Show simple item record

Expanded antimicrobial stewardship program in hospitals in Thailand

dc.contributor.authorภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์th_TH
dc.contributor.authorPinyo Rattanaumpawanth_TH
dc.contributor.authorพรพรรณ กู้มานะชัยth_TH
dc.contributor.authorPornpan Koomanachaith_TH
dc.contributor.authorรุจิภาส สิริจตุภัทรth_TH
dc.contributor.authorRujipas Sirijatuphatth_TH
dc.contributor.authorวลัยพร วังจินดาth_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Wangchindath_TH
dc.date.accessioned2022-03-18T09:03:58Z
dc.date.available2022-03-18T09:03:58Z
dc.date.issued2565-03-15
dc.identifier.otherhs2775
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5531
dc.description.abstractการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ในปี ค.ศ. 2015 องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ Global Antimicrobial Resistance Surveillance System (GLASS) และดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม (antimicrobial stewardship, AMS) เพื่อชะลอปัญหาดังกล่าว โครงการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินประโยชน์และความเป็นไปได้ของการดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลร่วมวิจัยทั้ง 3 แห่ง (โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โรงพยาบาลสุรินทร์และโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี) โดยดำเนินโครงการใน 3 ประเด็นหลักที่มีความสำคัญ คือ โครงการการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล (GLASS antibiogram) โครงการส่งเสริมการใช้แนวทางการรักษาในเวชปฏิบัติเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในโรงพยาบาล (clinical practice guideline, CPG) และโครงการการขออนุมัติการใช้ยาต้านจุลชีพ (antibiotic authorization) โดยมีอายุรแพทย์โรคติดเชื้อของแต่ละโรงพยาบาลเป็นหัวหน้าทีม และโครงการได้ทำการรวบรวมปัญหาและอุปสรรครวมถึงข้อมูลในแง่ประสิทธิภาพของการดำเนินงานทั้งในช่วง pre และ post-implementation เพื่อที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดและดำเนินงานในโรงพยาบาลอื่นๆ ในเขตสุขภาพเดียวกันต่อไป ก่อนเริ่มดำเนินโครงการทางผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย พบว่า ปัญหาสำคัญในการดำเนินงาน คือ ภาระงานอื่นๆ ที่มากเกินไป บุคลากรขาดความรู้ในการดำเนินการ และผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของ AMS นอกจากนี้ในช่วงที่คณะผู้วิจัยเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลร่วมวิจัย ก็พบว่าแม้ทีมผู้รับผิดชอบจะมีความมุ่งมั่นแต่ขาดความพร้อมด้านโครงสร้างการทำงานและทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงาน เช่น ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาขาดเครื่องมือที่จำเป็นในการเพาะเชื้อและรายงานผลความไวที่ถูกต้อง ไม่มีคณะทำงานเฉพาะสำหรับดำเนินการ AMS ในช่วงมกราคม 2562 – ธันวาคม 2563 ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยทั้งหมด 6,625 คน จาก 3 โรงพยาบาลร่วมวิจัย และได้พบข้อมูลที่น่าสนใจจำแนกตามโครงการ ดังนี้ 1. GLASS antibiogram การนำ GLASS antibiogram มาใช้โดยผนวกข้อมูลทางคลินิกและระบาดวิทยาร่วมด้วย ทำให้เห็นภาพรวมของปัญหาเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลได้ชัดเจนขึ้น และเมื่อนำข้อมูลมาสร้างแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลนั้นๆ ก็จะทำให้เลือกใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยพบว่า เชื้อจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล (hospital-acquired infection, HAI) มีสัดส่วนการดื้อยาสูงกว่าเชื้อที่มาจากการติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (community-acquired infection, CAI) และตรวจพบเชื้อ Escherichia coli จำนวนมากจากสิ่งส่งตรวจประเภทเสมหะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการปนเปื้อนของสิ่งส่งตรวจในขั้นตอนการเก็บเสมหะ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่ใช้เกณฑ์ GLASS antibiogram ว่ามี CAI คือ นอนในโรงพยาบาลมาไม่เกิน 2 วัน กลับพบเชื้อก่อโรคที่ลักษณะเข้าได้กับ HAI จากข้อมูลดังกล่าว คณะผู้ทำการวิจัยเล็งเห็นจุดที่สามารถพัฒนาได้ คือ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้เก็บสิ่งส่งตรวจโดยไม่มีการปนเปื้อน และสามารถเก็บข้อมูลเพื่อแยกผู้ป่วย HAI และ CAI เพื่อได้ข้อมูล GLASS antibiogram ที่แม่นยำยิ่งขึ้น 2. Clinical practice guideline การนำ CPG สำหรับรักษาโรคติดเชื้อที่พบบ่อย (การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและปอดอักเสบ) ที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลนั้นๆ มาใช้ช่วยเพิ่มผลการตอบสนองที่ดีต่อการรักษา ช่วยลดระยะเวลาในการนอนในหอผู้ป่วยวิกฤต และระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจ แม้จะไม่ลดระยะเวลาหรือปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพแต่สามารถลดสัดส่วนการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสมลงได้ อย่างไรก็ดีผู้ป่วยในโครงการนี้ทุกรายพบเชื้อก่อโรคจากสิ่งส่งตรวจ ดังนั้นผลจากโครงการวิจัยนี้อาจไม่สามารถนำไปใช้ได้กับผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบเชื้อก่อโรคหรือไม่ได้ส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ 3. Antibiotic authorization การขออนุมัติการใช้ยาต้านจุลชีพสามารถช่วยลดระยะเวลาการใช้ยาต้านจุลชีพทั้งหมด และยาต้านจุลชีพกลุ่มเป้าหมายให้สั้นลงกว่าเดิม ทำให้มีผลการตอบสนองการรักษาด้านคลินิกที่ดีขึ้น และลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลลง อย่างไรก็ดีพบว่ามีปรากฏการณ์ squeezing balloon effect คือ พบว่ามีปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในกลุ่มที่ไม่ได้ควบคุมเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป กล่าวโดยสรุปการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลระดับจังหวัด โดยมุ่งเน้นที่ 3 กลยุทธ์ คือ GLASS antibiogram, CPG และ antibiotic authorization สามารถลดการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสมลง และส่งผลให้คุณภาพในการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงการทั้ง 3 ดำเนินการไปในระยะเวลาเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ดีของแต่ละโครงการอาจจะเป็นผลโดยรวมของทุกๆ โครงการร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการแปลผลเนื่องจากขณะดำเนินโครงการวิจัยมีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อลักษณะของผู้ป่วยที่เข้านอนโรงพยาบาล และการใช้ยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล คณะผู้วิจัยคาดว่าบทเรียนจากโครงการนี้สามารถนำไปขยายผลและก่อประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับรองลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลที่ไม่มีอายุรแพทย์โรคติดเชื้อ หรือยังไม่มีการดำเนินงาน AMS ที่เป็นรูปธรรม ควรเริ่มต้นจากการพัฒนาบุคลากรในโรงพยาบาลให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และเริ่มต้นโครงการให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลนั้นๆ โดยมีโรงพยาบาลร่วมวิจัยเป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการดำเนินงานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectDrug Resistanceth_TH
dc.subjectการดื้อยาth_TH
dc.subjectยา--การดื้อยาth_TH
dc.subjectยา--การควบคุมและป้องกันการดื้อยาth_TH
dc.subjectการดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectAntibiogramth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการขยายมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeExpanded antimicrobial stewardship program in hospitals in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe burden of antimicrobial resistance (AMR) has been increasing worldwide including Thailand. Global Antimicrobial Resistance Surveillance System (GLASS) and antimicrobial stewardship (AMS) are two important pillars of the global action plan on AMR launched by the World Health Organization (WHO) in 2015. Our project aimed to evaluate the impact and feasibility of customised AMS strategies implementation (GLASS antibiogram, Clinical Practice Guideline (CPG) for common infections (bacteremia or sepsis without identified source, urinary tract infections and pneumonia), and antibiotic authorization) under the support of the AMS team at the university hospital. Therefore, we conducted a quasi-experimental (pre- and postintervention) study at three participating hospitals: Sakaeo Crown Prince Hospital, Surin Hospital, and Surat Thani Hospital. Before starting the project, we conducted a national survey to identify the obstacles for AMS implementation at 399 hospitals in Thailand. The major obstacles of AMS program (ASP) implementation identified in this survey were increased workload, lack of AMS knowledge and skills of relevant personnel, and lack of hospital administrator concern. During Jan 2020-Dec 2021, the study enrolled a total of 6,625 patients from three participating hospitals. The summary results of each study are shown below. 1. GLASS antibiogram: Laboratory-based antibiograms from 2019 and GLASS-based antibiograms from 2020 were created and compared. Prevalence of multidrug-resistance in community-acquired infection (CAI)-related bacteria was higher than those in hospital-acquired infection (HAI)-related bacteria, which may have been related to misclassification of colonized bacteria as “true” pathogens and HAIs as CAIs. The results of this study on AMR surveillance using GLASS methodology may not be valid owing to several inadequate data collections and the problem of specimen contamination. Given these considerations, the related personnel should receive additional training on the best practice in specimen collection and the management of AMR surveillance data using the GLASS approach. 2. Clinical practice guideline After the CPG implementation, there were significant reductions in the mean duration of intensive care unit stay, and the mean duration of ventilator use. The CPG-implementation was independently associated with favourable clinical outcomes. These findings confirmed that the locally developed CPG implementation is feasible and effective in improving patient outcomes and reducing antimicrobial consumption. 3. Antibiotic authorization: Implementation of antibiotic authorization could reduce the amount of targeted antimicrobial consumption, the mean length of hospital stay, and increase the favourable clinical response. The study findings confirmed that implementation of antibiotic authorization at provincial hospitals under experienced AMS team’s guidance was feasible and useful. In conclusions, our studies confirmed that the implementation of GLASS antibiogram, CPG, and antibiotic authorization at non-university hospitals under the guidance of an experienced AMS team could reduce inappropriate antimicrobial consumption and improve patients’ clinical outcomes. However, the COVID-19 situation during the postimplementation period may confound the study results. It was possible that the pattern of antimicrobial use and characteristics of hospitalized patients altered by the COVID-19 situation. Therefore, we do believe that the study findings could be a good model for the implementation of customized AMS strategies at other hospitals with limited resources. The related personnel should receive additional training to strengthening the ability to perform a good practice in AMR surveillance and AMS program.th_TH
dc.identifier.callnoQV350 ภ524ก 2565
dc.identifier.contactno62-045
dc.subject.keywordAntimicrobial Resistanceth_TH
dc.subject.keywordGlobal Antimicrobial Resistance Surveillance Systemth_TH
dc.subject.keywordGLASSth_TH
dc.subject.keywordGLASS Antibiogramth_TH
dc.subject.keywordAntimicrobial Stewardshipth_TH
dc.subject.keywordAntibiotic Authorizationth_TH
dc.subject.keywordRational Useen_EN
.custom.citationภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์, Pinyo Rattanaumpawan, พรพรรณ กู้มานะชัย, Pornpan Koomanachai, รุจิภาส สิริจตุภัทร, Rujipas Sirijatuphat, วลัยพร วังจินดา and Walaiporn Wangchinda. "การขยายมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลในประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5531">http://hdl.handle.net/11228/5531</a>.
.custom.total_download79
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year31
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2775.pdf
Size: 4.202Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record