Show simple item record

System design of Telepharmacy service in new normal of hospital and drugstore in Regional Health 7

dc.contributor.authorสุณี เลิศสินอุดมth_TH
dc.contributor.authorSunee Lertsinudomth_TH
dc.contributor.authorสินีนาฏ มุ่งมานิตย์มงคลth_TH
dc.contributor.authorSineenard Mungmanitmongkolth_TH
dc.contributor.authorศิวพร ประเสริฐสุขth_TH
dc.contributor.authorSiwapond Prasertsukth_TH
dc.contributor.authorกาญจนาภรณ์ ตาราไตth_TH
dc.contributor.authorKanjanaporn Tarataith_TH
dc.contributor.authorศิริน เพ็ญภินันท์th_TH
dc.contributor.authorSirin Phenphinanth_TH
dc.contributor.authorสุภิญญา ตันตาปกุลth_TH
dc.contributor.authorSupinya Tuntapakulth_TH
dc.contributor.authorเพียงขวัญ ศรีมงคลth_TH
dc.contributor.authorPiengkwan Srimongkolth_TH
dc.contributor.authorเผ่าพงศ์ เหลืองรัตนาth_TH
dc.contributor.authorPaopong Loungrattanath_TH
dc.contributor.authorวัชระ ตันศิริth_TH
dc.contributor.authorWatchara Tansirith_TH
dc.contributor.authorทรัพย์พานิช พลาบัญช์th_TH
dc.contributor.authorSuppanich Palabunth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญทิพา แก้วเกตุทองth_TH
dc.contributor.authorPentipa Kaewketthongth_TH
dc.contributor.authorนิสรา ศรีสุระth_TH
dc.contributor.authorNissara Srisurath_TH
dc.contributor.authorวีรวรรณ รุจิจนากุลth_TH
dc.contributor.authorWeerawan Rujijanakulth_TH
dc.contributor.authorแฉล้ม รัตนพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorChalaem Rattanapanth_TH
dc.date.accessioned2022-03-08T03:18:10Z
dc.date.available2022-03-08T03:18:10Z
dc.date.issued2565-01
dc.identifier.otherhs2765
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5496
dc.description.abstractการบริการเภสัชกรรมทางไกล (telepharmacy) เป็นอีกหนึ่งระบบบริการที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพภายใต้สถานการณ์ที่มีโรคระบาดโควิด-19 อีกทั้งยังสามารถสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านสาธารณสุขและเกิดเป็นรูปแบบการบริการทางเลือกใหม่เพื่อรองรับการแพทย์วิถีใหม่ วิธีการวิจัย งานวิจัยนี้มีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นกระบวนการวิจัยเชิงระบบเน้นกระบวนการของการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานเภสัชกรรมทางไกล มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลในยุคปกติวิถีใหม่ของโรงพยาบาล ร้านยาที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับโรงพยาบาลและร้านยาเดี่ยวในเขตสุขภาพที่ 7 และผลักดันให้เป็นนโยบายของเขตสุขภาพที่ 7 ศึกษาประสิทธิผลของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในโรงพยาบาลและร้านยา ประเมินความคุ้มค่าของบริการเภสัชกรรมทางไกลในมุมมองผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ศึกษาความพึงพอใจและข้อคิดเห็นของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบสาธารณสุขด้านเภสัชกรรมทางไกล ผลการวิจัย มีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อนำมาใช้ในการให้บริการสุขภาพทางไกลโดยใช้ชื่อว่า telehealthregion7 ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกสาขาวิชาชีพสุขภาพ ที่ https://www.telehealthregion7.com/ ซึ่งเป็น web application และได้ออกแบบระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลในยุคปกติวิถีใหม่ของโรงพยาบาลและร้านยา สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระบบ คือ ระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลในโรงพยาบาล ระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลในคลินิกหมอครอบครัว ระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลในร้านยาและระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลเพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด Home Isolation ผลการให้บริการตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2564 ถึง ธันวาคม 2564 จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ลงทะเบียนใช้แพลตฟอร์มมีจำนวนทั้งสิ้น 332 คน เป็นเภสัชกร 240 คน, แพทย์ 35 คน, พยาบาล 43 คน และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ 14 คน บุคลากรทางการแพทย์ที่มีการให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม จำนวนทั้งสิ้น 235 คน คิดเป็นร้อยละ 70.78 ของผู้ที่ลงทะเบียน โดยแบ่งเป็น เภสัชกรจำนวน 152 คน (ร้อยละ 63.33), แพทย์ 33 คน (ร้อยละ 94.29), พยาบาล 40 คน (ร้อยละ 93.02) และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ 10 คน (ร้อยละ 71.43) จำนวนผู้รับบริการที่ลงทะเบียนมีจำนวนทั้งสิ้น 1,392 คน จำนวนผู้รับบริการที่มีการเข้าใช้บริการผ่านแพลตฟอร์ม 801 คน (ร้อยละ 57.54) จำนวนครั้งของการเข้ารับบริการมีจำนวนทั้งสิ้น 2,040 ครั้ง คิดเป็นการใช้เฉลี่ย 2.55 ครั้งต่อคน การให้บริการสามารถครอบคลุมพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ทั้งหมด ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลมหาสารคาม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ดและโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และนอกเขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ โรงพยาบาลราชบุรีและกบินทร์บุรี ในส่วนของประสิทธิผลของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลของโรงพยาบาล ผู้รับบริการมีจำนวนทั้งหมด 297 คน จำนวนครั้งที่มารับบริการ 604 ครั้ง อาการทางคลินิกหลังรับบริการไม่ต่างจากเดิมหรือดีขึ้นมีจำนวนทั้งหมด 294 คน คิดเป็นร้อยละ 98.99 จำนวนปัญหาที่เภสัชกรพบทั้งหมด 323 ปัญหา และเภสัชกรสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แล้ว 262 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 81.11 สำหรับประสิทธิผลของการให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรร้านยาผ่านระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล จำนวนผู้รับบริการทั้งหมด 167 คน จำนวนผู้เลิกบุหรี่สำเร็จอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน, อย่างน้อย 2 เดือน, อย่างน้อย 3 เดือน, อย่างน้อย 4 เดือน และอย่างน้อย 6 เดือน มีจำนวน 118 คน (ร้อยละ 70.66), 64 (ร้อยละ 38.32), 36 (ร้อยละ 21.56), 14 (ร้อยละ 8.38), 3 (ร้อยละ 1.80) ตามลำดับ คะแนนความพึงพอใจในภาพรวมของผู้รับและผู้ให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในส่วนของโรงพยาบาล อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด 4.81±0.42 และ 4.61±0.50 (คะแนนเต็ม 5) ตามลำดับ คะแนนความพึงพอใจในภาพรวมของผู้รับและผู้ให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในส่วนของร้านยา อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด 4.37±0.64 และ 4.4±0.50 (คะแนนเต็ม 5) ตามลำดับ ต้นทุนรวมต่อครั้งของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลของโรงพยาบาลคือ 95.58 บาท ต้นทุนต่อประสิทธิผลที่ผู้ป่วยอาการคงที่หรือดีขึ้นคือ 196.36 บาทต่อราย ต้นทุนต่อประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จเท่ากับ 220.34 บาทต่อปัญหา ผลการประเมินต้นทุนประสิทธิผลของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลโดยเภสัชกรร้านยา พบว่า ต้นทุนรวมต่อรายของการให้บริการ A1-A5 ครบโดยมีการให้บริการ A1-A4, A4F และ A5 จำนวน 5 ครั้ง คือ 631.55 บาท ต้นทุนรวมต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จ 1 เดือน, 2 เดือน, 3 เดือน คือ 298 บาท, 549.44 บาท และ 976.78 บาทตามลำดับ สำหรับ % Cost saving ของค่าเดินทาง ค่าอาหารและที่พัก ค่าสูญเสียโอกาสและค่าใช้จ่ายรวมของผู้รับบริการ มีค่าดังนี้ 65.37±4.50, 60.22±18.36, 10.39±24.34 และ 54.75±17.99 ตามลำดับ บทสรุป การบริการเภสัชกรรมทางไกล เป็นบริการที่มีประสิทธิภาพ ผู้รับบริการพึงพอใจมากที่สุดเพราะเกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการ ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยโดยผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลและร้านยาเพื่อรับยา เพิ่มคุณภาพในการบริการทางเภสัชกรรม ลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะอยู่ในสถานพยาบาลและร้านยา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสถานพยาบาลและร้านยา และสร้างระบบเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนอยู่บ้านเป็นการลดความเสี่ยงและลดโอกาสในการติดเชื้อในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ดังนั้น นโยบายของประเทศจึงควรสนับสนุนให้เกิดบริการเภสัชกรรมทางไกลทั้งในโรงพยาบาลและร้านยาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPharmacyth_TH
dc.subjectเภสัชกรรมth_TH
dc.subjectPharmaceutical Careth_TH
dc.subjectการบริบาลทางเภสัชกรรมth_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการออกแบบระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลในยุคปกติวิถีใหม่ของโรงพยาบาลและร้านยาในเขตสุขภาพที่ 7th_TH
dc.title.alternativeSystem design of Telepharmacy service in new normal of hospital and drugstore in Regional Health 7th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeTelepharmacy is another service system that helps to enhance the efficiency of the health service system under the situation of the Covid-19 epidemic. It can also support the government's public health policy and create a new alternative service model to support a new way of medicine. Methodology: This research has a participatory action research which aims to design a new normal hospital telepharmacy service system, Pharmacy that is a joint service unit with a hospital and a single pharmacy in the region 7 health district and pushes it to be a policy of the region 7 health district. To study the effectiveness of telepharmacy services in hospitals and drugstores. Evaluate the cost-effectiveness of telepharmacy services from a provider-client perspective. Study the satisfaction and opinions of the service recipients and providers and synthesize policy recommendations for the development of telepharmacy systems. Results: A platform has been developed to be used to provide remote health services under the name telehealthregion7 which can be used in all fields of health professions at https://www.telehealthregion7.com/ which is a web application and has designed a long-distance health service system in the normal era, the new way of hospitals and drugstores can be divided into 4 systems, namely, the telepharmacy service system in the hospital, telepharmacy service system in Primary care cluster, telepharmacy service system in Pharmacy and telepharmacy service system for COVID Patient Care Home Isolation. Results of service from February 2021 to December 2021. The total number of medical personnel registered on the platform is 332, including 240 pharmacists, 35 doctors, 43 nurses and 14 other medical personnel. Medical personnel who are provided services through the platform A total of 235 people, representing 70.78% of those registered, were divided into 152 pharmacists (63.33%), 33 doctors (94.29%), 40 nurses (93.02%) and 10 other medical personnel. (71.43 %). The total number of registered service recipients was 1392. The number of service recipients who had access to the service via the platform was 801 (57.54%). The total number of visits to the service was 2040, representing an average of 2.55 times per person. The service can cover all the region 7 health district, including: Khon Kaen Hospital Mahasarakham Hospital, Kalasin Hospital, Roi Et Hospital and Srinagarind Hospital and outside the region 7 health district, including Ratchaburi and Kabinburi hospitals. In terms of the effectiveness of the telepharmacy service system of the hospital. The total number of service recipients was 297, the number of visits was 604 times. The clinical symptoms after receiving the service were not different or improved, totaling 294 people, representing 98.99%. The number of problems that pharmacists found was a total of 323 problems and pharmacists were able to resolve 262 problems or 81.11%. For the effectiveness of smoking cessation services by telepharmacy service system. The total number of service recipients was 167, the number of people who successfully quit smoking for at least 1 month, at least 2 months, at least 3 months, at least 4 months and at least 6 months were 118 (70.66%), 64 (38.32%), 36 (21.56%), 14 (8.38%), 3 (1.80%), respectively. Overall satisfaction scores of recipients and providers in the hospital sector were at the most satisfied level, 4.81±0.42 and 4.61±0.50 (full score 5), respectively. Overall satisfaction scores of recipients and providers in the pharmacy sector were at the most satisfactory level of 4.37±0.64 and 4.4±0.50 (5 full scores), respectively. The total cost per time of telemedicine service at the hospital was 95.58 baht. The cost-effectiveness at which the patient's condition stabilized or improved was 196.36 baht per patient. The cost-effectiveness in resolving the problem successfully was 220.34 baht per problem. The results of the cost-effectiveness assessment of telepharmacy services by pharmacy was found that the total cost per person of complete A1-A5 service with A1-A4, A4F and A5 service 5 times was 631.55 baht. The total cost per 1 month, 2 months, 3 months of successful smoking cessation was 298 baht. 549.44 baht and 976.78 baht, respectively. % Cost saving of travel expenses, food and accommodation, Opportunity loss and total cost of service recipients are as follows: 65.37±4.50, 60.22±18.36, 10.39±24.34 and 54.75±17.99, respectively. Conclusion: Telepharmacy is an efficient service. The service recipient is most satisfied because it benefits the service recipient. Help facilitate patients without having to travel to hospitals and drugstores to receive medicines. Increasing the quality of pharmaceutical services. Reduce the length of time patients stay in hospitals and drugstores. Reduce the cost of traveling to hospitals and drugstores and create a system to encourage people to stay home, reducing the risk and reducing the chance of infection during the epidemic situation. Therefore, the country's policy should encourage telepharmacy services in both hospitals and drugstores.th_TH
dc.identifier.callnoQV737 ส819ก 2565
dc.identifier.contactno64-032
dc.subject.keywordเภสัชกรรมทางไกลth_TH
dc.subject.keywordTelepharmacyth_TH
dc.subject.keywordTelepharmacy Serviceth_TH
dc.subject.keywordสถาปัตยกรรมข้อมูลth_TH
dc.subject.keywordData Architectureth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 7th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 7th_TH
dc.subject.keywordNew Normalth_TH
dc.subject.keywordความปรกติใหม่th_TH
dc.subject.keywordฐานวิถีชีวิตใหม่th_TH
dc.subject.keywordtelehealthregion7th_TH
.custom.citationสุณี เลิศสินอุดม, Sunee Lertsinudom, สินีนาฏ มุ่งมานิตย์มงคล, Sineenard Mungmanitmongkol, ศิวพร ประเสริฐสุข, Siwapond Prasertsuk, กาญจนาภรณ์ ตาราไต, Kanjanaporn Taratai, ศิริน เพ็ญภินันท์, Sirin Phenphinan, สุภิญญา ตันตาปกุล, Supinya Tuntapakul, เพียงขวัญ ศรีมงคล, Piengkwan Srimongkol, เผ่าพงศ์ เหลืองรัตนา, Paopong Loungrattana, วัชระ ตันศิริ, Watchara Tansiri, ทรัพย์พานิช พลาบัญช์, Suppanich Palabun, เพ็ญทิพา แก้วเกตุทอง, Pentipa Kaewketthong, นิสรา ศรีสุระ, Nissara Srisura, วีรวรรณ รุจิจนากุล, Weerawan Rujijanakul, แฉล้ม รัตนพันธุ์ and Chalaem Rattanapan. "การออกแบบระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลในยุคปกติวิถีใหม่ของโรงพยาบาลและร้านยาในเขตสุขภาพที่ 7." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5496">http://hdl.handle.net/11228/5496</a>.
.custom.total_download390
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year52
.custom.downloaded_fiscal_year75

Fulltext
Icon
Name: hs2765.pdf
Size: 11.87Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record