Show simple item record

Applying Collaborative Quality Improvement Method in Prevention of Lost to follow-up among Newly Diagnosed Pulmonary Tuberculosis Patients

dc.contributor.authorอะเคื้อ อุณหเลขกะth_TH
dc.contributor.authorAkeau Unahalekhakath_TH
dc.date.accessioned2021-12-14T07:46:19Z
dc.date.available2021-12-14T07:46:19Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.otherhs2729
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5440
dc.description.abstractโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการปฏิบัติงานของบุคลากรและบริบทของโรงพยาบาล การดำเนินการประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือ (collaborative quality improvement) ของสถาบันพัฒนาบริการสุขภาพ (The Institute for Healthcare Improvement [IHI]) ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยการดำเนินงาน 8 ขั้นตอน คือ 1) การเลือกประเด็นที่จะพัฒนา 2) การเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมในการพัฒนา 3) การรับสมัครหน่วยงานที่ต้องการร่วมพัฒนาและจัดตั้งทีม 4) การจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การดำเนินการพัฒนา 6) การประเมินการเปลี่ยนแปลง 7) การวัดและการประเมินผล และ 8) การสรุปผลการดำเนินงานและการเผยแพร่ ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 1 ปี โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจากทุกภาคของประเทศ จำนวน 17 แห่ง บุคลากรของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 83 คน ประกอบด้วย แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยวัณโรค 10 คน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่คลินิกวัณโรค 29 คน เภสัชกรผู้รับผิดชอบโดยตรงในการจ่ายยารักษาผู้ป่วยวัณโรค 16 คน นักสังคมสงเคราะห์ 12 คน พยาบาลควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาล 9 คน นักวิชาการสาธารณสุข 5 คน และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 คน การดำเนินงานโครงการประกอบด้วยการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ รวม 3 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักและวิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือ แนวทางการประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการค้นหาวิธีการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ นำเสนอสาเหตุการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคจากข้อมูลที่ได้รับจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคจากการทบทวนวรรณกรรมและผลการวิจัย ประชุมระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อร่วมกันสรุปสาเหตุสำคัญของการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พบในโรงพยาบาลในแต่ละภูมิภาค ทบทวนปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขาดยารักษาวัณโรคของผู้ป่วย ร่วมกันค้นหาวิธีการที่เป็นรูปธรรมในการแก้สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคขาดยาที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบโครงการนำข้อสรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการและการทบทวนตำรา เอกสารงานวิจัยและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ไปจัดทำแนวทางการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ผลการดำเนินโครงการได้ “แนวทางการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่” ซึ่งเนื้อหาได้จากการระดมความคิดเห็นของบุคลากรของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 บท คือ บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคสำหรับบุคลากรการแพทย์ มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เชื้อวัณโรค การแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค การติดเชื้อวัณโรคแฝงและการป่วยเป็นวัณโรค ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคด้านผู้ป่วย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากรและปัจจัยทางสังคม ยาต้านวัณโรค อาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านวัณโรค ข้อควรระวังในการใช้ยาต้านวัณโรค การเก็บยาต้านวัณโรค การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านวัณโรค การดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาวัณโรค การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และการให้คำปรึกษา บทที่ 2 คำแนะนำในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ การรับประทานยา การมาตรวจตามนัด การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค การดูแลสุขภาพทั่วไปและการดูแลด้านโภชนาการ และบทที่ 3 แนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เพื่อป้องกันการขาดยา ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรค การสร้างความตระหนักในการรักษาอย่างต่อเนื่อง การให้กำลังใจและการเสริมแรง และการจัดการความเครียด สิทธิการรักษา การติดตามและการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค การสร้างภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ แหล่งประโยชน์ ทั้งเครือข่ายภายในโรงพยาบาลและเครือข่ายภายนอกโรงพยาบาลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรคปอดth_TH
dc.subjectPulmonary Tuberculosisth_TH
dc.subjectวัณโรคth_TH
dc.subjectTuberculosisth_TH
dc.subjectวัณโรค--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectTuberculosis--Patientsth_TH
dc.subjectยารักษาวัณโรคth_TH
dc.subjectTuberculosis--Drug Therapyth_TH
dc.subjectวัณโรค--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectTuberculosis--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่th_TH
dc.title.alternativeApplying Collaborative Quality Improvement Method in Prevention of Lost to follow-up among Newly Diagnosed Pulmonary Tuberculosis Patientsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research and development project aimed to develop a guideline for implementation in the prevention of loss to follow up among newly diagnosed pulmonary tuberculosis patients which are appropriate for each TB patient target group characteristic and practices of hospital personnel and hospital context. The project methodology applied collaborative quality improvement concepts of The Institute for Healthcare Improvement (IHI), the USA which consisted of 8 steps including 1) selecting the topic to be improved 2) inviting the experts to participate 3) inviting organizations to participate and establish a team 4) knowledge sharing 5) implement improvement 6) evaluate changes 7) assess and evaluate and 8) conclude outcome and distribution. The duration of the project was one year. Participating hospitals consisted of 17 Regional and General hospitals under the Ministry of Public Health. Hospital personnel who participated in the project consisted of 83 personnel including 10 physicians, 29 registered nurses from TB clinic, 16 pharmacists, 12 social workers, 9 infection control nurses, 5 public health officers, and 2 community health officers. Three face-to-face workshops were conducted for the participating personnel to spread knowledge on concepts and methods of collaborative quality improvement, applying collaborative quality improvement in determining preventive measures to prevent loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary TB patients, to present causes of loss to follow up from data of participating hospitals. The experts gave information on preventive measures to prevent loss to follow up from literature reviews. Brainstorming, opinion and experience sharing, and reviewing problems and factors related to loss to follow-up sessions were conducted to conclude causes of loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary TB patients of hospitals in each region, determine concrete and appropriate measures for solving each important cause of loss to follow-up according to patients’ characteristics, practical, and sustainable for implementation. Project responsible personnel developed a guideline for prevention of loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary TB patients using the conclusions from the project workshops and literature reviewed. The outcome of the project was a “Guideline for prevention of loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary tuberculosis patients”, which consisted of 3 parts: Chapter 1) Knowledge on Tuberculosis for hospital personnel which included TB pathogen, mode of transmission of TB, risks of TB infection, latent tuberculous infection and TB, factors affecting TB treatment and prevention of TB transmission by patients, environment, personnel and social, TB drug, side effects and caution in TB drug treatment, storage of TB drug, surveillance of side effects of TB drug, caring for patients with side effects of TB drug, education of newly diagnosed pulmonary TB patients, and counseling. Chapter 2) Self- care recommendation for TB patients which included details on TB drug administration, follow-up, prevention of TB transmission, general health care, and nutrition. and Chapter 3) Guideline for caring of newly diagnosed pulmonary TB patients to prevent loss to follow-up consisted of patient preparedness, TB patient education, creating awareness for continuous treatment, encouragement, empowerment, stress management, right to treatment, follow-up and referral system, networking, collaboration and resources both inside and outside hospitals.th_TH
dc.identifier.callnoWF360 อ584ก 2564
dc.identifier.contactno62-037
dc.subject.keywordการป้องกันการขาดยาth_TH
dc.subject.keywordLost to Follow-upth_TH
.custom.citationอะเคื้อ อุณหเลขกะ and Akeau Unahalekhaka. "การประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5440">http://hdl.handle.net/11228/5440</a>.
.custom.total_download149
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year68
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs2729.pdf
Size: 3.232Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record