แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง บทเรียนจากระบาดของโควิด-19

dc.contributor.authorดาราวรรณ รองเมืองth_TH
dc.contributor.authorDaravan Rongmuangth_TH
dc.contributor.authorอินทิรา สุขรุ่งเรืองth_TH
dc.contributor.authorIntira Sukrungreungth_TH
dc.contributor.authorสราพร มัทยาทth_TH
dc.contributor.authorSaraporn Mattayartth_TH
dc.contributor.authorอติญาณ์ ศรเกษตรินth_TH
dc.contributor.authorAtiya Sarakshetrinth_TH
dc.contributor.authorสุทธานันท์ กัลกะth_TH
dc.contributor.authorSuthanan Kunlakath_TH
dc.contributor.authorภัทรพงศ์ อุดมพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorPatpong Udompatth_TH
dc.contributor.authorพีระเดช สำรวมรัมย์th_TH
dc.contributor.authorPheeradetch Samroumramth_TH
dc.contributor.authorเบญจพร รัชตารมย์th_TH
dc.contributor.authorBenjaporn Rajataramth_TH
dc.contributor.authorอนันต์ กนกศิลป์th_TH
dc.contributor.authorAnant Kanoksilpth_TH
dc.date.accessioned2021-12-17T03:29:35Z
dc.date.available2021-12-17T03:29:35Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.otherhs2731
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5443
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการให้บริการแพทย์ทางไกล และระบบการจัดการยาสำหรับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 2) พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อประเมินสภาพผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องระยะไกล โดยอาศัยบทเรียนจากการระบาดของโควิด-19 และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ อายุรแพทย์โรคไต เภสัชกร พยาบาลเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการณ์ ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ที่ประกอบด้วย 1) ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 2) ระบบการจัดการยาสำหรับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง และ 3) แอปพลิเคชันเพื่อประเมินสภาพผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องระยะไกล แบบประเมินความเป็นไปได้ในการใช้ระบบแพทย์ทางไกล แบบบันทึกต้นทุนในการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง แบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพต่อการใช้ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการใช้ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความชัดเจน ความเหมาะสมของภาษาและความครอบคลุมของเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ Wilcoxon signed-rank test และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการณ์ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ได้แก่ 1) ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความยากลำบากในการเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามนัด กลัวการติดเชื้อโรคโควิด-19 จากการมาโรงพยาบาล ปัญหาการรับยาต่อเนื่องทั้งยาที่ใช้รักษาโรคไตเรื้อรังและโรคร่วม และข้อจำกัดในการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการประเมินและการดูแลอย่างต่อเนื่อง 2) ผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพ ให้ข้อเสนอแนะว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 ควรมีการปรับรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ทั้งการรักษาและการเยี่ยมบ้านผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้มือถือและไลน์แอปพลิเคชัน มีการให้ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดูแลสุขภาพที่ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับผู้ป่วยและญาติ มีระบบการจัดการยาที่เอื้อต่อผู้ป่วยและญาติ ลดการเดินทาง ทำให้ลดโอกาสการสัมผัสเชื้อโรคโควิด-19 และ 3) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาและการดูแลตนเองของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 สามารถดำเนินการผ่านไลน์แอปพลิเคชัน หรือแอปพลิเคชันที่สามารถโหลดมาไว้บนโทรศัพท์มือถือได้ และสามารถสื่อสารกับแพทย์หรือพยาบาลเมื่อพบปัญหา หรืออาการผิดปกติได้ทันที ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าต้นทุนทางการแพทย์และการพยาบาลในการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโดยใช้ระบบแพทย์ทางไกลและระยะเวลาให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์จะสูงกว่าการดูแลตามปกติ แต่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการ ระยะเวลาเดินทางและระยะเวลามารอรับบริการของผู้ป่วยและผู้ดูแลลดลง ทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบแพทย์ทางไกลในระดับมาก ดังนั้นสถานบริการอาจนำระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปขยายผลในการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นๆ ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคไตth_TH
dc.subjectKidneysth_TH
dc.subjectการล้างไตth_TH
dc.subjectDialysisth_TH
dc.subjectผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องth_TH
dc.subjectPeritoneal Dialysisth_TH
dc.subjectTelemedicineth_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectMobile Applicationth_TH
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง บทเรียนจากระบาดของโควิด-19th_TH
dc.title.alternativeThe Development of Telemedicine for Caring Patients undergoing Peritoneal Dialysis Lesson Learned from the COVID-19 Pandemicth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this mixed-method study was to 1) develop a model of telemedicine and medication management system for peritoneal dialysis patients 2) develop an application for remote assessment of peritoneal dialysis patients using lessons learned from the COVID 19 pandemic and 3) examine the effectiveness of a model of telemedicine for peritoneal dialysis patients. The sample was composed of nephrologists, pharmacists, peritoneal dialysis nurses, and peritoneal dialysis patients and caregivers. Purposive sampling was used to select the participants. The study was composed of 3 phases: phase 1 situation analysis; phase 2 design and development of a model of telemedicine for peritoneal dialysis patients; and phase 3 examines the effectiveness of a model of telemedicine for peritoneal dialysis patients. The research instruments were a semi-structured interview guide and a model of telemedicine for peritoneal dialysis patients, including 1) telemedicine for peritoneal dialysis patients 2) medication management system for peritoneal dialysis patients and 3) application for remote assessment of peritoneal dialysis patients; feasibility of telemedicine in peritoneal dialysis patients' questionnaire; cost record form; satisfaction of multidisciplinary team in peritoneal dialysis patients' questionnaire; and satisfaction of peritoneal patients' and caregivers' questionnaire. All the questionnaires were developed and validated by five experts. The qualitative data was analyzed using content analysis. The quantitative data was analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, median, interquartile rank, Wilcoxon signed-rank test, and Paired t-test. The results of this study revealed that: 1. The results of the situation analysis study showed that 1) patients and their caregivers have difficulty getting to the hospital as scheduled and have a fear of contracting COVID 19 from hospital visits. The problems with the continuity of taking medication for both chronic kidney disease and comorbidities. Furthermore, there is a limit of home visits during COVID 19 situation 2) patients and multidisciplinary teams suggested that during COVID 19, the methods of care in peritoneal dialysis patients, including treatment and home visits, be adjusted by phone and through online platforms such as line application. Providing peritoneal dialysis patients and caregivers with the knowledge they require for health care. Developing a friendly medication management system for peritoneal dialysis patients and caregivers to decrease travel time and the opportunity to contract COVID 19 and 3) giving information about treatment and self-care of peritoneal dialysis patients during a COVID 19 crisis situation through a line application or other that can be downloaded to a mobile phone and used to communicate with the doctor and nurse when abnormal symptoms and problems are discovered immediately. The results from this study indicated that although the cost of medical and nursing care and the time of health care service spent on telemedicine was higher than those of normal service. Patients and caregivers, on the other hand, paid less for travel to the hospital, spent less time getting to the hospital, and waited less time in the hospital than those in regular service. Furthermore, the multidisciplinary team, patients, and caregivers were satisfied with the telemedicine. As a result, the health-care system may apply the findings of this study to other chronic conditions.th_TH
dc.identifier.callnoWJ340 ด426ก 2564
dc.identifier.contactno63-172
dc.subject.keywordระบบแพทย์ทางไกลth_TH
.custom.citationดาราวรรณ รองเมือง, Daravan Rongmuang, อินทิรา สุขรุ่งเรือง, Intira Sukrungreung, สราพร มัทยาท, Saraporn Mattayart, อติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, สุทธานันท์ กัลกะ, Suthanan Kunlaka, ภัทรพงศ์ อุดมพัฒน์, Patpong Udompat, พีระเดช สำรวมรัมย์, Pheeradetch Samroumram, เบญจพร รัชตารมย์, Benjaporn Rajataram, อนันต์ กนกศิลป์ and Anant Kanoksilp. "การพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง บทเรียนจากระบาดของโควิด-19." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5443">http://hdl.handle.net/11228/5443</a>.
.custom.total_download439
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year49
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2731.pdf
ขนาด: 7.125Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย