Show simple item record

Development of Stroke Clinical Practice Guideline for Physician and Healthcare Team in Healthcare area 7 in Web Applications form

dc.contributor.authorกรรณิการ์ คงบุญเกียรติth_TH
dc.contributor.authorKannikar Kongbunkiatth_TH
dc.contributor.authorสมศักดิ์ เทียมเก่าth_TH
dc.contributor.authorSomsak Tiamkaoth_TH
dc.contributor.authorนรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorNarongrit Kasemsapth_TH
dc.contributor.authorนิศา วรสูตth_TH
dc.contributor.authorNisa Vorasootth_TH
dc.date.accessioned2022-02-18T04:24:36Z
dc.date.available2022-02-18T04:24:36Z
dc.date.issued2564-09
dc.identifier.otherhs2756
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5489
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ทีมสุขภาพจะใช้ข้อมูลจากแนวเวชปฏิบัติของประเทศในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งแนวเวชปฏิบัติดั้งเดิมจะอยู่ในรูปแบบสิ่งพิมพ์หรือไฟล์ pdf ทำให้มีอุปสรรคหลายประการในการใช้งานจริง การนำเทคโนโลยีในการช่วยการตัดสินใจทางการแพทย์มาใช้จะช่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองสำหรับแพทย์และทีมสุขภาพในเขต 7 ให้อยู่ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น ระเบียบวิธีศึกษา ประชุมทีมแพทย์และบุคลากรสุขภาพในเขต 7 เพื่อประเมินช่องว่างของการใช้แนวทางเวชปฏิบัติแบบดั้งเดิม แล้วพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ และติดตามตัวชี้วัดภายหลังจากการใช้เว็บแอพพลิเคชั่น โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี ผลการศึกษา การศึกษานี้ใช้โครงร่างการทำงานหลายชั้น (multilayer framework) ในการจัดโครงสร้างคำแนะนำแนวทางและแปลการสังเคราะห์หลักฐานให้เป็นความรู้ที่ปฏิบัติการได้จนได้เป็นเว็บแอพพลิเคชั่น https://strokenetwork.kku.ac.th มีการประเมินค่าคะแนน NIHSS (The National Institute of Health Stroke Scale) ซึ่งจะใช้แยกชนิดย่อยของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นเทคโนโลยีช่วยแพทย์ในการตัดสินใจการรักษา มีแนวเวชปฏิบัติแยกตามระดับศักยภาพของโรงพยาบาล มีรายชื่อโรงพยาบาลและรายละเอียดข้อมูลศักยภาพที่จำเป็นเพื่อช่วยแพทย์ในการวางแผนส่งต่อผู้ป่วย ผลความพึงพอใจของทีมสุขภาพ ได้แก่ แนวเวชปฏิบัติเขตสุขภาพที่ 7 ในเว็บแอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสมหรือไม่: เหมาะสมมาก 40%, เหมาะสม 60% แบบประเมิน NIHSS มีความเหมาะสมหรือไม่: เหมาะสมมาก 40%, เหมาะสม 53% เว็บแอพพลิเคชั่นเข้าใจง่ายและใช้งานได้สะดวก: เห็นด้วยมาก 20%, เห็นด้วย 40% เว็บแอพพลิเคชั่นน่าจะเป็นประโยชน์กับการทำงานของท่านเพิ่มเติม: เห็นด้วยมาก 13%, เห็นด้วย 73% ตัวชี้วัดในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ภายหลังจากการใช้แนวเวชปฏิบัติในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นพบว่ามีตัวชี้วัดบางส่วนที่มีแนวโน้มดีขึ้น ได้แก่ ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำแล้วมีภาวะเลือดออกในสมองแล้วเสียชีวิตในโรงพยาบาลลดลง ระยะเวลาในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำเฉลี่ยสั้นลง ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นมีจำนวนมากขึ้น จำนวนวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยสั้นลง วิจารณ์และข้อยุติ การพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับแพทย์และทีมสุขภาพในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น สามารถใช้เป็นแนวทางการรักษา โดยมีความเหมาะสม แนวทางการรักษานี้สามารถนำไปใช้ได้ เข้าใจง่ายและใช้งานได้สะดวก มีตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มดีขึ้นหลายส่วน เว็บแอพพลิเคชั่นน่าจะเป็นประโยชน์กับการทำงานของทีมสุขภาพเพิ่มเติมและสามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectหลอดเลือดสมอง, โรคth_TH
dc.subjectStroketh_TH
dc.subjectIschemic Stroketh_TH
dc.subjectเวชปฏิบัติth_TH
dc.subjectPractice Guidelineth_TH
dc.subjectCerebrovascular Diseaseth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับแพทย์และทีมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขต 7 ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Stroke Clinical Practice Guideline for Physician and Healthcare Team in Healthcare area 7 in Web Applications formth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and Rationale: Acute ischemic stroke is a major public health problem in Thailand. Treatment decisions are based on the national clinical practice guideline (CPG). However, the guidelines are in the form of publications or pdf files, generating several barriers to implementation. Adopting clinical decision support (CDS) technology will increase practice effectiveness. This study intends to develop web application-based stroke guideline for physicians and teams in health care area 7. Methodology: Health professional team from health care area 7 convene for a discussion. We determine clinical practice gaps based on Thai CPG, develop a web application, evaluate user satisfaction, and track key performance indicators (KPI) after using the web application. The project has a one-year operating period. Results: This study structures guideline suggestions and converts evidence synthesis into executable knowledge for web applications via a multilayer framework (https://strokenetwork.kku.ac.th). The National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) is used to classify stroke subtypes. It is a clinical decision support (CDS) tool that assists physicians in making treatment decisions. CPG was separated according to the hospital's potential level. A list of hospitals consists of details necessary to assist physicians in planning patient referrals. The satisfaction of the health care teams was assessed. The CPG for health care area 7 in web application is appropriate: 40% strongly suitable, 60% suitable. NIHSS assessment are appropriate: 40% strongly suitable, 53% suitable. Easy to understand and convenient to use: 20% strongly agree, 40% agree. Web application will benefit actual clinical practice: 13% strongly agree, 73% agree. The KPI for stroke patient treatment at Srinagarind hospital demonstrated that specific indicators have potentially improved after the web application's implementation: increase of stroke fast track notification rate, increased rate of receiving intravenous thrombolytics, decreased rate of intracerebral hemorrhage with death post intravenous thrombolytics, shorter duration of receiving intravenous thrombolytics, increase proportion of patient with improved outcome, and decreased time of hospitalization. Conclusion and discussion: We demonstrate how to develop web application for physicians and healthcare teams. The web application guideline was appropriate, simple to understand, and easy to use. There are numerous potentially improved KPI. Web apps should benefit health care teams and have ability to improve in the future.th_TH
dc.identifier.callnoWL355 ก173ก 2564
dc.identifier.contactno63-173
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 7th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 7th_TH
dc.subject.keywordClinical Practice Guidelineth_TH
.custom.citationกรรณิการ์ คงบุญเกียรติ, Kannikar Kongbunkiat, สมศักดิ์ เทียมเก่า, Somsak Tiamkao, นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์, Narongrit Kasemsap, นิศา วรสูต and Nisa Vorasoot. "การพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับแพทย์และทีมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขต 7 ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5489">http://hdl.handle.net/11228/5489</a>.
.custom.total_download112
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year30

Fulltext
Icon
Name: hs2756.pdf
Size: 7.317Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record