แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ผลลัพธ์การดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรในคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 6

dc.contributor.authorสายชล ชำปฏิth_TH
dc.contributor.authorSaichon Schampatith_TH
dc.contributor.authorธีรภัทร์ ฉันทพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorTheerapat Chantapanth_TH
dc.contributor.authorศรัณยา กล่อมใจขาวth_TH
dc.contributor.authorSaranya Klomjaikhaoth_TH
dc.contributor.authorใจนุช กาญจนภูth_TH
dc.contributor.authorJainuch Kanchanapooth_TH
dc.contributor.authorนฤมล โพธิ์ศรีทองth_TH
dc.contributor.authorNarumol Phosrithongth_TH
dc.contributor.authorถนอมพงษ์ เสถียรลัคนาth_TH
dc.contributor.authorThanompong Sathienluckanath_TH
dc.contributor.authorสุวภาพ เตชะมหามณีรัตน์th_TH
dc.contributor.authorSuwapab Techamahamaneeratth_TH
dc.date.accessioned2021-10-12T03:05:40Z
dc.date.available2021-10-12T03:05:40Z
dc.date.issued2564-09
dc.identifier.otherhs2713
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5423
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานแบบแผนรองรับภายในต่อเนื่องกันมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานของเภสัชกรครอบครัวในคลินิกหมอครอบครัว การสนทนากลุ่มกับเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ 24 คน จาก 7 จังหวัดของเขตสุขภาพ ในเดือนมกราคม 2563 และเมษายน 2564 ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 5.6±5.0 ปี และปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิแบบเต็มเวลา 8 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ บทบาทของเภสัชกร, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย ผู้ร่วมงานและเภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน, และวิธีการแก้ไขปัญหาการใช้ยา บทบาทของเภสัชกร 4 ด้าน คือ งานบริการผู้ป่วย, งานเยี่ยมบ้าน, งานบริหารเวชภัณฑ์และงานคุ้มครองผู้บริโภค อุปสรรคของการดูแลผู้ป่วยมีสาเหตุจากข้อจำกัดของการเชื่อมต่อและการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการปฐมภูมิ การปฏิบัติงานของเภสัชกรในหน่วยบริการปฐมภูมิแบบบางเวลาทำให้การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ทำได้จำกัด แต่การเพิ่มพูนความรู้ที่ทันสมัยส่งเสริมให้เภสัชกรสามารถดูแลผู้ป่วยในงานเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและงานคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ไขปัญหาด้านยาและประสบการณ์การทำงานของเภสัชกรนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่ 2 การศึกษาแบบกึ่งทดลองแบบไปข้างหน้าเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,471 คน อย่างต่อเนื่องทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งรับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ ในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของปัญหาการใช้ยา ความดันโลหิตและการยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรโดยแพทย์ รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาการใช้ยา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการใช้ยาทั้งหมด 379 ปัญหา เป็นปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด 164 ปัญหาหลังการบริบาลทางเภสัชกรรมปัญหาการใช้ยาทั้งหมดและปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 32.4 (X2(2)=46.78, p<0.001) และ 61.0 (X2(2)=98.60, p<0.001) ตามลำดับ ค่าความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลงและร้อยละของการยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรโดยแพทย์ เท่ากับ 77.8, 70.3 และ 68.4 ในครั้งที่ 0, 1 และ 2 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา คือ การยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรโดยแพทย์ (rs=0.18, p=0.020) เภสัชกรครอบครัวสามารถลดปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการใช้ยา คือ การทำงานเป็นทีม ซึ่งอาศัยประสบการณ์และทักษะของเภสัชกร ดังนั้น ควรมีการเพิ่มประสบการณ์และทักษะที่เกี่ยวข้องโดยการอบรมระยะสั้นแก่เภสัชกรth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเภสัชกรรมth_TH
dc.subjectPharmaceuticalth_TH
dc.subjectหมอครอบครัวth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectความดันโลหิตสูงth_TH
dc.subjectHypertensionth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectเภสัชกรรมชุมชน, การบริการth_TH
dc.subjectCommunity Pharmacy Servicesth_TH
dc.subjectPharmaciststh_TH
dc.subjectเภสัชกรครอบครัวth_TH
dc.subjectการดูแลผู้ป่วยที่บ้านth_TH
dc.subjectการบริบาลทางเภสัชกรรมth_TH
dc.subjectPharmaceutical Servicesth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectความดันเลือดสูง--การรักษาth_TH
dc.subjectHypertension--Drug Therapyth_TH
dc.titleผลลัพธ์การดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรในคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 6th_TH
dc.title.alternativeOutcomes of Pharmaceutical care in Hypertensive Patients by Pharmacists in Primary Care Cluster: Region Sixth Health Provider Case Studyth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe sequential embedded mixed-method research consisted of two phases. 1) The qualitative phase is aimed to explore the situation, experience, problems, and barriers of the family pharmacists in primary care cluster. Focus group discussion was conducted in 24 pharmacists working in the primary care unit (PCU) distributed in 7 provinces of the health region, in January 2020 and April 2021. Average period of working experience was 5.6±5.0 years, and eight of them were full-time pharmacists working in the PCU. Findings of content analysis comprised three main themes: pharmacist roles; related factors from policies, colleagues, and the pharmacist; and the resolution of common drug-related problems (DRPs). Four roles of pharmacists were health services at the PCU, home health care, pharmaceutical management, and consumer protection. The patients’ care barriers were a limitation of the health information connection and information access from the PCU. Part-time working in the PCU limited the pharmacist’s roles; however, updated medication knowledge promoted the pharmacists for effective home health care with the team. In addition, local organizations also supported in home health care and the consumer protection. Communication skills, solving DRPs skill and working experience led the pharmacists to providing effective resolutions of DRPs. 2) The prospective, longitudinal quasi-experimental study was performed as quantitative phase. Data collection in 1,471 hypertensive patients for continuously three visits at the PCU in 2020. This aims to examine DRPs, blood pressure, and physician acceptance of pharmacists’ resolution change over the study including factors affecting DRPs resolutions. 379 DRPs were identified and the highest DRP was 164 non-adherence problems. Following the pharmaceutical care, all DRPs and non-adherence were significantly decreased by 3 2 .4% (X2(2)=46.78, p<0.001), and 61.0% (X2(2)=98.60, p<0.001), respectively. Blood pressure was unchanged. Physician acceptance of pharmacists’ resolution were 77.8%, 70.3% and 68.4%, at visit 0, 1 and 2 respectively. Factor affecting non-adherence resolution was physician acceptance of pharmacists’ intervention (rs=0.18, p=0.020). The family pharmacists can reduce DRPs in patients with hypertension. The relevant factor of DRPs resolution was teamwork due to working experience and skills of pharmacists. There should then be increasing experience and related skills through short course training for pharmacists.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 ส657ผ 2564
dc.identifier.contactno63-016
dc.subject.keywordคลินิกหมอครอบครัวth_TH
dc.subject.keywordPrimary Care Clusterth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 6th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 6th_TH
.custom.citationสายชล ชำปฏิ, Saichon Schampati, ธีรภัทร์ ฉันทพันธุ์, Theerapat Chantapan, ศรัณยา กล่อมใจขาว, Saranya Klomjaikhao, ใจนุช กาญจนภู, Jainuch Kanchanapoo, นฤมล โพธิ์ศรีทอง, Narumol Phosrithong, ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา, Thanompong Sathienluckana, สุวภาพ เตชะมหามณีรัตน์ and Suwapab Techamahamaneerat. "ผลลัพธ์การดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรในคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 6." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5423">http://hdl.handle.net/11228/5423</a>.
.custom.total_download76
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year26
.custom.downloaded_fiscal_year9

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2713.pdf
ขนาด: 1.700Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย