มีทัศนคติเชิงลบต่อยาดังกล่าว ทำให้แพทย์ไม่กล้าสั่งใช้ยา ในด้านของผู้ป่วย ญาติและประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ จึงส่งผลต่อการยอมรับยานี้ และ (4) การอภิบาลและระบบบริการดูแลแบบประคับประคองที่ยังไม่เข้มแข็ง ทั้งการมีนโยบายไม่ชัดเจน งบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินงานไม่เพียงพอ การขาดความพร้อมในการให้บริการ และขาดกระบวนการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการดังนี้ (1) ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการบริหารยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (2) พัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในพื้นที่ (3) ปรับปรุงระบบการศึกษาและฝึกอบรมของวิชาชีพ และการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งคนในชุมชน และ (4) สนับสนุนให้มีการอภิบาลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectOpioidsth_TH
dc.subjectการเข้าถึงยาth_TH
dc.subjectPalliative Careth_TH
dc.subjectการดูแลแบบประคับประคองth_TH
dc.subjectHospice Careth_TH
dc.subjectผู้ป่วยระยะสุดท้ายth_TH
dc.subjectผู้ป่วยระยะสุดท้าย--การดูแลth_TH
dc.subjectบริการผู้ป่วยระยะสุดท้ายth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectOpioids--Therapeutic useth_TH
dc.subjectยาระงับปวด, โอปิออยด์th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงยากลุ่มโอปิออยด์ สำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeA synthesis of factors affecting an access to opioid analgesics for palliative care of end-stage patients in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIn Thailand, nowadays, there is an increasing number of terminally ill patients who need palliative care. Opioids are deemed to be an essential treatment for severe pain that can help to reduce suffering and increase the quality of life significantly. Even though opioids have been already included in the National List of Essential Medicines in Thailand, access to this kind of treatment remains a problem. This study aims to explore the factors that influence the access to opioids for palliative care in Thailand. The methodology used in this study includes literature and document review, in-depth interview, as well as focus group discussion which obtained data from personnel in the national institutes related to opioids regulation and palliative care. Key informants consisted of patients’ representatives, doctors, nurses, and pharmacists. Data collection was performed in nine secondary- and four tertiary-hospitals. Thereafter, record files were transcribed verbatim in accordance with key informants’ consent and analyzed as content analysis. This study found that obstacle factors to access opioids for palliative care are divided into four issues including (1) opioids regulations are inconsistent with practices when opioids are suddenly out of stock or nearly expired; however, hospitals cannot borrow or swap these drugs from each other. (2) Inadequate drug management system leads to insufficient amount of drugs stored in hospitals as recommended by the WHO. (3) Doctors, nurses, and pharmacists acquire scarce knowledge of and have negative perspectives toward opioids that cause them afraid to prescribe opioids. Besides that, patients and relatives and laypeople are lack knowledge and understanding of opioids which results in unacceptance. (4) Governance and palliative care system are not robust together with vague policy, deficient budget for operation, unreadiness of services, lack of monitoring and evaluation. This study recommended (1) revising regulations for consistency with opioids administration and management. (2) developing a management system for medical supplies in areas. (3) improving the education system and training for professions as well as counselling or advising patients and their relatives and within the community. (4) Promoting governance for accessing opioids.th_TH
dc.identifier.callnoW85.5 จ195ก 2563
dc.identifier.contactno63-144
dc.subject.keywordผู้ป่วยระยะท้ายth_TH
dc.subject.keywordยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์th_TH
.custom.citationจอมขวัญ โยธาสมุทร, Jomkwan Yothasamut, กานต์พีชญา เนตรพิสิทธิ์กุล, Kanpechaya Netpisitkul, ศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, จุฑามาศ พราวแจ้ง, Juthamas Prawjaeng, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส and Sripen Tantivess. "การสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงยากลุ่มโอปิออยด์ สำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในประเทศไทย." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5402">http://hdl.handle.net/11228/5402</a>.
.custom.total_download92
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year20
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2702.pdf
ขนาด: 1.921Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย