แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาขั้นสูงของลักษณะที่แสดงออกทางคลินิกในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคคอเลสเทอรอลสูงทางพันธุกรรม

dc.contributor.authorวีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจth_TH
dc.contributor.authorWeerapan Khovidhunkitth_TH
dc.contributor.authorนิธิพัฒน์ สันดุษฎีth_TH
dc.contributor.authorNitipat Sandusadeeth_TH
dc.contributor.authorภัทรวรรณ โกมุทบุตรth_TH
dc.contributor.authorPatrawon Gomutputth_TH
dc.contributor.authorภรณี กนกโรจน์th_TH
dc.contributor.authorPoranee Ganokrojth_TH
dc.contributor.authorสุวรรณา เหมือนเพ็ชรth_TH
dc.contributor.authorSuwanna Muanpetchth_TH
dc.contributor.authorไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัยth_TH
dc.contributor.authorPairoj Chattranukulchaith_TH
dc.contributor.authorมนตร์รวี ทุมโฆสิตth_TH
dc.contributor.authorMonravee Tumkositth_TH
dc.contributor.authorน้ำผึ้ง นำการุณอรุณโรจน์th_TH
dc.contributor.authorNumphung Numkarunarunroteth_TH
dc.contributor.authorวรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorVorasuk Shotelersukth_TH
dc.contributor.authorกัญญา ศุภปีติพรth_TH
dc.contributor.authorKanya Suphapeetipornth_TH
dc.date.accessioned2022-03-02T06:49:04Z
dc.date.available2022-03-02T06:49:04Z
dc.date.issued2565-02
dc.identifier.otherhs2762
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5494
dc.description.abstractที่มาและวัตถุประสงค์: โรคคอเลสเทอรอลสูงทางพันธุกรรม (Familial hypercholesterolemia, FH) เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดและหัวใจ ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบขนาดและลักษณะของเอ็นร้อยหวายที่วัดโดยใช้เครื่องหนีบ ภาพถ่ายรังสีและการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ในผู้ป่วย FH (วินิจฉัยจากเกณฑ์ Dutch Lipid Clinic Network [DLCN] ที่มีค่าตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไป [possible, probable or definite FH]) จำนวน 63 คน ผู้ที่มีไขมันสูงที่ไม่ใช่ FH (วินิจฉัยจากการที่ผู้ป่วยเคยมีระดับ LDL-cholesterol [LDL-C] สูงสุดมากกว่า 130 มก./ดล. หรือกลุ่ม non-FH) จำนวน 58 คน และประชากรที่มีระดับไขมันปกติ (ระดับ LDL-C น้อยกว่า 130 มก./ดล.) จำนวน 55 คน รวมทั้งวิเคราะห์ความไวและความจำเพาะของความหนาของเอ็นร้อยหวายจากการวัดด้วยวิธีต่างๆ ในการวินิจฉัย FH และ 2) เปรียบเทียบระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery calcium หรือ CAC) และลิ้นหัวใจเอออร์ติก (aortic valvular calcium หรือ AoVC) ด้วยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วย FH จำนวน 62 คน และผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม (Non-FH) จำนวน 58 คน ผลการศึกษา: 1) การวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายด้วยเครื่องหนีบมีความแม่นยำ 61% การวัดด้วยภาพถ่ายรังสีมีความแม่นยำสูง เมื่อใช้ความหนาของเอ็นร้อยหวายจากภาพถ่ายรังสี ≥7.7 มิลลิเมตร พบว่า มีความไว 75% ความจำเพาะ 82% และความแม่นยำ 80% ในขณะที่การวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความไวต่ำ แต่มีความจำเพาะสูง โดยความหนาของเอ็นร้อยหวายจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ≥6.4 มิลลิเมตร มีความไว 46% ความจำเพาะ 93% และความแม่นยำ 76% พื้นที่หน้าตัดของเอ็นร้อยหวาย ≥78 ตารางมิลลิเมตร มีความไว 47% ความจำเพาะ 93% และความแม่นยำ 77% ในการวินิจฉัย FH การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบว่าขอบเอ็นร้อยหวายที่ไม่เรียบ การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายในของเอ็นร้อยหวายและการมีหินปูนพบได้ในผู้ป่วย FH มากกว่าผู้ที่มีไขมันสูงในกลุ่ม Non-FH และประชากรปกติ 2) ผู้ป่วย FH มีระดับ CAC มากกว่ากลุ่ม Non-FH แต่ไม่มีนัยสำคัญ (56.90 Agatston unit (AU) (0-2,370.5 AU) และ 26.65 AU (0-512 AU), P = 0.105) และมีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับ CAC มากกว่า 0 AU มากกว่ากลุ่ม non-FH แต่ไม่มีนัยสำคัญเช่นกัน (ร้อยละ 50.0 และร้อยละ 36.2, P = 0.476) อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วย FH มีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับ AoVC มากกว่า 0 AU มากกว่ากลุ่ม non-FH อย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 16.1 และร้อยละ 1.7, P = 0.006) ระดับ CAC มีความสัมพันธ์กับอายุ total LDL-C burden, ความหนาของเอ็นร้อยหวาย และคะแนนความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไทย (Thai CV risk score) (R = 0.530, 0.364, 0.293 และ 0.528 ตามลำดับ, P <0.005) พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ CAC ที่มากกว่า 0 AU ได้แก่ อายุ ขนาดของเอ็นร้อยหวาย และการใช้ยาลดไขมันกลุ่ม statin (OR 14.30 สำหรับอายุมากกว่า 56 ปี, P = 0.002, OR 11.91, P = 0.005 และ OR 5.91, P = 0.007 ตามลำดับ) สรุป: 1) การวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายด้วยเครื่องหนีบมีความแม่นยำต่ำ การวัดด้วยภาพถ่ายรังสีมีความไวและแม่นยำสูง ในขณะที่การวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความจำเพาะสูง ลักษณะทางกายภาพของเอ็นร้อยหวายที่สนับสนุนการวินิจฉัย FH ได้แก่ ขอบเอ็นร้อยหวายที่ไม่เรียบ ลักษณะภายในผิดปกติทั่วๆ ไป และการมีหินปูน ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางการวินิจฉัยโรคคอเลสเทอรอลสูงทางพันธุกรรมในคนไทย 2) ผู้ป่วย FH มีระดับ CAC สูงกว่าผู้ป่วย non-FH แต่ไม่มีนัยสำคัญ แต่มีสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีระดับ AoVC >0 มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ อายุ ขนาดของเอ็นร้อยหวาย และการใช้ยาลดไขมันกลุ่ม statin สัมพันธ์ระดับ CAC มากกว่า 0 AU อย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในการเลือกการรักษาผู้ป่วยตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCardiovascular Diseasesth_TH
dc.subjectโรคหัวใจและหลอดเลือดth_TH
dc.subjectCoronary Diseaseth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดหัวใจth_TH
dc.subjectFamilial Hypercholesterolemiath_TH
dc.subjectCholesterolth_TH
dc.subjectคอเลสเตอรอลth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาขั้นสูงของลักษณะที่แสดงออกทางคลินิกในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคคอเลสเทอรอลสูงทางพันธุกรรมth_TH
dc.title.alternativeAdvanced clinical phenotyping of Thai patients with familial hypercholesterolemia (FH)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and Objectives: Familial hypercholesterolemia (FH) is the most common genetic cause of cardiovascular disease. This study was aimed to 1) compare Achilles tendon thickness and characteristics using skin calipers, plain radiograph of lateral heels and ultrasonography in 63 FH patients (diagnosed using the Dutch Lipid Clinic Network [DLCN] score above 3 [possible, probable or definite FH]), 58 non-FH patients with elevated LDL-cholesterol (LDL-C) >130 mg/dL and 55 subjects with LDL-C below 130 mg/dL and determine the cutoff values with the highest diagnostic accuracy for FH diagnosis among Thai patients. 2) compare the coronary calcium score (CAC) and aortic valve calcium (AoVC) score using computed tomography in 62 FH patients and 58 non-FH patients Results: 1) Skinfold calipers demonstrated 61% accuracy for diagnosing FH. An anteroposterior (AP) diameter on plain radiographs ≥7.7 mm showed 75% sensitivity, 82% specificity, and 80% accuracy whereas ultrasonographic thickness ≥6.4 mm showed 46% sensitivity, 93% specificity and 76% accuracy and tendon area ≥78 mm2 showed 47% sensitivity, 93% specificity and 77% accuracy. Tendon border irregularities, diffuse hypoechogenicity and calcification were reported in a higher percentage of patients with FH compared with the other 2 groups. 2) FH participants had a nonsignificantly higher CAC score than that of non-FH participants (56.90 AU (0-2,370.5 AU) vs. 26.65 AU (0-512 AU), P = 0.105) with a higher proportion of patients who had a CAC score >0 AU (50.0% vs. 36.2%, P = 0.476). In addition, the FH group also had a greater proportion of subjects who had an AoVC score >0 AU (16.1% vs. 1.7%, P = 0.006). The CAC score of all participants was strongly correlated with age, total LDL-C burden, Achilles tendon thickness and a Thai CV risk score (R = 0.530, 0.364, 0.293 and 0. 528 respectively, P <0.005). Age, Achilles tendon thickness and statin use were significantly associated with CAC >0 AU (OR 14.30 for age >56 years, P = 0.002, OR 11.91, P = 0.005 and OR 5.91, P = 0.007, respectively) Conclusions: 1) Achilles tendon thickness measured by calipers showed low accuracy for diagnosis of FH. An AP diameter on plain radiographs demonstrated highest sensitivity and accuracy, whereas ultrasonographic thickness and area of Achilles tendon showed high specificity. Tendon irregularities, diffuse hypoechogenicity and calcification might serve as supportive findings. These findings may be helpful for the diagnostic criteria for FH in Thailand. 2) FH patients exhibited nonsignificantly higher CAC score than that of non-FH subjects, but the proportion of patients with AoVC >0 was significantly higher. Age, Achilles tendon thickness and statin use were associated with the CAC score >0 in all patients. These findings may be useful in tailoring treatment based on an individual risk of a particular subject.th_TH
dc.identifier.callnoWL355 ว832ก 2565
dc.identifier.contactno63-082
dc.subject.keywordโรคคอเลสเทอรอลสูงทางพันธุกรรมth_TH
dc.subject.keywordClinical Manifestationen_EN
.custom.citationวีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ, Weerapan Khovidhunkit, นิธิพัฒน์ สันดุษฎี, Nitipat Sandusadee, ภัทรวรรณ โกมุทบุตร, Patrawon Gomutput, ภรณี กนกโรจน์, Poranee Ganokroj, สุวรรณา เหมือนเพ็ชร, Suwanna Muanpetch, ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย, Pairoj Chattranukulchai, มนตร์รวี ทุมโฆสิต, Monravee Tumkosit, น้ำผึ้ง นำการุณอรุณโรจน์, Numphung Numkarunarunrote, วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์, Vorasuk Shotelersuk, กัญญา ศุภปีติพร and Kanya Suphapeetiporn. "การศึกษาขั้นสูงของลักษณะที่แสดงออกทางคลินิกในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคคอเลสเทอรอลสูงทางพันธุกรรม." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5494">http://hdl.handle.net/11228/5494</a>.
.custom.total_download14
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2762.pdf
ขนาด: 1.862Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย