แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

วัณโรคในเด็กนักเรียน

dc.contributor.advisorLatent Tuberculosisen_EN
dc.contributor.authorปิยรัชต์ สันตะรัตติวงศ์th_TH
dc.contributor.authorPiyarat Suntarattiwongth_TH
dc.contributor.authorเกศสิรี กรสิทธิกุลth_TH
dc.contributor.authorKatesiree Kornsitthikulth_TH
dc.contributor.authorประอร สุประดิษฐ์ ณ อยุธยาth_TH
dc.contributor.authorPra-on Supradishth_TH
dc.contributor.authorพักต์เพ็ญ ศิริคุตต์th_TH
dc.contributor.authorPugpen Sirikuttth_TH
dc.contributor.authorเอนก มุ่งอ้อมกลางth_TH
dc.contributor.authorAnek Mungaomklangth_TH
dc.contributor.authorเพชรวรรณ พึ่งรัศมีth_TH
dc.contributor.authorPetchawan Pungrassamith_TH
dc.contributor.authorผลิน กมลวัทน์th_TH
dc.contributor.authorPhalin Kamolwatth_TH
dc.date.accessioned2022-01-24T08:38:10Z
dc.date.available2022-01-24T08:38:10Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.otherhs2746
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5468
dc.description.abstractบทนำ ประเทศไทยมีการประมาณการอุบัติการณ์ของโรควัณโรคในประชากรสูงติดอันดับ 1 ใน 30 ของโลก มีรายงานผู้ป่วยวัณโรคปอดในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาและวัยรุ่น ซึ่งเมื่อมีการรวมตัวกันมีความเสี่ยงที่วัณโรคจะแพร่กระจาย ภาวะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงอาจจะกลายเป็นโรคได้ในอนาคต การศึกษาวิจัยถึงอัตราความชุกของโรควัณโรคและภาวะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในกลุ่มประชากรเด็กนักเรียนในประเทศไทยมีน้อยมาก วิธีการ ทำการศึกษาแบบ Observational cross-sectional study ในเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียน 1 โรงเรียนในกรุงเทพฯ และ 1 โรงเรียนในต่างจังหวัด เพื่อหาอัตราความชุกของวัณโรคปอดโดยใช้แบบคัดกรองอาการ ที่ออกแบบโดยสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรคและใช้การถ่ายภาพรังสีปอด และศึกษาความชุกของภาวะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง ด้วยการทดสอบทูเบอร์คูลิน ใช้ค่าปฏิกิริยาที่ผิวหนังหลังทดสอบ 48-72 ชั่วโมง ขนาดตั้งแต่ 10 มม. ขึ้นไปแสดงว่ามีภาวะติดเชื้อวัณโรคและในเด็กนักเรียน 80 คน ใช้การทดสอบทูเบอร์คูลินร่วมกับการทดสอบควอนติเฟอรอน ทีบี โกลด์จากเลือดด้วย นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติต่อเรื่องวัณโรคในเด็กนักเรียนของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง โดยการให้บุคลากรตอบแบบสอบถาม ผลการศึกษา จากโรงเรียน 2 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 5,113 คน มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1,005 คน นักเรียน 496 คน จากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา กรุงเทพฯ และ 509 คน จากโรงเรียนชลบุรี สุขบท จังหวัดชลบุรี เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 จำนวน 354, 176, 154, 176, 141 และ 153 คน ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 14.6±1.8 ปี นักเรียนร้อยละ 45.8 มาจากครอบครัวที่มีรายได้ครัวเรือน 20,000-40,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 21.8 มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 12.4 มีประวัติสัมผัสวัณโรคมาก่อน ผลจากการคัดกรองโดยแบบคัดกรองอาการและภาพถ่ายรังสีปอด ไม่พบนักเรียนที่เป็นวัณโรคปอดในการศึกษานี้ สำหรับการศึกษาภาวะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 270 คน พบนักเรียนมีภาวะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง 13 ราย คิดเป็นอัตราความชุกของภาวะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ร้อยละ 4.8 (ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ร้อยละ 2.3-7.4) นักเรียนที่มีภาวะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงไม่มีรายใดเกิดเป็นวัณโรคหลังจากการติดตามเป็นระยะเวลา 1 ปี ในการหาภาวะติดเชื้อวัณโรคในเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ พบว่าการทดสอบทูเบอร์คูลินตัดค่าที่ 10 มม. มีความไวร้อยละ 50 (ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ร้อยละ 6.8-98.2) และความจำเพาะร้อยละ 98.7 (ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ร้อยละ 92.9-100) เมื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบควอนติเฟอร์รอน ทีบี โกลด์ นอกจากนี้ผลการศึกษา ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวต่อวัณโรคในเด็กนักเรียนของบุคลากรในโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง จำนวน 100 คน พบว่าบุคลากรในโรงเรียนยังขาดความรู้เรื่องอาการของวัณโรคในเด็ก การติดต่อและการป้องกันการแพร่กระจายในชุมชน (ตอบคำถามในส่วนนี้ถูกต้องร้อยละ 11-39) บุคลากรส่วนใหญ่มีทัศนคติในทางบวกที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวัณโรคและช่วยเหลือนักเรียนให้ได้รับการดูแลรักษา (ร้อยละ 78-99) แต่บุคลากรร้อยละ 55 มีแนวคิดที่จะแยกนักเรียนที่ป่วยเป็นวัณโรคแม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาแล้วและในการปฏิบัติบุคลากรร้อยละ 29 จะไม่ติวส่วนตัวนักเรียนป่วยเป็นวัณโรคที่รักษาแล้ว สรุปและข้อเสนอแนะ อัตราความชุกของวัณโรคปอดและวัณโรคระยะแฝงในเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยค่อนข้างต่ำ การคัดกรองวัณโรคในโรงเรียนน่าจะมีความจำเป็นน้อยกว่ากลุ่มประชากรอื่นที่มีอัตราความชุกของวัณโรคปอดสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการรายงานและการสืบค้นเพิ่มเติมเมื่อพบเด็กนักเรียนป่วยเป็นวัณโรคร่วมกับการให้ความรู้แก่บุคลากรของโรงเรียนในเรื่องการติดต่อและการป้องกันth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรคth_TH
dc.subjectTuberculosisth_TH
dc.subjectวัณโรคปอดth_TH
dc.subjectPulmonary Tuberculosisth_TH
dc.subjectLatent Tuberculosisth_TH
dc.subjectวัณโรคในเด็กth_TH
dc.subjectวัณโรค--การวินิจฉัยth_TH
dc.subjectTuberculosis--Diagnosisth_TH
dc.subjectวัณโรค--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectTuberculosis--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleวัณโรคในเด็กนักเรียนth_TH
dc.title.alternativeTuberculosis in schoolchildrenth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Thailand is among the 30 countries with high tuberculosis (TB) prevalence. Cases of TB in Secondary schools have been reported and aggregated adolescents in school are at risk of TB transmission. Children with latent TB may develop TB diseases later on. Nevertheless, studies of TB diseases and latent TB prevalence in schoolchildren in Thailand are scarce. Method: We did an observational cross-sectional study in Secondary school children grade 7-12 in a school in Bangkok and a school in another province of Thailand. We used the Symptoms scoring questionnaire developed by the Bureau of Tuberculosis and Chest radiography to screen for pulmonary TB to identify the TB prevalence. And we used tuberculin skin test (TST) at a 10 mm. cut-off to identify latent TB infection in grade 7 students. Also, 80 students were undergone QuantiFERON® TB Gold (QFT) blood test together with TST. Furthermore, we did a survey on knowledge, attitude, and practice (KAP) of TB in school among personnel of the 2 schools using a structured questionnaire. Results: A total of 1,005 from 5,113 students from 2 schools were enrolled, 496 from Nawaminthrachinuthit Bodindecha School in Bangkok and 509 from Chonburi Sukkhabot School in Chonburi province. Three hundred and fifty-four, 176, 154, 176, 141, and 153 students were from Grade 1, 2, 3, 4, 5, and 6 respectively. The mean age was 14.6±1.8 years. Forty-six and 21.8 percent had the household incomes of 20,000-40,000 and less than 20,000 Thai Baht per month. Twelve percent had the history of TB exposure in the past. The screening with Symptoms scoring questionnaire and chest radiography revealed no TB disease in this survey. Meanwhile, 270 first grade students were screened for latent TB and 13 were positive, resulted in latent TB prevalence of 4.8% (95% Confidence Interval (CI), 2.3-7.4%) Of them, none developed TB disease during the 1-year follow-up. The TST at 10 mm. cut-off had the sensitivity 50% (95% CI 6.8-98.2) and specificity 98.7 (95% CI, 92.9-100%) compared to QFT. Furthermore, the results of KAP survey among the school personnel showed lower percentage (11-39%) of correct answers to knowledge of TB symptoms in children, transmission, and prevention of TB in community. Most personnel had positive attitude to learn about TB and help students to receive treatment (78-99%). However, 55% tended to separate students with TB from others even the students already receiving treatment and 29% would not be a personal tutor for students with TB after the treatment. Conclusion: The prevalence of TB disease and latent TB in Thai school children is not high. The routine TB screening in Thailand may target other population groups with higher TB rate. However, the protocol for reporting and investigation should be put forward for schoolchildren who develop TB diseases along with school personnel education on TB transmission and prevention.th_TH
dc.identifier.callnoWF200 ป619ว 2565
dc.identifier.contactno63-011
dc.subject.keywordวัณโรคแฝงth_TH
dc.subject.keywordวัณโรคระยะแฝงth_TH
.custom.citationปิยรัชต์ สันตะรัตติวงศ์, Piyarat Suntarattiwong, เกศสิรี กรสิทธิกุล, Katesiree Kornsitthikul, ประอร สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา, Pra-on Supradish, พักต์เพ็ญ ศิริคุตต์, Pugpen Sirikutt, เอนก มุ่งอ้อมกลาง, Anek Mungaomklang, เพชรวรรณ พึ่งรัศมี, Petchawan Pungrassami, ผลิน กมลวัทน์ and Phalin Kamolwat. "วัณโรคในเด็กนักเรียน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5468">http://hdl.handle.net/11228/5468</a>.
.custom.total_download63
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2746.pdf
ขนาด: 3.606Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย