Show simple item record

Development of an innovation related to stroke

dc.contributor.authorสุภาพร มัชฌิมะปุระth_TH
dc.contributor.authorSupaporn Muchimapurath_TH
dc.contributor.authorจินตนาภรณ์ วัฒนธรth_TH
dc.contributor.authorJintanaporn Wattanathornth_TH
dc.contributor.authorสมศักดิ์ เทียมเก่าth_TH
dc.contributor.authorSomsak Tiamkaoth_TH
dc.contributor.authorเทอดไทย ทองอุ่นth_TH
dc.contributor.authorTerdthai Tongunth_TH
dc.contributor.authorปณคพร วรรณานนท์th_TH
dc.contributor.authorPanakaporn Wannanontth_TH
dc.contributor.authorวิภาวี ทูคำมีth_TH
dc.contributor.authorWipawee Tukum-meeth_TH
dc.contributor.authorกรรณิการ์ คงบุญเกียรติth_TH
dc.contributor.authorKannikar Kongbunkiatth_TH
dc.contributor.authorนรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorNarongrit Kasemsapth_TH
dc.contributor.authorนิศา วรสูตth_TH
dc.contributor.authorNisa Vorasootth_TH
dc.contributor.authorธนากร ปัญญาth_TH
dc.contributor.authorThanakorn Panyath_TH
dc.date.accessioned2022-02-24T08:18:57Z
dc.date.available2022-02-24T08:18:57Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.otherhs2757
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5490
dc.description.abstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งด้านสาธารณสุขส่งผลกระทบอย่างมากต่อค่าใช้จ่ายสาธารณสุขรายปีและคุณภาพชีวิตของประชากรตลอดจนผลิตภาพของประเทศ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการรักษาภาวะดังกล่าวยังคงจำกัดเนื่องจากผู้ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิตจำนวนมากต้องอยู่กับภาวะทุพพลภาพ ดังนั้นการพยายามลดและป้องกันปัญหาทุพพลภาพที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิตจึงเป็นเรื่องจำเป็นและต้องการ ข้อมูลจากการศึกษาเบื้องต้นของคณะผู้วิจัยในแบบจำลองภาวะโรคหลอดเลือดสมองในสัตว์ทดลอง พบว่า ผลหม่อนซึ่งมีสารแอนโธไซยานินสูงนั้นสามารถช่วยลดปริมาตรสมองขาดเลือดและภาวะบกพร่องทางสมองได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงตั้งสมมุติฐานว่าการบริโภคผลหม่อนซึ่งมีสารแอนโธไซยานินสูงร่วมกับการรักษาในปัจจุบันน่าจะช่วยลดการเกิดทุพพลภาพและภาวะพึ่งพาในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิตได้ การวิจัยนี้จึงมุ่งพิสูจน์แนวคิดดังกล่าวและเพื่อศึกษาความปลอดภัยในการบริโภคในกลุ่มอาสาสมัครโรคหลอดเลือดสมอง ในการพัฒนาแคปซูลผลหม่อนเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบในอาสาสมัครนั้น ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความชื้นสูง 11.32% ซึ่งสูงไปเล็กน้อยตามเกณฑ์ข้อกำหนดผลิตภัณฑ์สมุนไพรส่วนใหญ่ที่กำหนดว่าไม่ควรเกิน 10% และยกเว้นสมุนไพรบางชนิด เนื่องจากจะเกิดการสะสมของจุลินทรีย์ง่าย อย่างไรก็ตามไม่พบการปนเปื้อนต่างๆ และผลิตภัณฑ์แคปซูลผลหม่อนที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดยาเม็ดสมุนไพร ในแคปซูลผลหม่อนมีสารแอนโธไซยานิน โดยเฉพาะ Cyaniding-3-glucoside (755.240±6.78 μg/g sample) ในปริมาณที่มากที่สุด รองลงมาคือ Cyaniding-3-rutinoside (285.440±1.26 μg/g sample) นอกจากนั้นยังพบ Chlorogenic acid (236.220±0.34 μg/g sample), Gallic acid (108.500±0.24 μg/g sample) และ Quercetin (15.700±0.02 μg/g sample) แต่ในปริมาณที่น้อยกว่ามาก แคปซูลผลหม่อนที่พัฒนาขึ้นมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การยับยั้งการอักเสบ การเพิ่มสารสื่อประสาท เมื่อนำมาประเมินระยะเวลาการเก็บรักษา พบว่า ปริมาณสารพฤกษเคมีโดยเฉพาะแอนโธไซยานินและฤทธิ์ทางชีวภาพจะลดลงเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสน้อยกว่าที่อุณหภูมิห้อง ภายในช่วงระยะเวลา 3 เดือน การลดลงของสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ชีวภาพที่สำคัญยังอยู่ในช่วงประมาณ 20-25% อย่างไรก็ตามเมื่อเก็บไว้นานขึ้นระดับสารและฤทธิ์ชีวภาพเหล่านั้นจะยิ่งลดลง จึงต้องพัฒนากระบวนการยืดอายุผลิตภัณฑ์ในกรณีพัฒนาเชิงพาณิชย์ ในการศึกษาผลการบริโภคแคปซูลผลหม่อนในอาสาสมัครโรคหลอดเลือดสมองนั้น โครงการผ่านการรับรองจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (HE631600) ลงทะเบียนในระบบ Thai Clinical Trials Registry (TCTR) หมายเลขอ้างอิง TCTR20201222006 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ three armed, randomized, double-blind, placebo-controlled อาสาสมัครผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นแบบชั่วคราวและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดในระยะ 5-10 วันที่ผ่านมา ทำให้มีการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 18-85 ปี จะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มรับผลิตภัณฑ์หลอก กลุ่มรับแคปซูลผลหม่อนขนาด 1,000 มิลลิกรัม และ 2,000 มิลลิกรัม อาสาสมัครจะได้รับการประเมินดัชนีต่อไปนี้ก่อนการบริโภค หลังบริโภคแคปซูลผลหม่อน 1, 2 และ 6 สัปดาห์ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจและประเมินอาการทางคลินิกและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองด้วย NIHSS score นอกจากนั้นยังได้รับการประเมินการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาและเคมีคลินิก เพื่อติดตามความปลอดภัยของการบริโภคแคปซูลผลหม่อน การประเมิน serum biomarkers ประกอบด้วย MMP-9, S100β, vWF และ VCAM1 จะดำเนินการก่อนการบริโภคและหลังบริโภคแคปซูลผลหม่อน 1 และ 6 สัปดาห์ ในขณะที่การตรวจหาจุลินทรีย์กลุ่มแลกติกแบคทีเรียซึ่งเป็นจุลินทรย์โพรไบโอติกโดยเฉพาะ แบคทีเรียกลุ่มแลกโตบาซิลลัส (Lactobacillus spp.) และแบคทีเรียกลุ่มไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacterium spp.) ในอุจจาระ ก่อนการบริโภคและหลังบริโภคแคปซูลผลหม่อน 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ที่ 2 และ 6 สัปดาห์หลังบริโภคผลิตภัณฑ์ระดับทุพพลภาพตามแบบประเมินความพิการ Modified Rankin Scale (mRS) หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครทั้งยาหลอกและแคปซูลหม่อนมีระดับทุพพลภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามพบว่าผลการเปลี่ยนแปลงของอาสาสมัครที่บริโภคแคปซูลผลหม่อนวันละ 1,000 และ 2,000 มิลลิกรัม มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับทุพพลภาพลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ placebo อย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มที่บริโภคแคปซูลผลหม่อนขนาดวันละ 1,000 มิลลิกรัม จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญเพียงหลังบริโภคไป 1 สัปดาห์ ในขณะที่อาสาสมัครที่บริโภคแคปซูลผลหม่อนวันละ 2,000 มิลลิกรัมนั้น จะแสดงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญตั้งแต่หลังบริโภคผลิตภัณฑ์ไป 1 สัปดาห์ และพบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปตลอดระยะเวลาการศึกษา นอกจากนั้นยังพบว่าหลังบริโภคไป 1 สัปดาห์ อาสาสมัครที่บริโภคแคปซูลผลหม่อนในขนาด 2,000 มิลลิกรัม มีค่า VCAM1 ลดลง และหลังบริโภคไป 6 สัปดาห์ ยังพบการลดลงของค่า VCAM1 ร่วมกับการลดลงของค่า Matrix metalloproteinases 9 (MMP-9) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแคปซูลผลหม่อนในขนาด 2,000 มิลลิกรัม มีศักยภาพดีต่อการลดทุพพลภาพในภาวะโรคหลอดเลือดสมองและกลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งน่าจะกี่ยวข้องกับการลด VCAM1 และ MMP9th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectStroketh_TH
dc.subjectหลอดเลือดสมอง, โรคth_TH
dc.subjectAnthocyaninsth_TH
dc.subjectแอนโธไซยานินth_TH
dc.subjectMulberryth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectหม่อน--เภสัชฤทธิวิทยาth_TH
dc.subjectหม่อน--การใช้รักษาth_TH
dc.titleการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of an innovation related to stroketh_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeStroke has been regarded as an important health problem that produces a great impact on an annual healthcare expenditure, quality of life of the population, and the productivity of the country. However, the therapeutic efficacy is still limited because abundant of the stroke survivors live with the disability. Therefore, the efforts to reduce and to prevent the disability in the stroke survivors is essential and required. Our primary data in an animal model of stroke reveal that an anthocyanin-rich mulberry fruit can decrease brain infarcted volume, and brain dysfunction so we hypothesize that a consumption of an anthocyanin-rich mulberry fruit as an adjuvant therapy with the current therapy should decrease disability and dependency in the stroke survivors. The aim of this project is to proof this concept and to determine the consumption safety in the stroke volunteers. In the development of mulberry capsules for the application in volunteer testing, the product developed had a high humidity of 11.32%. It is slightly above the norm for most herbal products that should not exceed 10% except for some herbs because it is easy to have a microorganism accumulation in the high humidity condition. However, no contaminants were found, and the qualification of the developed mulberry product achieves the requirements according to the notification regarding to herbal pills of the Ministry of Public Health. In the developed mulberry capsule, anthocyanins especially cyaniding-3-glucoside (755.240±6.78 μg/g sample), were found in the highest amounts, followed by cyaniding-3-rutinoside (285.440±1.26 μg/g sample). In addition, chlorogenic acid (236.220±0.34 μg/g sample), gallic acid (108.500±0.24 μg/g sample), and quercetin (15.700 ±0.02 μg/g sample) also present, but in much smaller amounts. The developed mulberry capsule reveals the biological activities associated with stroke, especially the antioxidant, anti- inflammation, and neurotransmitters enhancement activities. When evaluating the storage time, the reduction of the phytochemical content, especially anthocyanin, and bioactivity when stored at 4 °C less were less than those at room temperature. Over a period of 3 months, the reduction of important phytochemicals and bioactivities remains in the range of about 20-25%. However, the longer they are stored, the lower their levels and bioactivities. Therefore, the process of extending product life must be developed in the case of commercial development. In the study regarding to the effect of mulberry capsule consumption in cerebrovascular disease subjects, the project is accredited by the Human Research Council, Khon Kaen University (HE631600), and it is registered in the Thai Clinical Trials Registry (TCTR) under the reference number TCTR20201222006. The research model is a three armed, randomized, double-blind, placebo-controlled experimental study. The volunteers are patients at the age between 18-85 years old with transient and ischemic stroke patients in the last 5-10 days that had weakness in one side of the body. All subjects are divided into 3 separated groups as following; the placebo group, and the groups that received mulberry fruit capsules at the doses of 1,000 mg, and 2,000 mg. Prior to the consumption of mulberry fruit capsule, and at 2 and 6 weeks of consumption, all volunteers are subjected to the assessments of the flowing parameters; body mass index, electrocardiography, blood pressure, respiration, clinical signs, and stroke severity with NIHSS score assessment. The assessments of hematological changes, and clinical chemistry are also performed to monitor the consumption safety of mulberry fruit capsule. The assessment of serum biomarkers consisting of MMP-9, S100β, vWF, and VCAM1 are performed prior to the consumption, and at a period of 1 and 6 weeks of consumption whereas the assessment of lactic acid producing bacteria which is regarded as probiotic bacteria particularly Lactobacillus spp and Bifidobacterium spp. In feces is performed prior to the consumption and at a 6 week-consumption period. The current results demonstrated that at 2 and 6 weeks of consumption, the Modified Rankin Scale (mRS) after stroke of volunteer in both placebo and mulberry fruit capsule show the significant reduction in mRS. However, the rates of change in mRS of the mulberry consumption groups both at 1,000 and 2,000 mg per day are significantly higher than that of placebo group. It has been revealed that the volunteers in a mulberry fruit consumption at a dose of 1,000 mg per day show a significant improvement of mRS only at 1 week after consumption whereas the volunteers in a mulberry fruit consumption at a dose of 2,000 mg per day show a significant improvement of the mentioned parameters after 1 week of consumption and this change is observed throughout the study period. In addition, the volunteers in the mulberry fruit treated group at a dose of 2,000 mg per day show the significant reduction of VCAM1 after 1 week of consumption, and the reduction of both VCAM1 and MMP9 are observed at 6 weeks of consumption. The current results suggest that mulberry fruit capsule at a dose of 2000 mg per day shows the good potential to reduce mRS in stroke and the underlying mechanism is partly associated with the reduction of VCAM1 and MMP9.th_TH
dc.identifier.callnoWL355 ส246ก 2565
dc.identifier.contactno63-103
.custom.citationสุภาพร มัชฌิมะปุระ, Supaporn Muchimapura, จินตนาภรณ์ วัฒนธร, Jintanaporn Wattanathorn, สมศักดิ์ เทียมเก่า, Somsak Tiamkao, เทอดไทย ทองอุ่น, Terdthai Tongun, ปณคพร วรรณานนท์, Panakaporn Wannanont, วิภาวี ทูคำมี, Wipawee Tukum-mee, กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ, Kannikar Kongbunkiat, นรงฤทธิ์ เกษมทรัพย์, Narongrit Kasemsap, นิศา วรสูต, Nisa Vorasoot, ธนากร ปัญญา and Thanakorn Panya. "การพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5490">http://hdl.handle.net/11228/5490</a>.
.custom.total_download106
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year27

Fulltext
Icon
Name: hs2757.pdf
Size: 3.269Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record