dc.contributor.author | ปฤษฐพร กิ่งแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Pritaporn Kingkaew | th_TH |
dc.contributor.author | นภดล พิมสาร | th_TH |
dc.contributor.author | Nopphadol Pimsarn | th_TH |
dc.contributor.author | พรธิดา หัดโนนตุ่น | th_TH |
dc.contributor.author | Phorntida Hadnorntun | th_TH |
dc.contributor.author | แพรวา กุลัตถ์นาม | th_TH |
dc.contributor.author | Praewa Kulatnam | th_TH |
dc.contributor.author | สุรัคเมธ มหาศิริมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Surakameth Mahasirimongkol | th_TH |
dc.contributor.author | วริษฐา แสวงดี | th_TH |
dc.contributor.author | Waritta Sawaengdee | th_TH |
dc.contributor.author | นวลจันทร์ วิจักษณ์จินดา | th_TH |
dc.contributor.author | Nuanjun Wichukchinda | th_TH |
dc.contributor.author | มณีโชติรัตน์ สันธิ | th_TH |
dc.contributor.author | Maneechotirat Santi | th_TH |
dc.contributor.author | ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Rapeepong Suphanchaimat | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐปราง นิตยสุทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Natthaprang Nittayasoot | th_TH |
dc.contributor.author | วราภรณ์ เทียนทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Varaporn Thienthong | th_TH |
dc.contributor.author | สุทัศน์ โชตนะพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Suthat Chottanapund | th_TH |
dc.contributor.author | พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ | th_TH |
dc.contributor.author | Pilailuk Akkapaiboon Okada | th_TH |
dc.contributor.author | จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chakrarat Pittayawonganon | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-02-28T09:03:05Z | |
dc.date.available | 2022-02-28T09:03:05Z | |
dc.date.issued | 2565-02 | |
dc.identifier.other | hs2759 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5492 | |
dc.description.abstract | ความเป็นมา: บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ในระหว่างปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคในวงกว้าง เมื่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเจ็บป่วย จะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และอาจนำไปสู่การแพร่เชื้อไปสู่ผู้ร่วมงาน ผู้ป่วยอื่นๆ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว การติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคโควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อชนิดเสี่ยงสูง นับเป็นงานวิจัยที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การลดความเสี่ยงของบุคลากรในการรับหรือแพร่เชื้อโควิด-19 และพัฒนามาตรการกักตัวที่เหมาะสม วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คือ เพื่อพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เหมาะสมกับแนวทางการบริหารทรัพยากรสุขภาพในประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์รองคือ 1. เพื่อทราบสัดส่วนของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยการตรวจ NAAT ในช่วงระยะเวลากักตัว 14 วัน และความแตกต่างระหว่างสัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยการตรวจ NAAT ณ วันที่ 5, 10, 14 2. เพื่อทราบระยะฟักตัวของโรคในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ติดเชื้อโควิด-19 (นับจากวันที่สัมผัสเชื้อถึงวันที่มีอาการแสดง (กรณี symptomatic) หรือถึงวันที่ NAAT positive (กรณี asymptomatic) 3. เพื่อทราบสัดส่วนของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้า (prospective cohort study) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เพิ่มเติมจากระบบการเฝ้าระวังในปัจจุบัน (enhanced surveillance) โดยการติดตามข้อมูลความเจ็บป่วยและผลการวินิจฉัยโรคโควิด-19 จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (HCW contact) อายุมากกว่า 18 ปี ได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อก่อโรค SARS-CoV-2 ด้วยการตรวจสารพันธุกรรมแล้ว พบว่า ผลเป็นลบ ทั้งที่มีหรือไม่มีอาการแสดงของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและทำงานในสถานพยาบาลทั่วประเทศไทย โดยคำนวณขนาดตัวอย่าง จำนวน 375 คน โดยการเฝ้าระวังที่เพิ่มเติม คือ 1) การติดตามอุณหภูมิร่างกายและอาการแสดงทุกวันเป็นระยะเวลา 14 วัน 2) การตรวจวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 เพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง คือ ณ วันที่ 5, 10 และ 14 3) การตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนา 2019 ชนิด IgG ณ วันที่ 0-5 และ 14 การตรวจวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 5, 10 และ 14 เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรค SARS-CoV-2 ด้วยเครื่องมือ Reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) แบบ real-time หรือ real-time RT-PCR (N-gene และ RdRP gene) โดยเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากตัวอย่างหลังโพรงจมูกและเยื่อบุในคอ (Nasopharyngeal & oropharyngeal swab and throat swab) และการเก็บน้ำลาย (saliva) สำหรับการตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนา 2019 ชนิด IgG เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี ELISA (enzyme-linked immunosorbent assay) จากตัวอย่างเลือด (serum) ของอาสาสมัคร จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 5 มิลลิลิตร ณ วันที่ 0 และ 14 ซึ่งทั้งหมดดำเนินการในสถานพยาบาลโดยบุคลากรทางการแพทย์ ผลการศึกษา: จากการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 มีอาสาสมัครที่เข้าเกณฑ์และยินดีเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 153 ราย ซึ่งมีอายุระหว่าง 22 ถึง 63 (อายุเฉลี่ย 34 ปี) พบว่า ส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 84) ร้อยละ 52 ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาล รองลงมาร้อยละ 14 คือผู้ช่วยพยาบาล และร้อยละ 20 คือ แพทย์/ทันตแพทย์/เภสัชกร/เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ร้อยละ 15 คือ บุคลากรสนับสนุนอื่นๆ ส่วนมากบุคลากรทางการแพทย์สัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 จากการรักษาพยาบาลในห้องฉุกเฉิน (ER) และแผนกผู้ป่วยวิกฤต (ICU) คิดเป็นร้อยละ 41 หอผู้ป่วยในและแผนกผู้ป่วยนอก คิดเป็นร้อยละ 30 คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจและหอผู้ป่วยโควิด คิดเป็นร้อยละ 3 ทั้งนี้ ร้อยละ 78 ของบุคลากรที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับวัคซีนโควิดแล้ว ส่วนน้อยใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ครบชุดขณะปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 5 จากการตรวจยืนยันการติดเชื้อก่อโรค SARS-CoV-2 ด้วยการตรวจสารพันธุกรรม พบบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 3 คน (2.08%; 95%CI: -0.28% ถึง 4.44%) มีผลบวก ซึ่งพบ ณ การตรวจวันที่ 5 จำนวน 2 คน การตรวจวันที่ 10 จำนวน 1 คน ซึ่งทั้ง 3 คน ไม่ได้ใช้ PPE ครบชุด ใช้เพียงแค่หน้ากากอนามัยและถุงมือ อีกทั้งทุกคนได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ย 40 วัน ก่อนการสัมผัส 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อมีอาการแสดง ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาตั้งแต่วันที่สัมผัสถึงวันที่พบผลตรวจยืนยันการติดเชื้ออยู่ที่ 6.33 วัน จากผลการตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนา 2019 ชนิด IgG พบผลบวกเท่ากับร้อยละ 84 (95%CI: 76.07% ถึง 92.22%) ณ การตรวจวันที่ 0-5 และร้อยละ 79 (95%CI: 71.96% ถึง 86.18%) ณ การตรวจวันที่ 14 ซึ่งส่วนมากเป็นผลบวกในผู้ที่ได้รับวัคซีน บุคลากรทางการแพทย์ที่มีผลบวกจากการตรวจด้วย RT-PCR พบว่า แอนติบอดีภายหลัง 14 วัน มีระดับที่สูงมากอยู่ระหว่าง 20,665 ถึง 40,000 AU/mL บุคลากรที่อยู่ในช่วงการเฝ้าระวังที่ 14 วัน พบว่า มีคุณภาพชีวิต (วัดจาก EQ-5D-5L) ต่ำลง ซึ่งส่วนมากเกิดจากความวิตกกังวลและความซึมเศร้า จนถึงการเฝ้าระวัง ณ วันที่ 5 หลังจากนั้นคุณภาพชีวิตโดยเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับภายหลังที่บุคลากรได้รับผลการตรวจด้วย RT-PCR คุณภาพชีวิตของบุคลากรที่ลดลง สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น และมีอาการแสดงของโรคทางระบบทางเดินหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและบุคลากรที่ใช้อุปกรณ์ PPE ครบชุด สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น อภิปรายผลการศึกษา: การศึกษานี้สามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงที่มีนโยบายเริ่มเปิดประเทศจากเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในช่วงเริ่มต้นการเก็บข้อมูลได้มีการรณรงค์ให้บุคลากรทางการแพทย์รับวัคซีนโควิด-19 จึงพบว่า ร้อยละ 78 ของบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับวัคซีนโควิดและร้อยละ 82.8 ของกลุ่มนี้ ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มตามกำหนด โครงการนี้มีจำนวนอาสาสมัครที่เข้าเกณฑ์และยินดีเข้าร่วมโครงการวิจัยน้อยกว่าการคำนวณจากกลุ่มตัวอย่าง อีกทั้งพบผลบวกเพียงร้อยละ 2 ซึ่งไม่สามารถตอบคำถามการวิจัยในประเด็นจำนวนวันกักตัวและปัจจัยต่อการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรทุกคนในทุกแผนกของโรงพยาบาลมีความเสี่ยงจากการสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 และติดเชื้อโควิด-19 มาตรการกักตัวหรือเฝ้าระวังบุคลากรสัมผัสแบบเสี่ยงสูงและการตรวจหาการติดเชื้อเป็นระยะๆ ตามแนวทางในการศึกษานี้ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าบุคลากรส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีนครบแล้วก็ตาม การเฝ้าระวังบุคลากรที่สัมผัสเสี่ยงสูงในช่วง 5 ถึง 10 วันแรกภายหลังการสัมผัสยังคงมีความจำเป็นสำหรับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในสถานพยาบาล อีกทั้งพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยวิกฤต นับเป็นกลุ่มเสี่ยงการสัมผัสชนิดเสี่ยงสูงมากที่สุด ซึ่งแตกต่างจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง อาจเป็นเพราะกลุ่มหลังตระหนักถึงความเสี่ยงทำให้เกิดการป้องกันและระมัดระวังตนเองอย่างรัดกุม ขณะที่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในแผนกอื่นมีความตระหนักน้อยกว่าหรือขาดอุปกรณ์ป้องกันอย่างเพียงพอ ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญในการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันตนเองกับบุคลากรในกลุ่มนี้ อีกทั้งควรจัดหาและกระจายอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และควรพัฒนาระบบการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงของบุคลากรและเพิ่มขวัญและกำลังใจของบุคลากร เช่น จัดให้มีเวรการทำงานแยกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มไม่มีโอกาสสัมผัสกัน การสนับสนุนด้านปัญหาสุขภาพจิต และการชดเชยเพิ่มเติมในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ข้อเสนอแนะ: 1. การเฝ้าระวังบุคลากรที่สัมผัสเสี่ยงสูงในช่วง 5 ถึง 10 วัน ยังคงมีความจำเป็นถึงแม้ว่าบุคลากรจะได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม 2. การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ยังคงมีความจำเป็นต่อการควบคุมการแพร่ระบาด 3. ภาครัฐควรจัดหาและกระจายอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment หรือ PPE) ให้เพียงพอต่อบุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากบุคลากรทุกแผนกมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ และ 4. ภาครัฐควรมีมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | บุคลากรทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical Personnel | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | การทำงาน--ความเสี่ยง | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | การทำงาน--มาตรการความปลอดภัย | th_TH |
dc.subject | Safety Management | th_TH |
dc.title | การศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 | th_TH |
dc.title.alternative | A study to develop quarantine recommendations for health care workers who have been exposed to COVID-19 patients | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: The rapid increase in COVID-19 cases puts significant stress on the health system. Healthcare workers (HCWs) who are at the frontline responding to the crisis are particularly susceptible to this highly transmissible infection, given their long and close exposure to infected persons. Decision-makers are in need of the information to appropriately determine a quarantine guideline and policy for healthcare workers while maximizing the patient’s safety and ensuring the continuous provision of services to society. Objectives: The primary objective of this study is to develop recommendations for quarantining HCWs who have been exposed to COVID-19. The secondary objectives are 1. to estimate the proportion of HCWs with COVID-19 by nucleic-acid amplification test (NAAT) within the quarantine period and the difference in proportions of HCWs with COVID-19 by NAAT at day 5, 10 and 14 of the quarantine period; 2. to descriptively report the incubation period (from the date of exposure to COVID-19 source case to when the symptom first appear (symptomatic case) or to when the NAAT is positive (asymptomatic case); and 3. to estimate the proportion of asymptomatic COVID-19 among those HCWs with COVID-19. Methods: This is a prospective cohort study to identify the incidence of COVID-19 among health care workers who had been in contact with COVID-19 cases. The inclusion criteria were HCWs aged over 18 years old who have been identified as HCWs in which a patient with laboratory confirmed COVID-19 infection is receiving care or ‘HCWs contact’. Following the initial routine test (Nucleic acid amplification tests, RT-PCR), if the result is PCR negative ‘HCWs contact’ with or without any respiratory symptoms and works in a health care facility were included for this study. The sample size calculation was 375 participants. Data collection included 1) daily self-monitoring symptoms and temperature for 14 days, 2) Nasopharyngeal & oropharyngeal swabs and saliva at day 5, 10 and 14 of the quarantine period and 3) serum at day 0 and 14 of the quarantine period. For confirmation of COVID-19 cases, it was based on detection of unique sequences of virus RNA by Nucleic acid amplification tests such as real-time reverse-transcription polymerase chain reaction (rRT-PCR) from nasopharyngeal & oropharyngeal swab and saliva samples at day 5, 10 and 14. For monitoring purposes, serum immunoglobulin G (IgG) were analyzed by ELISA for antibody against SAR-CoV-2 virus at day 0 and 14 of the quarantine period. Results: From January to July 2021, 153 eligible health care workers met the inclusion criteria and provided consent. Most participants were women (84%), age range between 22 and 63 (mean age, 34 years old) and worked as nurses (52%), assistant nurses (14%), doctor/dentist/pharmacist/laboratory staff (20%) or other supporting HCWs (15%). Most of the participants worked at an emergency room (ER) or intensive care unit (ICU) (41%). Most of the participants reported to have been vaccinated (78%) and only 5% of the HCWs reported to have full PPE when exposed to COVID-19 patients. Three HCWs were tested positive for SARS-CoV-2, giving the positivity rate of 2.08% (95%CI: -0.28% to 4.44%) of the HCW contact which was detected at day 5 for 2 HCWs and at day 10 for 1 HCW. All three HCWs received 2-dose COVID-19 vaccination (Sinovac) at an average of 40 days before the contact. They did not use the complete set of PPE and were only put surgical masks and gloves on while in contact with COVID-19 patients. This study reported the incubation period from the date of exposure to known COVID-19 source to when the PCR positive is positive of 6.33 days. Two out of three (66%) COVID-19 positive cases are symptomatic. The overall positivity rate for SARS-CoV-2 serostatus from the blood sample was 84.15% (95%CI: 76.07% to 92.22%) at day 0-5 and 79.07% (95%CI: 71.96% to 86.18%) at day 14. Most of the positivity rates for SARS-CoV-2 serostatus were correlated with vaccination status. The level of anti-SARS-CoV-2 IgG antibody titer from COVID-19 positive HCWs at day 14 ranged between 20,665 to 40,000 AU/mL. During the 14-day monitoring period, health-related quality of life (measured using the EQ-5D-5L) of HCWs decreased due to depression and anxiety domain. On average, the quality of life of HCWs decreased from the baseline up until day 5 of monitoring and increased as the PCR results became available. The decreased quality of life was significantly associated with increasing age and showing signs of respiratory disease. The increased quality of life was significantly associated with those who used the full set of PPE. Discussion: The study can only be carried out after the reopening policy in Thailand was implemented. From January to July 2021, there was a national campaign to encourage healthcare workers to receive COVID-19 vaccination. Around 78% of the healthcare workers were vaccinated against the COVID-19, and 82.8% of these groups received two doses as scheduled. This study did not recruit enough sample sizes, and only 2% of the HCWs were positive for COVID-19.Therefore, it is unclear whether to reduce the number of days of quarantine or be certain about the factors associated with infection. However, this research highlighted that HCWs in all departments are at risk of being exposed to COVID-19 patients. Closely monitoring high-risk COVID-19 contact cases during the first 5 to 10 days after exposure and periodic testing for infection remains essential for controlling the spread of the disease in healthcare facilities. Nurses and axillary nurses who work in emergency departments and intensive care units are at high risk of COVID-19 exposure. HCWs who work directly with known COVID-19 patients may take full precaution and be equipped with a full set of PPE while those working in other departments may have less awareness or lack of adequate protective equipment. The government should therefore focus on supporting PPE for all HCWs and should develop a working system to minimise the risks of being exposed among coworkers such as shift arrangement. Additional supports for HCWs to tackle mental health issues and compensation in various forms should also be considered. Recommendations: 1. Closely monitoring of healthcare workers who had been in high-risk contact with COVID-19 patients for 5 to 10 days remains necessary even if personnel have been vaccinated. 2. A booster dose of COVID-19 vaccination for healthcare workers is still necessary to control the epidemic. 3. The government should procure and distribute sufficient Personal Protective Equipment (PPE) for all healthcare workers who were on duty whether working directly with COVID-19 patients or not. This is because all personnel are at risk of coming into contact with COVID-19 patients who have no symptoms. 4. The government should have measures to support healthcare workers who perform their duties to ease mental health problems. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ป479ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 63-074 | |
.custom.citation | ปฤษฐพร กิ่งแก้ว, Pritaporn Kingkaew, นภดล พิมสาร, Nopphadol Pimsarn, พรธิดา หัดโนนตุ่น, Phorntida Hadnorntun, แพรวา กุลัตถ์นาม, Praewa Kulatnam, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล, Surakameth Mahasirimongkol, วริษฐา แสวงดี, Waritta Sawaengdee, นวลจันทร์ วิจักษณ์จินดา, Nuanjun Wichukchinda, มณีโชติรัตน์ สันธิ, Maneechotirat Santi, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, ณัฐปราง นิตยสุทธิ์, Natthaprang Nittayasoot, วราภรณ์ เทียนทอง, Varaporn Thienthong, สุทัศน์ โชตนะพันธ์, Suthat Chottanapund, พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ, Pilailuk Akkapaiboon Okada, จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ and Chakrarat Pittayawonganon. "การศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5492">http://hdl.handle.net/11228/5492</a>. | |
.custom.total_download | 149 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 1 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |