• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินผลเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) โครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

พยอม สุขเอนกนันท์ โอล์สัน; Phayom Sookaneknun Olson; พีรยา ศรีผ่อง; Peeraya Sriphong; จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์; Juntip Kanjanasilp; สายทิพย์ สุทธิรักษา; Saithip Suttiruksa; ธีระพงษ์ ศรีศิลป์; Theerapong Seesin; เปมรินทร์ โพธิสาราช; Pemmarin Potisarach; เพียงขวัญ ศรีมงคล; Piangkwan Srimongkhol; ปะการัง ศรีวะสุทธิ์; Pakarung Sriwasut; นันทนิจ มีสวัสดิ์; Nanthanich Meesawat; ธีระวุฒิ มีชำนาญ; Theerawut Meechumnan; ระพิตราภรณ์ พิพัฒนมงคล; Rapitraporn Pipattanamongkon;
วันที่: 2564-01-12
บทคัดย่อ
การประเมินผลเชิงพัฒนา (developmental evaluation) เป็นวิธีการประเมินที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้วิจัยและผู้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการดำเนินงานให้สามารถไปถึงเป้าหมายได้ โดยวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการในครั้งนี้คือ เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงานโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยา รวมทั้งระบุความเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินงานและหาแนวทางในการจัดการความเสี่ยงเพื่อการพัฒนาโครงการโดยรูปแบบงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยเลือกผู้บริหารโครงการ ผู้ดำเนินโครงการและผู้ป่วย จากนั้นใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งทางโทรศัพท์และแบบตัวต่อตัว โดยมีบันทึกเสียงและแกะเทปแบบคำต่อคำ เครื่องมือในการสัมภาษณ์นี้พัฒนามาจากกรอบแนวคิด CIPP เพื่อการประเมินผลโครงการ เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงปรับปรุงจากเกณฑ์การควบคุมความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยมหาสารคามและแนวทางการจัดกิจกรรมกลุ่ม ORID method การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แนวคิดหลักและแนวคิดรอง ตามกรอบ CIPP ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน มิถุนายน – ธันวาคม 2563 ผลการดำเนินโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ได้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วมกับพื้นที่ จำนวน 3 ครั้ง การจัดกิจกรรมกลุ่มกับเภสัชกร พบว่า โครงการนี้เปิดบทบาทวิชาชีพ การได้รับการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น เภสัชกรได้ทำงานประสานในพื้นที่รู้จักกันมากขึ้น ยินดีและพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่และเห็นความยั่งยืนของโครงการนี้ การระบุความเสี่ยงจากปัจจัยตามกรอบการวิเคราะห์ CIPP พบว่าความเสี่ยงในระดับสูงมากมี 3 ประเด็นคือ ประเด็น 1) ความแออัดในโรงพยาบาล 2) การติดตามประเมินผล และ 3) ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จำนวนผู้เข้ารับบริการที่ร้านยา ระดับความเสี่ยงในระดับสูง ประกอบด้วย 8 ประเด็น ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือก 2) การตอบสนองนโยบายของกระทรวง 3) การสนับสนุนด้านคน 4) การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ 5) การสนับสนุนด้านงบประมาณ 6) กระบวนการคัดเลือกผู้ป่วย 7) การยอมรับระหว่างวิชาชีพ และ 8) ผลลัพธ์ทางคลินิก การวางแผนการควบคุมและติดตามความเสี่ยง ครอบคลุมการประสานงานตัวชี้วัดในระดับผู้ปฏิบัติงานในคลินิก การปรับเรื่องนโยบายการสนับสนุน การขยายจำนวนโรคเพื่อคัดเลือกคนไข้มากขึ้น กำหนดวาระการนำเสนอปัญหาอุปสรรคให้กับผู้ตรวจปีละ 2 ครั้ง การเริ่มปรับโมเดลเป็นโมเดล 3 เพื่อการลดภาระงานในโรงพยาบาลมากขึ้นและการ feedback คุณภาพการให้บริการของร้านยาต่อแพทย์ผู้รักษา
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2742.pdf
ขนาด: 1.695Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 12
ปีพุทธศักราชนี้: 5
รวมทั้งหมด: 113
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ และแบบจำลองการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนด้านสุขภาพ 

    ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย; Theepakorn Jithitikulchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-06)
    โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) พื้นที่การคลังสาธารณสุข: ประมาณการช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (Fiscal Space) ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบสาธารณสุข และ 2) การจัดสรรบุคลากร: ศึกษาช่องว่างอุปส ...
  • ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สมาคมนักระบาดวิทยาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสาธารณสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

    ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-11)
    การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สมาคมรักระบาดวิทยาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสาธารณสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน (The 14th SEA Regional Scientific Meeting of the International Epidemiological Association and International ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV