Show simple item record

Situation and guidance of migrant friendly services in Thailand

dc.contributor.authorจิราลักษณ์ นนทารักษ์th_TH
dc.contributor.authorJiraluck Nontarakth_TH
dc.contributor.authorอาณัติ วรรณศรีth_TH
dc.contributor.authorArnat Wannasrith_TH
dc.contributor.authorอังสุมาลี ผลภาคth_TH
dc.contributor.authorAungsumalee Pholparkth_TH
dc.contributor.authorสุรสักย์ ธไนศวรรยางกูรth_TH
dc.contributor.authorSurasak Thanaisawanyangkoonth_TH
dc.contributor.authorบุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณth_TH
dc.contributor.authorBoonyawee Aueasiriwonth_TH
dc.contributor.authorปิยะฉัตร สมทรงth_TH
dc.contributor.authorPiyachat Somsongth_TH
dc.date.accessioned2021-11-29T07:31:15Z
dc.date.available2021-11-29T07:31:15Z
dc.date.issued2562-09
dc.identifier.otherhs2726
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5437
dc.description.abstractการให้บริการที่เป็นมิตรกับคนต่างด้าว เป็นระบบที่สำคัญในการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและสร้างความเท่าเทียมในการรับบริการของคนต่างด้าว การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับคนต่างด้าวมีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนหลายประเด็นทั้งทางด้านกฎหมายในกลุ่มที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและกลุ่มผู้ติดตาม เป็นข้อถกเถียงกันตั้งแต่เริ่มมีโครงการหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว ประเด็นที่สำคัญเพื่อการจัดบริการสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวในการค้นหาปัญหาและจัดทำแนวทางเพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ 1) การบริหารจัดการในโรงพยาบาลเพื่อรองรับการให้บริการกับกลุ่มคนต่างด้าว (Management) 2) ความยั่งยืนของระบบการเงินการคลัง (Financing) 3) กำลังคนสุขภาพ (Human resources) และ 4) การจัดบริการทางสุขภาพที่เชื่อมโยงข้อมูลทั้งในและนอกโรงพยาบาล (Health information and management) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตร เพื่อรองรับจำนวนคนไข้ที่จะเพิ่มขึ้น ด้วยมุ่งหวังว่าผลการศึกษานี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบบริการที่เป็นมิตรกับคนต่างด้าวและสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สามารถนำมาปรับใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าว ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้บริการสุขภาพของคนต่างด้าวในสถานบริการสาธารณสุข 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการระบบบริการที่เป็นมิตรที่เหมาะสม (Practical Guideline) ในประเด็นการจัดระบบบริการสุขภาพ การบริหารด้านการเงินการคลังและความร่วมมือจากเครือข่ายของการบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาล และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดระบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ประกอบด้วย การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพดำเนินการควบคู่กันไป โดยเมื่อสิ้นสุดการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเสร็จ จะมีกระบวนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและกลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการที่เป็นมิตรในโรงพยาบาล และนำข้อมูลที่ได้จากเวทีแลกเปลี่ยนมาสังเคราะห์และสรุปเป็นรูปแบบและแนวทางการจัดบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าว (Practical Guideline) ผลการศึกษาพบว่า การใช้บริการผู้ป่วยนอกของคนต่างด้าวส่วนใหญ่ คือ คลินิกฝากครรภ์/คลอด การทำแผลและรักษาโรคความดันโลหิตสูง และการใช้บริการผู้ป่วยในของคนต่างด้าว คือ การคลอด กระเพาะและลำไส้อักเสบ ดังนั้น โรงพยาบาลที่มีจำนวนคนต่างด้าวมาใช้บริการสุขภาพจำนวนมาก ได้มีนโยบายในการแยกคลินิกฝากครรภ์และคลอดออกจากกลุ่มผู้ใช้บริการคนไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนต่างด้าวและง่ายต่อการบริหารจัดการสำหรับโรงพยาบาล ซึ่งสอดคล้องกับหลักการให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวและมีการจัดหาล่ามแปลภาษาและสื่อสารภาษาต่างประเทศเพื่อบริการสำหรับคนต่างด้าว จากข้อมูลการใช้บริการสาธารณสุขของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562 พบว่า อัตราการใช้บริการของคนต่างด้าวในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีหลักประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวทำให้การเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มขึ้น ลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งการมีหลักประกันสุขภาพเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อการลดช่องว่างของการเข้าถึงบริการตามหลักการให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคนต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrant Workersth_TH
dc.subjectForeign Workersth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectคนต่างด้าว--แง่อนามัยth_TH
dc.subjectคนต่างด้าว--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์และรูปแบบระบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeSituation and guidance of migrant friendly services in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoHB886 จ539ก 2562
dc.identifier.contactno62-065
dc.identifier.contactno62-066
dc.subject.keywordประชากรข้ามชาติth_TH
dc.subject.keywordFriendly Careen_EN
.custom.citationจิราลักษณ์ นนทารักษ์, Jiraluck Nontarak, อาณัติ วรรณศรี, Arnat Wannasri, อังสุมาลี ผลภาค, Aungsumalee Pholpark, สุรสักย์ ธไนศวรรยางกูร, Surasak Thanaisawanyangkoon, บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ, Boonyawee Aueasiriwon, ปิยะฉัตร สมทรง and Piyachat Somsong. "การศึกษาสถานการณ์และรูปแบบระบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5437">http://hdl.handle.net/11228/5437</a>.
.custom.total_download86
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year25

Fulltext
Icon
Name: hs2726.pdf
Size: 1.526Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record