Show simple item record

Study of Contamination and Control of Antibiotic Resistance Bacteria from Hospital and Pig Farm

dc.contributor.authorวิไล เจียมไชยศรีth_TH
dc.contributor.authorWilai Chiemchaisrith_TH
dc.contributor.authorชาติ เจียมไชยศรีth_TH
dc.contributor.authorChart Chiemchaisrith_TH
dc.contributor.authorพิษณุ ตุลยกุลth_TH
dc.contributor.authorPhitsanu Tulayakulth_TH
dc.date.accessioned2021-11-10T04:10:10Z
dc.date.available2021-11-10T04:10:10Z
dc.date.issued2564-10
dc.identifier.otherhs2721
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5431
dc.description.abstractโครงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาการปนเปื้อนและการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทโรงพยาบาลและฟาร์มสุกร โดยการศึกษาในฟาร์มสุกร มีการทำแบบสอบถามและเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมจากฟาร์มสุกร 4 ฟาร์ม ที่ตั้งใกล้แหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี มีผลสรุปสำคัญ ดังนี้ มีการใช้ยาในฟาร์มเพื่อการรักษาโรคและป้องกันอย่างละร้อยละ 50 และมีการผสมยาปฏิชีวนะในอาหารร้อยละ 50 ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อย ได้แก่ Amoxycillin Enrofloxacin และ colistin ร้อยละ 100, 75, 25 ตามลำดับ พบยาปฏิชีวนะตกค้างในน้ำเสียในช่วงหน้าฝน คือ Amoxycillin Florfenicol และ Tiamulin ร้อยละ 54, 14, 13 ตามลำดับ ส่วนฤดูร้อนพบ Oxytetracycline Amoxicillin และ Florfenicol ร้อยละ 59, 20, 11 ตามลำดับ ทั้งนี้ Trimethroprim มีค่าเฉลี่ยในฤดูฝนสูงกว่าในฤดูร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในการศึกษาการดื้อยาจาก E.coli 143 ไอโซเลท พบเชื้อดื้อยาในมูลสุกรร้อยละ 29 และน้ำเสียร้อยละ 36 และน้ำผ่านบำบัดร้อยละ 33 แต่ยาที่พบการดื้อมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Ampicillin Florfenicol Tetracycline และ ESBL 13 ร้อยละ 90, 67, 66, 13 ตามลำดับ ไม่พบการดื้อยา Imipenem ตรวจพบยีนของอีโคไลดื้อยากลุ่ม beta-lactamase มากที่สุด สอดคล้องกับการพบการดื้อยา Ampicillin โดยพบ bla-TEM มากกว่า bla_PSE รองลงมา ได้แก่ Tetracycline (tetA, tetB) และ Aminoglycoside (aadA1, aadA2, aadB) และไม่พบยีน mcr1 ในทุกตัวอย่าง โดยมีโอกาสที่เชื้อจากต่างสถานที่กันจะมีลักษณะของสัณฐานของยีน 1 คู่ ที่เหมือนกันร้อยละ 100 และโอกาสที่ลักษณะสัณฐานของยีนที่เหมือนกันมากกว่าร้อยละ 80 พบว่า มีประมาณร้อยละ 20 การตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียชนิดเอเอสของโรงพยาบาลอภัยภูเบศร พบว่า การบำบัดดัชนีพื้นฐานได้ร้อยละ 68-99 การบำบัดยาปฏิชีวนะได้ร้อยละ 20-100 พบประชากรเชื้อดื้อยาของ E.coli, K. pneumoniae และ A. baumannii ร้อยละ 60-100 ในน้ำเสียและน้ำทิ้งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) สำหรับการศึกษาระบบเยื่อกรองชีวภาพขนาดสาธิตในการบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลโดยไม่มีการระบายตะกอนออกจากระบบเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า การบำบัดดัชนีพื้นฐานได้ร้อยละ 79-100 การบำบัดยาปฏิชีวนะร้อยละ 32-100 และระบบกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้ร้อยละ 100 การตรวจวัดเชื้อดื้อยาของตะกอนจุลินทรีย์ที่กักเก็บในระบบ ผลพบว่า มีจำนวนเชื้อทั้งสามชนิดในตะกอนที่กักเก็บในระบบมีร้อยละของความไวของการดื้อยาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเชื้อ K. pneumoniae และ A. baumannii พบจำนวนเชื้อมากกว่าร้อยละ 80 ที่มีความไวของยาทดสอบจำนวนร้อยละ 75-85 ตรวจพบยีนดื้อยา 106-1010 copies/ml ในน้ำเสีย ซึ่งระบบสามารถบำบัดยีนดื้อยาได้ 1-2 log การใช้คลอรีนและโอโซนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดยีนดื้อยาได้ดีขึ้นเล็กน้อยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแบคทีเรีย--การดื้อยาth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectAntibioticsth_TH
dc.subjectเชื้อดื้อยาth_TH
dc.subjectฟาร์มสุกรth_TH
dc.subjectPig farmsth_TH
dc.subjectน้ำเสียth_TH
dc.subjectน้ำเสีย--การปนเปื้อนth_TH
dc.subjectน้ำเสีย--โรงพยาบาลth_TH
dc.subjectระบบบำบัดน้ำเสียth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectน้ำ--การเจือปนและการตรวจสอบth_TH
dc.subjectSewageen_EN
dc.subjectContaminationen_EN
dc.titleการศึกษาการปนเปื้อนและการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทโรงพยาบาลและฟาร์มสุกรth_TH
dc.title.alternativeStudy of Contamination and Control of Antibiotic Resistance Bacteria from Hospital and Pig Farmth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study had investigated contaminants and control of antimicrobial-resistant microorganisms (AMR) from hospitals and pig farms. In the study of pig farms, the questionnaire survey was conducted at four farms nearby the surface water body in Prachinburi province. It shows that 50% of the farms use antibiotics for disease prevention and treatment, while that 50% mix antibiotics with feed. The commonly used antibiotics are Amoxycillin (100%), Enrofloxacin (50%), and colistin (25%). The residual antibiotics found during the rainy season were Amoxycillin (54%), Florfenicol (14%), and Tiamulin (13%), of which the concentrations were significantly higher than those found during the summer season (P<0.05). The detection of antibiotic resistance among 143 isolates of E. coli, 29% was in pig manure, 36% in wastewater, and 33% in treated water. Nevertheless, the antibiotics that those isolates were found more than 50% resistant against were Ampicillin (90%), Florfenicol (67%), and Tetracycline (66%), 13% of ESBL. None was of Imipenem resistance. The resistant genes of E. coli were found higher for beta-lactamase followed by Tetracycline (tetA, tetB) and Aminoglycoside (aadA1, aadA2, aadB), while no mcr1 gene showed in all samples. The probability that microorganisms having identical genes of 1 pair (100%) and 80% similarity was about 20%. The study of treatment efficacy of activated sludge (AS) wastewater treatment plant of Chao Phraya Abhaibhubejhr hospital revealed 68-69% removals of basic pollutants, and 20-100% removals of 13 types of antibiotics. A similar AMR population (60-100%) to 20 antibiotics of E. coli, K. pneumoniae, and A. baumannii appeared in wastewater and the AS effluent. The study of pilot-scale membrane bioreactor (MBR) operated without excess sludge wastage in hospital wastewater treatment revealed 79-100% removals of basic pollutants and 32-100% removals of antibiotics. The MBR could effectively remove microorganisms (100%). Antimicrobial resistant test in the MBR sludge revealed higher percentages of sensitive colonies, especially those of K. pneumoniae and A. baumannii >80% were sensitive to 75-85% of tested antibiotics. The 1-2 log reduction of antibiotic resistance genes (ARGs) in the influent with 106-1010 copies/ml by the MBR had been achieved. The use of post-chlorination and ozonation slightly improved in removals of ARGs.th_TH
dc.identifier.callnoQV350 ว724ก 2564
dc.identifier.contactno63-050
dc.subject.keywordเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subject.keywordAntibiotic Resistanceth_TH
dc.subject.keywordAntibiotic Resistance Bacteriath_TH
.custom.citationวิไล เจียมไชยศรี, Wilai Chiemchaisri, ชาติ เจียมไชยศรี, Chart Chiemchaisri, พิษณุ ตุลยกุล and Phitsanu Tulayakul. "การศึกษาการปนเปื้อนและการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทโรงพยาบาลและฟาร์มสุกร." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5431">http://hdl.handle.net/11228/5431</a>.
.custom.total_download152
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year26

Fulltext
Icon
Name: hs2721.pdf
Size: 5.376Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record