การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการยอมรับการทำหนังสือแสดงเจตนาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ในผู้สูงอายุไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
dc.contributor.author | จอนผะจง เพ็งจาด | th_TH |
dc.contributor.author | Johnphajong Phengjard | th_TH |
dc.contributor.author | ปานจันทร์ ฐาปนกุลศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Panchan Thapanakulsuk | th_TH |
dc.contributor.author | สุชาดา ทวีสิทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Suchada Thaweesit | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-10-28T07:12:49Z | |
dc.date.available | 2021-10-28T07:12:49Z | |
dc.date.issued | 2564-08 | |
dc.identifier.other | hs2719 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5429 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการยอมรับการทำหนังสือแสดงเจตนาในผู้สูงอายุไทยโดยมีชุมชนเป็นฐาน ดำเนินการศึกษาในตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในระยะที่หนึ่ง ทำการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น จำนวน 880 ราย แบ่งเป็น ผู้สูงอายุ จำนวน 360 ราย สมาชิกครอบครัวของผู้สูงอายุ จำนวน 360 ราย บุคลากรสุขภาพ จำนวน 120 ราย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 20 ราย และผู้นำชุมชน จำนวน 20 ราย อีกทั้งเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 20 ราย และจัดสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 26 คน ข้อมูลที่รวบรวมประกอบด้วย ทัศนคติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้าย ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพยืนยันว่าผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัว ผู้นำหมู่บ้าน และ อสม. มีความรู้และความเข้าใจที่ค่อนข้างจำกัดเกี่ยวกับความหมาย ประโยชน์ การเขียน ตลอดจนการนำหนังสือแสดงเจตนาไปใช้ ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้ ร้อยละ 94 ของกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยผู้สูงอายุ สมาชิกครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ ผู้นำชุมชน และ อสม. ไม่เคยทำหนังสือแสดงเจตนาของตนเองไว้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47.5) คิดอยากทำหนังสือแสดงเจตนา เหตุจูงใจที่ทำให้ผู้สูงอายุอยากทำหนังสือแสดงเจตนา ได้แก่ มีบุคลากรสุขภาพแนะนำ (ร้อยละ 40) อายุมากขึ้น (ร้อยละ 30) และต้องการบอกความต้องการให้ญาติทราบ (ร้อยละ 30) อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้สูงอายุและสมาชิกครอบครัวมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 62) ขอให้แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้ที่ตัดสินใจเลือกการรักษาที่คิดว่าเหมาะสมให้ตนเอง ในขณะเดียวกันเกินครึ่งก็ยังอยากมีส่วนในการตัดสินใจด้วยตนเองเกี่ยวกับการรักษาที่ควรจะได้รับ (ร้อยละ 62) ส่วนในเรื่องระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนา จากคำถามจำนวน 10 ข้อ และคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัว ผู้นำชุมชน บุคลากรทางการแพทย์ และ อสม. มีค่าคะแนนความรู้เฉลี่ย 7.4, 7.5, 7.6, 7.4 และ 3.9 ตามลำดับ ข้อมูลเชิงคุณภาพชี้ว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งมีความเข้าใจผิดว่า หนังสือแสดงเจตนาการรักษาพยาบาลเป็นหนังสือประเภทเดียวกับหนังสือแสดงความยินยอมการรักษาพยาบาล หนังสือบริจาคร่างกายหรืออวัยวะ และพินัยกรรมทรัพย์สิน การประเมินคะแนนความรู้รายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มยังไม่เข้าใจความหมายที่ครอบคลุมของหนังสือแสดงเจตนา โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่เป็น อสม. ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้น้อยที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่อง การระบุความต้องการของตนเอง การระบุตัวบุคคลช่วยตัดสินใจแทนในหนังสือแสดงเจตนาเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้ ไม่ทราบว่าหนังสือแสดงเจตนาจะมีผลในการใช้เมื่อใด ไม่ทราบว่าหนังสือแสดงเจตนาสามารถใช้เป็นการสื่อสารกลางสำหรับแพทย์และผู้ดูแลได้ และการสามารถเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงหนังสือเจตนาได้ นอกจากนั้น ยังพบว่า ส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัว และ อสม. ยังไม่ทราบเกี่ยวกับเวลาที่เหมาะสมในการทำหนังสือแสดงเจตนา ผู้นำชุมชน และ อสม. ยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปฏิเสธการรักษาได้ถ้าไม่ตรงกับความคิดเห็นของแพทย์ งานวิจัยยังพบว่า บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนาไม่ถูกต้องในเรื่องต่อไปนี้ ไม่รู้ว่าหนังสือแสดงเจตนาจะนำมาใช้ยืนยันความต้องการเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ ไม่รู้ว่าหนังสือแสดงแจตนาสามารถเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ และไม่รู้ถึงสิทธิการปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 47, 29, และ 20 ตามลำดับ การดำเนินงานในระยะที่สอง เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานซึ่งส่งเสริมการยอมรับและการทำหนังสือแสดงเจตนา ทีมวิจัยนำผลการวิจัยไปจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อคืนข้อค้นพบจากการวิจัยสู่ชุมชน โดยเชิญผู้นำชุมชน แกนนำ อสม. แกนนำผู้สูงอายุ และบุคลากรทางการแพทย์ มาเข้าร่วมรับฟังสถานการณ์ และจัดทำแผนงาน/แผนกิจกรรมแบบชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับการทำหนังสือแสดงเจตนาในผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปของตำบล จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง และการเขียนหนังสือแสดงเจตนา นำข้อมูลมาสังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมการยอมรับการทำหนังสือแสดงเจตนาในผู้สูงอายุที่ร่วมกันออกแบบกับชุมชน ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายในระดับตำบล โดยจัดอบรมเติมความรู้และทักษะเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาให้แก่ แกนนำชุมชน แกนนำ อสม. แกนนำผู้สูงอายุ แกนนำครอบครัว และบุคลากรสุขภาพทุกระดับ เพื่อนำไปถ่ายทอดแก่กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ 2) การค้นหากลวิธีการส่งเสริมการยอมรับหนังสือแสดงเจตนาแบบชุมชนมีส่วนร่วม ได้แก่ การกำหนดช่องทางเผยแพร่ข้อมูล เช่น อสม. เสนอตั้งไลน์กลุ่มเพื่อสื่อสารเรื่องนี้ในคุ้มบ้านที่ตนรับผิดชอบ เสนอให้เผยแพร่ข้อมูลและความรู้ผ่านเว็ปไซต์ของตำบล ให้ผู้นำชุมชนทำหนังสือแสดงเจตนาเป็นตัวอย่าง จัดอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการเขียนหนังสือแสดงเจตนาให้กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว และการนำเสนอประสบการณ์ของครอบครัวที่มีผู้ใช้หนังสือแสดงเจตนา และ 3) พัฒนาระบบในโรงพยาบาลรองรับการนำหนังสือแสดงเจตนาการรักษาไปใช้ โดยให้สถานบริการปรับระบบรองรับการทำหนังสือแสดงเจตนา นำแนวปฏิบัติการทำและการใช้หนังสือแสดงเจตนาสำหรับดูแลผู้ป่วยระยะท้ายมาปรับใช้ กำหนดผู้รับผิดชอบ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบทบาทหน้าที่ รวมทั้งงานสนับสนุนผู้สูงอายุและครอบครัวในการทำและนำหนังสือแสดงเจตนาไปใช้จริง โครงการนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล โรงพยาบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้ 1) ให้ข้อมูลแก่ประชาชนในระดับชุมชนอย่างรอบด้าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุมีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนาการรักษาในการเจ็บป่วยระยะท้าย โดยใช้กลยุทธ์ที่เข้าถึงง่าย กระชับ เช่น อินโฟกราฟิก วีดิทัศน์สั้นๆ ส่งผ่าน Line application หรือ Facebook fanpage ของตำบล 2) จัดทำคู่มือและแบบฟอร์มการเขียนหนังสือแสดงเจตนาการรักษาที่ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย โดยแจกจ่ายผ่านหน่วยบริการสุขภาพ หน่วยงานบริการประชาชนในท้องถิ่น นำไปขึ้นไว้ในเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นต้น 3) อบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ แกนนำผู้สูงอายุ แกนนำครอบครัว ผู้นำชุมชน อสม. และผู้ให้บริการสุขภาพในระดับท้องถิ่น ให้มีความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนอคติด้านลบของประชาชนที่มีต่อหนังสือแสดงเจตนาการรักษามาเป็นด้านบวก และสามารถถ่ายทอดวิธีการเขียนหนังสือแสดงเจตนาการรักษาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ 4) การอบรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่มบุคคลากรสุขภาพเกี่ยวกับการดูแลโรคเรื้อรัง การดูแลแบบประคับประคอง การวางแผนการรักษาล่วงหน้า การทำและการใช้หนังสือแสดงเจตนา ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับภาคประชาชน 5) กำหนดให้งานส่งเสริมการทำหนังสือแสดงเจตนาในผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลทุกระดับ 6) ให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดทำฐานข้อมูลของผู้ที่มีหนังสือแสดงเจตนาการรักษาในระดับตำบลและส่งข้อมูลกับโรงพยาบาลในพื้นที่ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารความต้องการของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาไปสู่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบุคลากรสุขภาพ และ 7) กระตุ้นให้ผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพให้บริการเรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาการรักษาที่เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วย--การดูแล | th_TH |
dc.subject | การดูแลแบบประคับประคอง | th_TH |
dc.subject | Palliative Care | th_TH |
dc.subject | การดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย | th_TH |
dc.subject | Living Wills | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | Terminal Care--Aged | en_EN |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการยอมรับการทำหนังสือแสดงเจตนาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ในผู้สูงอายุไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน | th_TH |
dc.title.alternative | Development of a community-based model of promoting the living will acceptance among Thai elderly | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research and development project aims to develop a community-based model of promoting an uptake of a living will among the elderly. It was implemented in Prapplachai Sub-district located in Uthong District in Suphanburi province. The project has 2 major phases. The first phase involved a survey of 880 samples including 360 senior population (60+), 360 family members of senior people, 120 healthcare providers, 20 village health volunteers and 20 community leaders. Besides the survey, the research team compiled qualitative data utilizing 20 in-depth interviews with senior people and focus group discussions with 26 participants consisting of the community leaders and village health volunteers. Compiled data include attitudes towards patients in a palliative care stage, knowledge and attitudes about the living will. An analysis of the quantitative data relies on descriptive statistics (mean and percentage), whereas a content analysis is applied to the compiled qualitative data. Both qualitative and quantitative data supported one another. Biases towards living wills were palpable. All groups of the sample had a limited knowledge about the meaning and benefits of living wills. They also have inadequate understanding and ability to write and to utilize the living wills. The survey results show 94 % of the samples comprising the elderly, their family members, healthcare providers, community leaders and village health volunteers have never written their living will. Almost half of the elderly (47.5%) had a thought about writing their living will. Supporting reasons persuading them to write the living will included recommending from healthcare personnel (40%), their increased age (30%), and their desire to tell their needs to the family members (30%). Nevertheless, the survey has revealed that more than a half of the ageing people (62%) expressed their need about having the doctors to choose proper medical treatments for them instead of choosing by themselves. Also, 62 % of them preferred choosing medical treatments together with their doctors. The project assessed the samples’ knowledge about living wills using 10 questions, and each question has 1 score. A comparison of knowledge scores shows that the mean scores among the elderly, family members, community leaders, healthcare staff, and village health volunteers were 7.4, 7.5, 7.6, 7.4 and 3.9 respectively. The qualitative data has unveiled that a certain number of samples confused or misunderstood that the living will is similar to a consent to treatment, a body and organ donation, and a last will. Despite having some knowledge, the studied samples barely understood a comprehensive meaning of the living will. Especially, the village health volunteers had a lowest mean score of the knowledge Items that showed their lack of knowledge were describing one’s needs, choosing a person who will make a decision for oneself, identifying a person who can make a decision in case that you cannot make it by yourself due to health conditions, do not know when the living should be used, do not know that the living will can help doctors and caregivers to communicate an issue about choices of medical treatments for patients, do not know that the living will can be revised or annulled by the owners at any time. Likewise, a majority of aging, their family members and health volunteers were unsure or did not know about a right time to compose their living will. The Community leaders as well as health volunteers did not understand that patients and their family members might refuse medical treatments recommended by the doctors if they did not want to. Also, the study illustrates that healthcare personnel has limited knowledge about the living will in some issues such as they did not know that the living will can be used to reaffirm the patient’s needs regarding the alternative treatments in case the patients could not communicate with other people, that the living will could be cancelled or be revised by the owners at any time, and that the patients have the right to refuse medical treatments. The percentages of healthcare providers who were short of knowledge mentioned above are 47%, 29% and 20 % respectively. The second phase tied up with a model development aiming at increasing an uptake of living wills among the elderly. The research team organized workshops to share research results with the community members and to facilitate drafting a plan for promoting and increasing an uptake of the living wills, especially among the elderly. The elderly peer leaders, family representatives, community leaders, health volunteers and healthcare stuff from the community hospital as well as from the sub-district health promotion hospitals were invited to participate in the workshops. The model comprises 3 key components as the followings. 1) Empowering of all stakeholders: the activities included using a participatory approach to establish a committee mechanism which is responsible for promoting the living will uptake, Providing the training of the trainers (TOT) workshop to equip participants with knowledge and skill in writing the living wills. Participants were the elderly leaders, community leaders, healthcare personnel, and health volunteers. 2) Participatory strategic planning: The committees determined strategic activities to promote an acceptance of living wills. Planned activities were identifying platforms to dissimilate knowledge and information. For example, the village health volunteers proposed setting up a group line to provide Q&A about living wills to community members, distributing information and a living will form on the sub-district official website, disseminating information via village broadcasting station as well as via the community radio program, holding training workshops to help the elderly and their family members to write living wills, and presenting cases that have had an experience writing and using the living wills. 3) Strengthening the hospital system: To work with the community hospital’s director and healthcare stuff in order to integrate tasks about living wills into the services. Moreover, to develop a guideline or instruction for patients and caregivers to ease the writing and utilizing of the living wills. The project recommends the government, local hospitals, and local administrative organizations to 1) promote comprehensive knowledge, understanding, and positive attitudes towards living wills at the community level; 2) create a clear manual and form to help people to become capable of writing their living wills, and disseminating them in a variety of available platforms, such as in hospitals, public service offices, and new social media; 3) train local change agents, such as elderly leaders, family leaders, community leaders, village health volunteers, and local healthcare personnel to have adequate knowledge and ability to transform people’s bias and misapprehension towards living wills, as well as to coach people how to write living wills; 4) developing and strengthening the healthcare staff’s skills about palliative care, care for patients with chronic diseases, advance care plan, and how to write and utilize a living will; 5) integrate promoting living wills among patients and caregivers to be a KPI (key performance index) of hospitals at all level; 6) demand that local administrative organizations build the database of people who have their living wills and share the database with hospitals; 7) encourage community leaders, health volunteers and healthcare providers work together to support a unified service with respect to the utilization of living wills. | th_TH |
dc.identifier.callno | W85.5 จ192ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-035 | |
dc.subject.keyword | หนังสือแสดงเจตนา | th_TH |
dc.subject.keyword | Letter of Intention | en_EN |
dc.subject.keyword | Community Care | en_EN |
.custom.citation | จอนผะจง เพ็งจาด, Johnphajong Phengjard, ปานจันทร์ ฐาปนกุลศักดิ์, Panchan Thapanakulsuk, สุชาดา ทวีสิทธิ์ and Suchada Thaweesit. "การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการยอมรับการทำหนังสือแสดงเจตนาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ในผู้สูงอายุไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5429">http://hdl.handle.net/11228/5429</a>. | |
.custom.total_download | 221 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 33 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 8 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2420]
งานวิจัย