แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

dc.contributor.authorนภชา สิงห์วีรธรรมth_TH
dc.contributor.authorNoppcha Singwerathamth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญนภา ศรีหริ่งth_TH
dc.contributor.authorPennapa Sriringth_TH
dc.contributor.authorอรนุช ทองจันดีth_TH
dc.contributor.authorOranuch Thongchundeeth_TH
dc.contributor.authorวุฒิกุล ธนากาญจนภักดีth_TH
dc.contributor.authorWuttikul Thanakanjanaphakdeeth_TH
dc.contributor.authorอัจฉรา คำมะทิตย์th_TH
dc.contributor.authorAdchara Khammathitth_TH
dc.contributor.authorกิตติพร เนาว์สุวรรณth_TH
dc.contributor.authorKittiporn Nawsuwanth_TH
dc.date.accessioned2022-04-04T02:18:08Z
dc.date.available2022-04-04T02:18:08Z
dc.date.issued2565-02-28
dc.identifier.otherhs2782
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5547
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประเมินตัวทำนายผลลัพธ์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของความต้องการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจยอมรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) 3) ศึกษาเหตุผลและความเต็มใจที่จะจ่ายในการได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) และ 4) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการได้รับวัคซีนกรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) ในประเทศไทย ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความชุกของความต้องการการรับวัคซีนและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) ระยะนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ยังไม่ได้รับและได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครอบคลุมทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย จำนวน 1,740 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผ่านการพัฒนาตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง .67-1.00 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression ระยะที่ 2 เหตุผลและความเต็มใจที่จะจ่ายต่อการได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) เป็นการศึกษาเชิงปริมาณการประมาณความพึงพอใจที่จะจ่าย การประเมินค่าจากประชาชนโดยตรง ใช้คำถามจากการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ในการกำหนดข้อเสนอแนะทางนโยบาย ระยะที่ 3 จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฉีดวัคซีนกรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) ในประเทศไทย โดยการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 รอบ ประกอบด้วย ตัวแทนกองทุนด้านสุขภาพ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 3) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความชุกของความต้องของการรับวัคซีนโควิด-19 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) พบว่า ร้อยละ 86.38 มีความต้องการรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเป็นกลุ่มที่ยังไม่เคยได้ฉีดเข็มที่ 1 ร้อยละ 9.16 ยังไม่เคยได้ฉีดเข็มที่ 2 ร้อยละ10.76 และยังไม่เคยได้ฉีดเข็มที่ 3 ร้อยละ 53.19 2. ความเต็มใจยอมรับวัคซีนโควิด-19 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) พบว่า ร้อยละ 66.72 มีความเต็มใจยอมรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มต่อไป โดยมีเพียง ร้อยละ 8.22 ที่ไม่เต็มใจยอมรับ ส่วนกลุ่มที่เคยได้รับวัคซีนเข็ม 1, 2 และ 3 แล้วนั้น มีเพียงจำนวน 1 ใน 3 เท่านั้นที่ยืนยันว่าใช่วัคซีนชนิดที่ตนต้องการแล้ว และมีจำนวนใกล้เคียงกันที่คิดว่า ยังไม่ใช่และไม่แน่ใจว่าใช่วัคซีนชนิดที่ตนต้องการแล้วหรือยัง 3. ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจยอมรับวัคซีนโควิด-19 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) ได้แก่ 1) ความตั้งใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 2) ความมั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 3) ทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 4) เข็มที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 5) อายุ 6) เขตที่อยู่อาศัย 7) ประวัติการเคยได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 8) การเป็นบุคลากรทางการแพทย์ และ 9) รายได้ 4. เหตุผลและความเต็มใจที่จะจ่ายต่อการได้รับวัคซีนโควิด-19 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) คือการมีประสิทธิผลป้องกันได้ รองลงมาคือ ความปลอดภัยของวัคซีน และองค์การอนามัยโลกรับรอง ส่วนเหตุผลที่ไม่ยอมรับ มากที่สุด คือ ข่าวด้านลบเกี่ยวกับวัคซีน โดยมีเหตุผลที่เลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวนมากกว่า ร้อยละ 50 โดยมีจำนวนมาก 5 ลำดับแรก เรียงตามลำดับดังนี้ คือ เพื่อป้องกันตนเอง มากที่สุด รองลงมาคือ เพื่อความปลอดภัยของครอบครัว เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และเพื่อความปลอดภัยของเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องจ่ายค่าวัคซีนโควิด-19 เอง สำหรับกระตุ้นซ้ำ ผู้ตอบประมาณ 1 ใน 5 ยินดีจ่ายในราคา เข็มละ 1-5,000 บาท ค่ามัธยฐานของราคาต่อเข็ม คือ 500 บาท ค่าเปอร์เซ็นไทล์ 25 และ 75 ของราคาต่อเข็ม เท่ากับ 300 และ 1,000 บาท และ 5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการได้รับวัคซีนโควิด-19 กรณีเข็มที่ 1 และกรณีกระตุ้นซ้ำ (เข็ม 2 ขึ้นไป) ในประเทศไทย ได้แก่ ความเป็นกลางของสื่อและการนำเสนอข้อมูลของสื่อโดยเน้นในเรื่องของการนำเสนอในประเด็นวัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ ไม่ใช่ป้องกันโรคได้ และการจัดสรรวัคซีนที่สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน การให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นสื่อกลางในรณรงค์ฉีดวัคซีน การสร้างความมั่นใจในเรื่องของวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนกลุ่มที่มีการศึกษา มีความรู้หรือมีรายได้สูง การจัดโครงการหรือแคมเปญที่ขับเคลื่อนเพื่อทำให้คนโสดอยากรับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มวัยที่ควรได้รับวัคซีน จัดการกับข่าวเท็จและผู้ปล่อยข่าวอย่างจริงจัง และประสิทธิภาพของวัคซีนที่ประเทศไทยผลิตเองth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัคซีนth_TH
dc.subjectVaccinesth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectความเต็มใจจ่ายth_TH
dc.subjectWillingness to Payth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019th_TH
dc.title.alternativeWillingness to Accept and Willingness to Pay on a COVID-19 Vaccine Booster Shot in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study of willingness to accept and pay for a COVID-19 vaccine in Thailand aims to 1) explore the prevalence of accepting the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots 2) factors associated with accepting the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots 3) reasons and willingness to pay for the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots and 4) the policy recommendation for the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots. This study conducts 3 phases. Phase 1 is to study the prevalence and factors of accepting the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots by cross-sectional research of having vaccinated COVID-19 group and having not been vaccinated COVID-19 group, covered four regions in Thailand, by an online survey questionnaire. The total sample is 1,740 used multiple stratified sampling techniques. Data analysis were by a descriptive statistic and multiple logistic regression. Phase 2 is associated with exploring the reasons and willingness to pay for the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots. The developed questionnaire is from an online survey. Data analysis is a descriptive statistic. The results from phase 2 are defined policy recommendations. Phase 3 is an expert and stakeholder meeting to propose and discuss policy recommendations. The result showed 86.38% of respondents reported the COVID-19 vaccine acceptance. Respondents had no vaccination accounting for 9.16%, 10.76%, and 53.19% for the first, second, and third doses, respectively. 66.72% of the respondents accepted to have the next dose of the COVID-19 vaccine. Only 8.22% of the respondents refused the COVID-19 vaccine. One-third of the respondents received their desired COVID-19 vaccine. Factors related to the willingness to accept the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots were an intention to take the vaccine, vaccine efficacy, attitude towards the COVID-19 vaccine, some doses of the COVID-19 vaccine, age, living area, having Influenza vaccination history, medical personnel, and income. Reasons and willingness to pay for the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots were self-efficacy, safety, and proof by WHO. The main reason for refusing the COVID-19 vaccine was negative news on vaccines. Whereas the main reasons for the COVID-19 vaccine acceptance were protecting themselves, the safety of their families, social responsibility, herd immunity, and safety of their co-workers. One-fifth of respondents reported the willingness to pay for a booster shots vaccine between 1-5,000 Thai baht. News objectivity, in a particular vaccine against the severity of illness more than prevention, increased confidence towards the vaccine to higher-educated and higher-income groups, promoted a campaign for a single status group, priority groups for vaccination, combating fake news, and developed efficacy of the COVID-19 vaccine created in Thailand were the policy recommendations for the COVID-19 vaccine and vaccine booster shots in Thailand.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 น419ค 2565
dc.identifier.contactno64-196
dc.subject.keywordความเต็มใจยอมรับth_TH
dc.subject.keywordWillingness to Acceptth_TH
dc.subject.keywordความเต็มใจที่จะจ่ายเงินth_TH
dc.subject.keywordการฉีดวัคซีนกระตุ้นth_TH
dc.subject.keywordVaccine Boosterth_TH
.custom.citationนภชา สิงห์วีรธรรม, Noppcha Singweratham, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, Pennapa Sriring, อรนุช ทองจันดี, Oranuch Thongchundee, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, Wuttikul Thanakanjanaphakdee, อัจฉรา คำมะทิตย์, Adchara Khammathit, กิตติพร เนาว์สุวรรณ and Kittiporn Nawsuwan. "ความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5547">http://hdl.handle.net/11228/5547</a>.
.custom.total_download210
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year21
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2782.pdf
ขนาด: 4.189Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย