แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนกรอบความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเพื่อการจัดการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าวและประชากรข้ามชาติ

dc.contributor.authorภมรรัตน์ อัศวเสนาth_TH
dc.contributor.authorPamornrat Asavasenath_TH
dc.date.accessioned2021-11-17T03:01:07Z
dc.date.available2021-11-17T03:01:07Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.otherhs2722
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5432
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทบทวนเนื้อหาสาระของเอกสารกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับอนุภูมิภาคที่มีประเด็นและแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรื่องการย้ายถิ่นฐาน และการดูแลสุขภาพของผู้ย้ายถิ่นฐาน ซึ่งรวมถึงแรงงานและประชากรข้ามชาติ รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศไทยกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นประเทศต้นทางของแรงงานและประชากรข้ามชาติ ซึ่งได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาวและเมียนมา รวมทั้งกลไกการดำเนินงาน การประสานงานและติดตามประเมินผลภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ผลของการศึกษา พบว่า เอกสารกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับโลกและระดับภูมิภาคที่มีเนื้อหาสาระตามขอบเขตที่กำหนด ได้ให้หลักการและแนวปฏิบัติหลักสำหรับการจัดการเรื่องการย้ายถิ่นฐาน และการส่งเสริมสุขภาพของผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีความเชื่อมโยงกัน และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นให้การย้ายถิ่นฐานมีความปลอดภัย มีระเบียบ เป็นปกติและมีความรับผิดชอบ (SDG target 10.7) และเป้าหมายการพัฒนาด้านสุขภาพที่มุ่งหวังให้ทุกคนมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG goal 3) และเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (SDG target 3.8) ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานและการดูแลสุขภาพของแรงงานและประชากรข้ามชาติ หรือใช้เป็นกรอบแนวคิดสำหรับการจัดทำข้อตกลงเพิ่มเติม เพื่อการจัดการกับปัญหาเป็นการเฉพาะกับประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องการย้ายถิ่นฐานร่วมกัน เนื่องจากการจัดการเรื่องสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวไม่สามารถดำเนินการได้เพียงลำพังโดยประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างประเทศต้นทางกับประเทศปลายทางจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น และเนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าวมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ดังนั้น การนำประเด็นเรื่องการจัดการด้านสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในสาขาสาธารณสุขของกรอบความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาคหรือภูมิภาค จะทำให้การจัดการด้านสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากขึ้น และกลายเป็นปัจจัยเชิงบวกของการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของภูมิภาค ในการจัดการด้านสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวและประชากรข้ามชาติให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นและมีหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงนั้น ยังมีสิ่งท้าทายอีกหลายประการ และได้มีข้อเสนอแนะเพื่อการจัดการกับเรื่องนี้ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนานโยบายในระดับประเทศ และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะทวิภาคีและพหุภาคี โดยการพัฒนานโยบายในระดับประเทศ ควรพิจารณาการบูรณาการงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของศูนย์สุขภาพชุมชนแรงงานต่างด้าว ซึ่งดูแลและดำเนินการโดยพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวและอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพสำหรับแรงงานและประชากรต่างด้าว เพื่อลดภาระการให้บริการระดับปฐมภูมิของแพทย์ในโรงพยาบาล และเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานและประชากรต่างด้าวมีส่วนร่วมและมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพของตัวเองและชุมชน สำหรับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศแบบทวิภาคี ควรมีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศต้นทางและประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศปลายทางเพื่อแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการด้านสุขภาพของแรงงานและประชากรข้ามชาติ และในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะพหุภาคีนั้น ประเทศไทยควรเสนอให้เพิ่มประเด็นเรื่องการจัดการสุขภาพของแรงงานและประชากรข้ามชาติให้เป็นส่วนหนึ่งในสาขาสาธารณสุขของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีอยู่แล้ว เช่น ACMECS และ GMS เพื่อระดมความร่วมมือและทรัพยากรในการจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงานและประชากรข้ามชาติที่อาจมีผลกระทบเชิงลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคในภาพรวมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrant Workersth_TH
dc.subjectForeign Workersth_TH
dc.subjectMigration Policyth_TH
dc.subjectInternational Migrationth_TH
dc.subjectนโยบายแรงงานระหว่างประเทศth_TH
dc.subjectความร่วมมือระหว่างประเทศth_TH
dc.subjectการย้ายถิ่นและแรงงานth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการย้ายถิ่นของแรงงานth_TH
dc.subjectMigration--Asiath_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าว--แง่อนามัยth_TH
dc.subjectMigrant Labor--Health and Hygieneth_TH
dc.subjectอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงth_TH
dc.titleการทบทวนกรอบความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเพื่อการจัดการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าวและประชากรข้ามชาติth_TH
dc.title.alternativeThe Review of International Cooperation Frameworks on Health Management for Migrants and Cross-national Populationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study is a documentary research and aimed to study and review the contents of international cooperation frameworks at global, regional and national levels concerning issues on migration management and health care provision for migrant workers and cross-national populations and health collaboration frameworks between Thailand and Mekong sub-region countries, especially Cambodia, Lao PDR and Myanmar as well as mechanisms for implementation, coordination, monitoring and evaluation of the international cooperation frameworks. Results of the study revealed that global and regional international cooperation frameworks, with selected criteria mentioned above, have provided concepts and guiding principles for migration management and promotion of migrant and refugee health, which are harmoniously interlinked and aimed to realize the sustainable development goals (SDGs) that facilitate orderly, safe, regular and responsible migration and mobility of people (SDG target 10.7) and ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages (SDG goal 3) including achieve universal health coverage (SDG target 3.8). The concepts and guiding principles can be applied by member countries as guidelines for dealing with problems and issues related to migrant workers and cross-national populations or can be used as conceptual frameworks for developing additional agreements to address the issues with countries of mutual interests. Since health management for migrant workers cannot be carried out alone by one country, collaboration and cooperation among the countries of origin or the sending countries and countries of destination or receiving countries are required. As movement of migrant workers can provide both positive and negative impacts on the economic development of countries and the region, integration of migrant health management as a public health issue of international cooperation in existing regional economic cooperation frameworks, such as ACMECS and GMS will help mobilize resources and efforts from member countries to address this issue in more effective and concrete ways, thus, makes the migration to be a positive impact for the overall economic development of the member countries and the region. Recommendations for better dealing with the challenges on provision of health services for migrants and cross-border population have been emphasized on the development of health and health-related policies to solve the obstacles at national level, such as to integrate primary care services or community-based health care provided at migrant community health centers with support and assistance of migrant health workers and migrant health volunteers to be a part of existing universal health insurance system for migrant workers and cross-border population, and the development of bilateral and multilateral international cooperation to mobilize efforts and collaboration in order to reduce negative impacts to the overall economic and social development of the region.th_TH
dc.identifier.callnoHB886 ภ162ก 2564
dc.identifier.contactno64-020
dc.subject.keywordประชากรข้ามชาติth_TH
dc.subject.keywordกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศth_TH
dc.subject.keywordการย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศth_TH
dc.subject.keywordInternational Collaboration Frameworkth_TH
dc.subject.keywordCross-National Populationth_TH
dc.subject.keywordMigration Managementth_TH
.custom.citationภมรรัตน์ อัศวเสนา and Pamornrat Asavasena. "การทบทวนกรอบความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเพื่อการจัดการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าวและประชากรข้ามชาติ." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5432">http://hdl.handle.net/11228/5432</a>.
.custom.total_download75
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year20
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2722.pdf
ขนาด: 2.367Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย