แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความชุกและอุบัติการณ์ของการติดเชื้อด้วยการตรวจทางซีโรโลยีและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เปรียบเทียบกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย COVID-19 ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ภายในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorณสิกาญจน์ อังคเศกวินัยth_TH
dc.contributor.authorNasikarn Angkasekwinaith_TH
dc.contributor.authorกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจth_TH
dc.contributor.authorKulkanya Chokephaibulkitth_TH
dc.contributor.authorอรศรี วิทวัสมงคลth_TH
dc.contributor.authorOrasri Wittawatmongkolth_TH
dc.contributor.authorจตุรงค์ เสวตานนท์th_TH
dc.contributor.authorJaturong Sewatanonth_TH
dc.contributor.authorโกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์th_TH
dc.contributor.authorKovit Pattanapanyasatth_TH
dc.contributor.authorรุจิภาส สิริจตุภัทรth_TH
dc.contributor.authorRujipas Sirijatuphatth_TH
dc.contributor.authorวินัย รัตนสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorWinai Ratanasuwanth_TH
dc.contributor.authorสุวิมล นิยมในธรรมth_TH
dc.contributor.authorSuvimol Niyomnaithamth_TH
dc.date.accessioned2022-03-15T03:17:54Z
dc.date.available2022-03-15T03:17:54Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.otherhs2773
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5506
dc.description.abstractหลักการและเหตุผล บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานด่านหน้า เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีโอกาสติดเชื้อโควิด ทำให้มีโอกาสต้องตรวจสวอปบ่อยครั้ง การตรวจด้วยวิธีทางซีโรโลยี ทำได้ง่ายและสามารถใช้ในการเฝ้าระวังได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความชุกและอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ SARS-CoV2 ในบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการตรวจทางซีโรโลยี วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบสังเกตไปข้างหน้าในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ รวม 360 คน โดยเป็นบุคลากรด่านหน้า 240 คน และที่ไม่ใช่ด่านหน้า 120 คน ดำเนินการศึกษาที่ รพ.ศิริราช ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ถึง เดือนเมษายน 2564 โดยนัดอาสาสมัครเจาะเลือด รวม 4 ครั้ง ที่แรกเข้าโครงการ, 4 สัปดาห์, 12 สัปดาห์ และ 48 สัปดาห์ และตรวจซีโรโลยี รวม 3 วิธี คือ ชนิดได้ผลเร็วรายงานผลเป็นบวกหรือลบ (Pan-IgG [Elecsys Anti-SARS-CoV-2]) และ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG ซึ่งรายงานผลเป็นค่า optical density โดย cut-off ผลการตรวจเป็นลบที่ 0.64 และ cut-off ผลการตรวจเป็นบวกที่ 1.60 และจะส่งตรวจ microneutralization assay เพิ่มเติมในรายที่ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG เป็นบวก ผลการศึกษา จากอาสาสมัครในโครงการ รวม 360 คน พบว่าร้อยละ 82.2 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 32.5 ปี สำหรับผลการตรวจชนิดได้ผลเร็วด้วยวิธี Pan-IgG พบผลเป็นบวก 1 ราย ในกลุ่มที่ไม่ใช่ด่านหน้า โดยพบผลบวกตั้งแต่แรกจนสิ้นสุดการศึกษา สำหรับผลการตรวจ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG จากการตัดค่า cut-off ดังกล่าว พบว่ามีอาสาสมัคร 2 ราย ในกลุ่มบุคลากรด่านหน้าที่มีระดับแอนติบอดีสูงขึ้นชัดเจนใกล้เคียงกับผู้ป่วยติดเชื้อ ตั้งแต่แรกเข้าโครงการ โดยพบว่ามีระดับสูงคงอยู่จนถึง 48 สัปดาห์ คิดเป็นความชุกการติดเชื้อจากการตรวจ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG ร้อยละ 0.83 (2/240) ในกลุ่มบุคลากรด่านหน้า และมีอาสาสมัคร 1 ราย ในกลุ่มที่ไม่ใช่บุคลากรด่านหน้าที่มีระดับแอนติบอดีสูงโดยตรวจพบที่ 12 สัปดาห์ คิดเป็นอุบัติการณ์การติดเชื้อร้อยละ 0.83 ในกลุ่มบุคลากรที่ไม่ใช่ด่านหน้า และ พบว่ามีอาสาสมัคร 13-21 รายในกลุ่มบุคลากรด่านหน้า และ 4-7 ราย ในกลุ่มที่ไม่ใช่ด่านหน้าที่มีระดับแอนติบอดีอยู่ในเกณฑ์ระหว่างกลาง (borderline) ระหว่าง cut-off ที่เป็นบวกและลบ โดยผลการตรวจเพิ่มเติมสำหรับตัวอย่างที่บวกและอยู่ในเกณฑ์ระหว่างกลางด้วยวิธี micro-neutralization assay ต่อเชื้อไวรัสที่แยกได้ในประเทศไทย พบว่ามีผลเป็นลบ (titer < 10) ทุกตัวอย่าง ดังนั้น ระดับ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG ที่สูงจึงไม่น่าเป็นการติดเชื้อโควิด-19 แต่อาจเป็นแอนติบอดีต่อเชื้อโคโรนาไวรัสที่ก่อโรคในคนชนิดอื่นที่พบมีการระบาดในประเทศไทย ซึ่งต้องการการศึกษาต่อไป บทสรุป ความชุกและอุบัติการณ์การติดเชื้อของบุคลากรต่ำมากทั้งที่ทำงานด่านหน้าหรือที่ไม่ใช่ด่านหน้า และไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มในสถานการณ์ที่มีการระบาดไม่รุนแรงหรือกว้างขวาง ซึ่งน่าจะทำให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพของมาตรการการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วยโควิดด้วยการใส่ชุดป้องกันที่เหมาะสม การตรวจทางซีโรโลยีด้วยวิธีต่างกันอาจมีผลที่แตกต่างกันและเป็นได้ว่าอาจมีปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่ก่อโรคในคนชนิดอื่นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectSerologyth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในการทำงานth_TH
dc.subjectการทำงาน--ความเสี่ยงth_TH
dc.subjectOccupational Safetyth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectPrevalenceen_EN
dc.subjectIncidenceen_EN
dc.titleความชุกและอุบัติการณ์ของการติดเชื้อด้วยการตรวจทางซีโรโลยีและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เปรียบเทียบกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย COVID-19 ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ภายในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeSeroprevalence, Incidence and Immunological Responses to SARS-CoV-2 Infection among Frontline COVID-19 Healthcare Workers (HCWs) compare with Non-COVID-19 HCWs during the COVID-19 Pandemic at Siriraj Hospital, Bangkokth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Healthcare workers (HCWs) pose a higher risk of infection caused by SARS-CoV-2, leading to more frequent swab and testing with real-time PCR. Serology test to detect SARS-CoV-2 antibodies in the blood is easier and could be useful as part of surveillance. This study aims to determine the prevalence and incidence of infection caused by SARS-CoV-2 by serology testing in frontline HCWs. Methods: This study was prospectively conducted in 360 HCWs (240 frontline and 120 non-frontline HCWs) at Siriraj Hospital between June 2020 and April 2021. Blood samples taken at baseline, 4 weeks, 12 weeks and 48 weeks were tested for qualitative IgG using Pan-IgG [Elecsys Anti-SARS-CoV-2]) and quantitative IgG measured by anti-SARS-CoV-2 RBD IgG enzymes-linked immunoassay (ELISA). The cut-off of negative and positive control were 0.64 and 1.60, respectively. The samples positive by anti-SARS-CoV-2 RBD IgG were tested with micro-neutralizing assay (NT). Results: Among 360 HCWs, 82.2% were female and the median age was 32.5 years. One participant in non-frontline HCWs had positive rapid IgG test from baseline throughout 48 weeks but negative testing by anti-SARS-CoV-2 RBD IgG. With the cut-off determined in the study, two participants in frontline HCWs had positive anti-SARS-CoV-2 RBD IgG from baseline throughout 48 weeks and no participants had seroconversion afterward, given the prevalence of SARS-CoV-2 infection among frontline HCWs of 0.83% (2/240). One participant in non-frontline HCWs had seroconversion at 12 weeks, given the incidence of SARS-CoV-2 infection among non-frontline HCWs of 0.83% (1/120). Approximately 13-17 participants in frontline and 4-7 participants in non-frontline HCWs had borderline level of anti-SARS-CoV-2 RBD IgG. Testing with micro-NT for all samples with positive and borderline anti-SARS-CoV-2 RBD IgG showed negative result with the titers less than 1:10. Further study of the cross-reactivity with other human coronavirus is ongoing. Conclusions: The prevalence and incidence of HCWs was extremely low and no difference of infection was found between the frontline and non-frontline HCWs during the limited spread of transmission and well-control of COVID-19 outbreak. Serology testing with different methods may show the discordant result. Further study of the cross-reactivity with other human coronavirus is ongoingth_TH
dc.identifier.callnoWC503 ณ259ค 2564
dc.identifier.contactno63-063
dc.subject.keywordHealthcare Workersth_TH
dc.subject.keywordซีโรโลยีth_TH
dc.subject.keywordการตรวจทางซีโรโลยีth_TH
.custom.citationณสิกาญจน์ อังคเศกวินัย, Nasikarn Angkasekwinai, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, Kulkanya Chokephaibulkit, อรศรี วิทวัสมงคล, Orasri Wittawatmongkol, จตุรงค์ เสวตานนท์, Jaturong Sewatanon, โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์, Kovit Pattanapanyasat, รุจิภาส สิริจตุภัทร, Rujipas Sirijatuphat, วินัย รัตนสุวรรณ, Winai Ratanasuwan, สุวิมล นิยมในธรรม and Suvimol Niyomnaitham. "ความชุกและอุบัติการณ์ของการติดเชื้อด้วยการตรวจทางซีโรโลยีและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เปรียบเทียบกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วย COVID-19 ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ภายในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5506">http://hdl.handle.net/11228/5506</a>.
.custom.total_download60
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2773.pdf
ขนาด: 1.166Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย