Show simple item record

The study of situations and recommendations on health service system for vulnerable populations during the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) outbreak in Thailand

dc.contributor.authorศรวณีย์ อวนศรีth_TH
dc.contributor.authorSonvanee Uansrith_TH
dc.contributor.authorสตพร จุลชูth_TH
dc.contributor.authorSataporn Julchooth_TH
dc.contributor.authorวาทินี คุณเผือกth_TH
dc.contributor.authorWatinee Kunpeukth_TH
dc.contributor.authorมธุดารา ไพยารมณ์th_TH
dc.contributor.authorMathudara Phaiyaromth_TH
dc.contributor.authorพิกุลแก้ว ศรีนามth_TH
dc.contributor.authorPigunkaew Sinamth_TH
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimatth_TH
dc.date.accessioned2021-12-17T03:19:08Z
dc.date.available2021-12-17T03:19:08Z
dc.date.issued2564-10
dc.identifier.otherhs2732
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5442
dc.description.abstractสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชากรทุกกลุ่มโดยเฉพาะประชากรกลุ่มเฉพาะ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพมากกว่าประชากรทั่วไปและมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำกัด ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีการจัดระบบประกันสุขภาพให้กับประชากรทุกกลุ่ม ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวรวมถึงผู้ติดตาม (กลุ่มคนต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าวรวมถึงผู้ติดตาม) แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากรบนผืนแผ่นดินไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะในกรณีที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสถานการณ์การเข้ารับบริการสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะในประเทศไทยในกรณีที่มีการระบาดของโควิด-19 ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิในฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 – มิถุนายน 2564 2) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ และ 3) การพัฒนาข้อเสนอในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะในกรณีที่มีการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและอภิปรายกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ประชากรกลุ่มเฉพาะเข้าไม่ถึงบริการ โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (purposive sampling) และการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมจากคำแนะนำของผู้ให้สัมภาษณ์ (snowball sampling) ประกอบด้วย ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร/หน่วยงานที่มีภารกิจ บทบาทที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการดูแลผู้ป่วยประชากรกลุ่มเฉพาะ และผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการดูแลผู้ป่วยประชากรกลุ่มเฉพาะ รวมถึงตัวแทนผู้ป่วยประชากรกลุ่มเฉพาะ รวมจำนวนทั้งสิ้น 39 ราย ผลการศึกษาการเข้ารับบริการสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะในประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 - มิถุนายน พ.ศ. 2564 พบว่า มีจำนวนประชากรกลุ่มเฉพาะที่ได้เข้ารับบริการตรวจคัดกรองโควิด-19 รวมทุกสิทธิการรักษาทั้งหมด 1,154,355 ครั้ง เมื่อพิจารณาเฉพาะสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่า มีจำนวนประชากรกลุ่มเฉพาะที่ได้รับการตรวจคัดกรองทั้งหมด 939,444 ครั้ง การตรวจวินิจฉัยผลเป็นบวกและได้เข้ารับการรักษาทั้งหมด 9,228 ครั้ง และเสียชีวิตทั้งหมด 216 ราย เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมจากการระบาดของโรคดังกล่าวในช่วงเวลาเดียวกันในภาพรวมของประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยผลเป็นบวกหรือผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 259,301 ราย ผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั้งสิ้น 2,023 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชากรกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 สูงเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectVulnerable Populationsth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectHealth Insuranceth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe study of situations and recommendations on health service system for vulnerable populations during the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) outbreak in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe outbreak of Coronavirus disease 2019 (COVID-19) has a massive impact on health and well-being in all populations especially the vulnerable populations. Due to their vulnerability and limited opportunity to access health services, vulnerable populations have a greater health risk compared with other populations. Despite existing universal health insurance for all populations in Thailand including Universal Health Coverage Scheme (UCS), Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS), Social Security Scheme (SSS), and Health Insurance Card Scheme (HICS) for migrant workers and their dependents, there remain some uninsured populations. Therefore, this study aimed to provide policy recommendations to improve the health systems for vulnerable populations in Thailand during the COVID-19 pandemic. Both quantitative and qualitative studies were performed. Firstly, the situation of access to health services among vulnerable populations in Thailand during COVID-19 was studied by using the hospital service records of the Ministry of Public Health (MOPH) (43 folders), a secondary data, from National Health Security Office (NHSO) from January 2020 to June 2021. Secondly, document review regarding access to health services for vulnerable population. s. Lastly, in-depth interviews and focus group discussions on relevant stakeholders were performed to develop recommendations for improving health services for vulnerable populations. In this regard, a total of 39 participants including policymakers, staff responsible for taking care of vulnerable populations, and vulnerable populations were selected by purposive sampling and snowball sampling. The findings demonstrated that vulnerable populations the COVID-19 screening test utilised by vulnerable populations accounted for approximately 1,154,355 records (included all insurance schemes) during January 2020 – June 2021. Focused only on the UCS, there were COVID-19 screening tests in total 939,444 times. The number of visits of vulnerable people receiving COVID-19 tests and treatment in both outpatient (OP) and inpatient (IP) care was about 9,288. The number of deaths of vulnerable populations due to COVID-19 was 216.th_TH
dc.identifier.callnoHB886 ศ148ก 2564
dc.identifier.contactno64-166
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเฉพาะth_TH
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเปราะบางth_TH
.custom.citationศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, สตพร จุลชู, Sataporn Julchoo, วาทินี คุณเผือก, Watinee Kunpeuk, มธุดารา ไพยารมณ์, Mathudara Phaiyarom, พิกุลแก้ว ศรีนาม, Pigunkaew Sinam, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ and Rapeepong Suphanchaimat. "การศึกษาสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5442">http://hdl.handle.net/11228/5442</a>.
.custom.total_download105
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2732.pdf
Size: 832.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record