แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาและพัฒนาชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้

dc.contributor.authorศราวุธ เลิศพลังสันติth_TH
dc.contributor.authorSarawut Lerspalungsantith_TH
dc.contributor.authorพรพิพัฒน์ อยู่สาth_TH
dc.contributor.authorPornpipat Yoosath_TH
dc.contributor.authorฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุลth_TH
dc.contributor.authorChadchai Srisurangkulth_TH
dc.contributor.authorประสิทธิ์ วัฒนวงศ์สกุลth_TH
dc.contributor.authorPrasit Wattanawongsakunth_TH
dc.contributor.authorธีระพงษ์ บุญมาth_TH
dc.contributor.authorTeerapong Boonmath_TH
dc.contributor.authorณรงค์ฤทธิ์ สืบนันตาth_TH
dc.contributor.authorNarongrit Suebnuntath_TH
dc.contributor.authorพีรกิตติ์ วิริยะรัตนศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorPerakit Viriyarattanasakth_TH
dc.contributor.authorฝอยฝน ศรีสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorFoifon Srisawatth_TH
dc.date.accessioned2022-04-04T03:20:26Z
dc.date.available2022-04-04T03:20:26Z
dc.date.issued2565-02
dc.identifier.otherhs2783
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5548
dc.description.abstractในสภาวะปกติใหม่ ชุดอุปกรณ์ที่สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ (mobile Isolation precaution unit) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อทางอากาศ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังมีประเด็นที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ผู้ใช้งานที่สำคัญหลายประการ อาทิ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ไม่สะดวกในขั้นตอนการรักษาพยาบาล เช่น การฉายรังสี การตรวจด้วย CT scan ไม่สะดวกในการบำรุงรักษาและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง รวมถึงยังขาดการทดสอบคุณภาพและรับรองมาตรฐานของอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยรวม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ ที่ประกอบด้วยโมดูลสร้างความดันลบและห้องแยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยคำนึงถึงการสามารถถ่ายทอดแก่ผู้ผลิตภายในประเทศให้สามารถขยายผลได้ ลดปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีการทดสอบทั้งในด้านประสิทธิภาพการใช้งานและความปลอดภัยในการใช้งานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเริ่มจากการศึกษาประเด็นปัญหาที่มีอยู่ด้วยการสังเกตการณ์และทำความเข้าใจผู้ใช้ นำมาสรุปเป็นข้อกำหนดเชิงเทคนิคของชุดอุปกรณ์ ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม รวบรวมแนวคิดในการแก้ไขปัญหาแล้วจึงออกแบบ สร้างต้นแบบและพิสูจน์ความถูกต้องของการออกแบบด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและการนำไปใช้ ซึ่งได้ผลการออกแบบระบบระบายอากาศสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ ระบบกรองอากาศประสิทธิภาพสูงและระบบกำจัดเชื้อโรคด้วยรังสียูวี รวมถึงผลการทดสอบต้นแบบด้านความปลอดภัยและการใช้งาน จากการร่วมทดสอบและเก็บข้อมูลจากหน่วยงานผู้ใช้ทั้งหมด 10 หน่วยงาน และนำผลลัพธ์ที่ได้สรุปเป็นแนวทางการผลิตชุดอุปกรณ์ แบบเชิงวิศวกรรมและโครงสร้างต้นทุน รวมถึงมาตรฐานการทดสอบ โดยสามารถสรุปจุดเด่นของชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ที่พัฒนาในโครงการได้ดังนี้ สามารถนำไปวางบนเตียงพยาบาล spinal board, stretcher หรือ scoop ได้, สามารถนำเข้าเครื่องเอกซเรย์และ CT scan ได้ ไม่ต้องนำผู้ป่วยออกมานอกเปล, สามารถเก็บพับได้ ประหยัดพื้นที่ ขนย้ายได้สะดวก เหมาะกับการใช้งานในรถพยาบาล, มีแผงกรองอากาศก่อนขาเข้าเพื่อป้องกันผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำซ้อน, มีช่องสำหรับทำหัตถการและใส่สายอุปกรณ์จากภายนอก และผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 14644 Clean room and associated controlled environments, IEC 60601-1 การทดสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าเครื่องมือแพทย์ และ IEC 60601-1-2 ความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectเครื่องมือแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Devicesth_TH
dc.subjectแพทย์--เครื่องมือและอุปกรณ์th_TH
dc.subjectอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์--มาตรฐานth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีทางการแพทย์th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาและพัฒนาชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้th_TH
dc.title.alternativeStudy and development of mobile isolation precaution unitth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeDuring the COVID-19 pandemic, the patient isolation chamber is crucial as it helps reduce the infection, numbers of medical personnel while transferring patients, and time, as well as protect their safety while taking good care of the COVID-19 patients. The general negative pressure chambers are currently expensive and have various limitations. For example, unable to move intensive care patients with ventilators, inconvenient in some medical procedures e.g., radiation treatment or CT scan, inconvenient and high costs for maintenance, and lack of quality testing and certification of equipment in safety and performance. Therefore, the MTEC research team had developed the PETE (Patient Isolation and Transportation Chamber), a device for transferring patients with respiratory tract problems. The PETE consists of 2 main parts; a clear plastic patient isolator and a negative pressure unit designed to control the air circulation inside the chamber. This PETE innovation is developed in consideration of local manufacture, reduction of shortage necessary medical equipment, and future improvement on the medical devices in accordance with global safety standards. The PETE is designed efficiently and approved after being reviewed along with literature and solution ideas gathered from concerned parties. The outcomes attached with this innovation are an air circulation system, a high-efficiency particulate air filter (HEPA filter), and a UV-C light sterilization system. From a study of current problems and reviews by actual users from 10 sampling institutions, the MTEC research team had digested and concluded for specification of the equipment which its main characteristics or essential features of a product are as follows: Compatible with existing patient transport equipment such as spinal board, stretcher, or scoop, The chamber can be put into the X-ray machine and CT scan, Foldable chamber requires small space to keep and be easy to transport, Pre-inlet filter prevent redundant disease, Chamber gloves ensure safe patient manipulation and additional ports for connection external medical devices and Complies with ISO 14644 standard (Clean room and associated controlled environments), IEC 60601-1 standard (electrical safety testing standard for medical devices) and IEC 60601-1-2 (electromagnetic compatibility)th_TH
dc.identifier.callnoWC503 ศ169ก 2565
dc.identifier.contactno64-040
dc.subject.keywordMobile Isolation Precaution Unitth_TH
dc.subject.keywordPortableen_EN
.custom.citationศราวุธ เลิศพลังสันติ, Sarawut Lerspalungsanti, พรพิพัฒน์ อยู่สา, Pornpipat Yoosa, ฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุล, Chadchai Srisurangkul, ประสิทธิ์ วัฒนวงศ์สกุล, Prasit Wattanawongsakun, ธีระพงษ์ บุญมา, Teerapong Boonma, ณรงค์ฤทธิ์ สืบนันตา, Narongrit Suebnunta, พีรกิตติ์ วิริยะรัตนศักดิ์, Perakit Viriyarattanasak, ฝอยฝน ศรีสวัสดิ์ and Foifon Srisawat. "การศึกษาและพัฒนาชุดอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5548">http://hdl.handle.net/11228/5548</a>.
.custom.total_download24
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2783.pdf
ขนาด: 11.50Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย