dc.contributor.author | รัตนพร ตั้งวังวิวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Ratanaporn Tangwangvivat | th_TH |
dc.contributor.author | สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี | th_TH |
dc.contributor.author | Supaporn Wacharapluesadee | th_TH |
dc.contributor.author | ปภัสสร ภิญโญพรพาณิชย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Papassorn Pinyopornpanish | th_TH |
dc.contributor.author | ชฎาภรณ์ เพียรเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | Chadaporn Phiancharoen | th_TH |
dc.contributor.author | ภัทรา ดวงแก้วกาศ | th_TH |
dc.contributor.author | Phattra Duengkaewkad | th_TH |
dc.contributor.author | ชิติ หุ่นอุตกฤษณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chiti Hoonaukit | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-03-18T07:16:23Z | |
dc.date.available | 2022-03-18T07:16:23Z | |
dc.date.issued | 2564-12-20 | |
dc.identifier.other | hs2776 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5530 | |
dc.description.abstract | กรมควบคุมโรค โดยกองโรคติดต่อทั่วไป ได้ดำเนินโครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในบ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณจังหวัดที่พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสิ่งปฏิกูลหรือน้ำเสียจากบ่อเกรอะ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสิ่งปฏิกูลหรือน้ำเสียจากบ่อเกรอะกับผลการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ ซึ่งการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในบ่อบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันโรค COVID-19 จะช่วยยืนยันความสัมพันธ์กับผลการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันโรค COVID-19 ในพื้นที่ ทั้งนี้ผลของการดำเนินการศึกษาในโครงการจะช่วยให้เกิดหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในเบื้องต้นว่าปริมาณสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่พบในน้ำเสียที่สูงขึ้น สัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ที่มีการเก็บตัวอย่าง รวมถึงการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่พบในน้ำเสีย นำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค COVID-19 ต่อไป ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำเสียจากสถานที่ที่ทำการศึกษา ได้แก่ ตลาด โรงงาน หอพัก มหาวิทยาลัยและเรือนจำ ในพื้นที่จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันโรค COVID-19 ได้แก่ กรุงเทพมหานครและสมุทรสาคร ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม 2564 รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 248 ตัวอย่าง จาก 11 สถานที่ เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี real time RT-PCR ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในน้ำเสียจากบ่อเกรอะ พบผลบวกรวมทั้งสิ้น 118 ตัวอย่าง ในสถานที่ 10 สถานที่ มีความสอดคล้องกับการตรวจพบผู้ป่วยยืนยัน รวมถึงได้มีการตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อดังกล่าวร่วมด้วย และมีความสัมพันธ์กันอย่างมากในทิศทางเดียวกัน จากการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ตรวจพบ ในสิ่งแวดล้อมถือเป็นตัวแทนของประชากรในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยาและเป็นการเตือนภัยล่วงหน้าได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้ออยู่แล้วและกำลังผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข โดยการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องเชื่อมโยงกับการดำเนินการ การสืบสวนโรคในภาคสนาม รวมถึงการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกเพื่อระบุผู้สงสัยติดเชื้อและวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการต่อไป การพบชิ้นส่วนพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ในสิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างมาตรการด้านสาธารณสุข เช่น การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีขึ้น การสวมหน้ากากอนามัยและการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลดและเฝ้าระวังการแพร่ระบาด รวมถึงการกลายพันธ์ของเชื้อในวงกว้างต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | สารพันธุกรรม | th_TH |
dc.subject | บ่อบำบัดน้ำเสีย | th_TH |
dc.subject | Wastewater | th_TH |
dc.subject | น้ำเสีย | th_TH |
dc.subject | Sewage | th_TH |
dc.subject | การปนเปื้อน | th_TH |
dc.subject | Contamination | th_TH |
dc.subject | การเฝ้าระวัง | th_TH |
dc.subject | Surveillance | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.subject | Disease Management | en_EN |
dc.subject | การควบคุมโรค | th_TH |
dc.title | การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณจังหวัดที่พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อ | th_TH |
dc.title.alternative | Wastewater surveillance for SARS-CoV-2 in provinces that have confirmed COVID-19 cases | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The project of wastewater surveillance for SAR-CoV-2 in provinces that have comfirmed COVID-19 cases was conducted by Division of Communicable Diseases, Department of Disease Control. The objectives of this project were to detect SARS-CoV-2 in wastewater and to characterize the relationship between the presences of SARS-CoV-2 genetic materials and the number of infected cases in the particular areas. The result could elucidate the correlation between degree of SARS-CoV-2 genetic materials and the number of COVID-19 patients in the community. Moreover, our result could be useful for disease surveillance and monitoring programs, conducive to setting appropriate measures and policies in controlling this kind of virus effectively in the future. From May to December 2021, a total of 248 of wastewater samples was collected from 11 places, including markets, apartments, universities, and prisons, located in the COVID-19 outbreak areas, Bangkok and Samut Sakhon. The real time RT-PCR technique was used for SARS-CoV-2 detection. The results showed that 118 samples were detected from 10 places, related to the number of infected cases. Moreover, variant of COVID-19 was also analyzed. Based on our results, we suggest that the detection of SARS-CoV-2 in wastewater can be used for COVID-19 monitoring and for integrating with other disease investigation practices in the community. Since individual detection of COVID-19 infection is limited, wastewater analysis could be considered one of the sensitive and cost-effective strategies. Routine implementation of this surveillance tool together with personal hygiene practices and social distancing would significantly improve our preparedness against new or re-occurring viral outbreaks. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ร372ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 64-077 | |
dc.subject.keyword | Wastewater Surveillance | th_TH |
dc.subject.keyword | Genetic Materials | th_TH |
.custom.citation | รัตนพร ตั้งวังวิวัฒน์, Ratanaporn Tangwangvivat, สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี, Supaporn Wacharapluesadee, ปภัสสร ภิญโญพรพาณิชย์, Papassorn Pinyopornpanish, ชฎาภรณ์ เพียรเจริญ, Chadaporn Phiancharoen, ภัทรา ดวงแก้วกาศ, Phattra Duengkaewkad, ชิติ หุ่นอุตกฤษณ์ and Chiti Hoonaukit. "การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณจังหวัดที่พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อ." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5530">http://hdl.handle.net/11228/5530</a>. | |
.custom.total_download | 130 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 39 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 8 | |