แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

เส้นทางการเจ็บป่วยของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความรอบรู้ทางสุขภาพ และกลยุทธ์การสื่อสารในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน

dc.contributor.authorพนม คลี่ฉายาth_TH
dc.contributor.authorPhnom Kleechayath_TH
dc.contributor.authorภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนาth_TH
dc.contributor.authorPhirakan Kai-nunnath_TH
dc.contributor.authorอรุโณทัย วรรณถาวรth_TH
dc.contributor.authorArunothai Wannatawornth_TH
dc.contributor.authorกรรณิกา ปัญญาอมรวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorKanniga Panyaamornwatth_TH
dc.date.accessioned2022-04-12T03:16:52Z
dc.date.available2022-04-12T03:16:52Z
dc.date.issued2565-03
dc.identifier.otherhs2787
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5551
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางการเจ็บป่วย ความรอบรู้ทางสุขภาพ การดำเนินงานในการต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยที่อาศัยในจังหวัดที่มีความชุกของโรคในแต่ละภูมิภาคและกรุงเทพฯ จำนวน 31 คน 2) การวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่อายุระหว่าง 20-60 ปี ที่เป็นผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,600 คน 3) การศึกษาเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการต่อสู้กับโรคเบาหวานของประเทศไทย ได้แก่ รายงาน บทความ งานวิจัย เอกสารการประชุมสัมมนา ข่าว และ 4) การสังเคราะห์ผลการวิจัยเพื่อสร้างกลยุทธ์การสื่อสารในการต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมและการประยุกต์ใช้จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรณรงค์สุขภาพ ด้านสาธารณสุขและด้านนิเทศศาสตร์ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ เส้นทางการเจ็บป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มี 3 ระยะ คือ 1) ระยะช่วงชีวิตก่อนการเจ็บป่วย เป็นช่วงการดำเนินชีวิตก่อนที่เข้าเงื่อนไขความเจ็บป่วย เริ่มแสดงอาการของโรค แล้วจึงเข้ารับการวินิจฉัย 2) ระยะเข้าสู่การรักษา เป็นช่วงที่ทราบผลการวินิจฉัยแล้วตัดสินใจเข้ารับการรักษา เริ่มรับรู้ถึงการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตตามคำแนะนำและวิธีการควบคุมอาการของแพทย์ 3) ระยะการใช้ชีวิตภายใต้เงื่อนไขความเจ็บป่วยในระยะยาว เป็นการรับรู้เงื่อนไขชีวิตที่เปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องมีความสม่ำเสมอในการพบแพทย์ เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยลุกลาม ซึ่งเชื่อมโยงถึงมุมมองการใช้ชีวิตในอนาคตของตนเอง ผลการสำรวจบ่งชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างเริ่มตรวจคัดกรองเบาหวานช่วงอายุ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.6 รองลงมาคืออายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 จำนวนร้อยละ 79.1 ของผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองป่วยเป็นเบาหวานไม่รับรู้ภาวะเสี่ยงมาก่อน กลุ่มตัวอย่างมีภาวะโรคอ้วนและโรคอ้วนอันตราย ร้อยละ 55.1 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำหรับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพอยู่ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพ การแสดงพฤติกรรมในการควบคุมและป้องกันโรค การรู้เท่าทันข้อมูลที่ได้รับจากเพื่อนและสื่อออนไลน์ อยู่ระดับปานกลาง ในขณะที่ การรู้เท่าทันโฆษณาอาหารขนมหวานเป็นความเสี่ยงต่อโรคอยู่ระดับมาก ทักษะการสื่อสารข้อมูลสุขภาพอยู่ระดับมากและความรู้ทางสุขภาพอยู่ระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์เอกสารสรุปได้ว่า การดำเนินงานในการต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับความสำคัญโดยกำหนดเป็นวาระหลักที่มุ่งเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ปรากฏอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ระดับต่างๆ ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เชื่อมโยงกับแผนของหน่วยงานด้านสาธารณสุข ครอบคลุมมิติการพัฒนานโยบาย การสร้างภาคี การจัดทำฐานข้อมูล การพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาการสื่อสาร การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน การพัฒนาสมรรถนะระบบบริการสุขภาพและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมของประชาชน มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ ผลการวิจัยนำมาสู่ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมียุทธศาสตร์ 3 ด้าน ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสื่อสารสาธารณะ (Public Campaign) เพื่อต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลดความเสี่ยงของการเกิดโรค กลุ่มวัยทำงานตอนต้น (18-29 ปี) และกลุ่มวัยทำงานตอนกลาง (30-44 ปี) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสื่อสารให้ความรู้ (Health Education) มีเป้าหมายส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเป้าหมายวัยเด็ก – วัยนักเรียน นักศึกษา ป้องกันการเข้าสู่การเจ็บป่วย และยุทธศาสตร์ที่ 3 การสื่อสารเชิงนโยบาย (Policy Advocacy) เพื่อต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มุ่งเน้นการกระตุ้นให้สาธารณะเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรืออภิปรายร่วมกัน ในประเด็นที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อให้ข้อเสนอของสาธารณะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ช่วยสนับสนุนการต่อสู้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitusth_TH
dc.subjectเบาหวานชนิดที่ 2th_TH
dc.subjectType 2 Diabetesth_TH
dc.subjectเบาหวาน--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitus--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectDiabetes Patientsth_TH
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานth_TH
dc.subjectHealth Literacyth_TH
dc.subjectความรอบรู้ด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectการสื่อสารทางการแพทย์th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleเส้นทางการเจ็บป่วยของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความรอบรู้ทางสุขภาพ และกลยุทธ์การสื่อสารในการต่อสู้กับโรคเบาหวานth_TH
dc.title.alternativePatient Journey of Type 2 Diabetes, Health Literacy and Communication Strategy for Fight to Control Diabetesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the patient journey, health literacy, and operations in fighting against type 2 diabetes in Thailand as well as to establish communication strategies to combat type 2 diabetes using mixed methods which consisted of: 1) an in-depth interview using selective sampling of 31 people residing in provinces with a high prevalence of type 2 diabetes from each region and Bangkok, 2) a survey research using a sample size of 1,600 people in Thailand aged 20-60 years who have type 2 diabetes or are at risk of developing type 2 diabetes, selected by simple randomization, 3) a document analysis of documents related to operations in fighting against diabetes in Thailand including reports, articles, research papers, symposium papers, and news, and 4) the research synthesis to develop communication strategies to combat type 2 diabetes in which the accuracy, appropriateness, and applications were reviewed by specialists in health campaigns, public health, and communication arts. The research findings are as follows: The patient journey of type 2 diabetes consists of 3 stages which are 1) the pre-diabetic stage, the stage before the patient meets the criteria of the disease, shows symptoms, and receives the diagnosis, 2) the treatment stage, the stage that the patient receives the diagnosis, decides to get treatments, and acknowledges lifestyle changes according to the doctors’ recommendations on how to manage the symptoms, 3) the long-term living with the disease stage, the stage in which the patient acknowledges the changing life conditions, sees the physicians regularly, and watches out for worsening symptoms, which is related to the patient’s future lifestyle. The survey findings indicated that 37.6% of the respondents started testing for diabetes when they were 41-50 years old, followed by 30.0% who started testing when they were 31-40 years old. Also, 79.1% of the respondents who have been diagnosed with diabetes were previously unaware that they were at risk. There were also more female than male respondents who have obesity (55.1%). In terms of health literacy regarding type 2 diabetes, the respondents had some skills to access to health information. Moreover, their ability to utilize health information, take actions to control and prevent the disease, and screen the information from friends and online media were moderate, while their ability to see through the advertisements on food and desserts as a cause of the disease and their skills of health communication were high. Finally, their knowledge on health is at the highest level. The document analysis results revealed that Thailand acknowledges the importance of operations in fighting against type 2 diabetes and puts an emphasis on promoting good health and fitness for Thai people. This is reflected in different levels of strategic plans including the 20-year national strategy that is linked to the plans of the public health authorities and includes the developments of policies, partnerships, databases, bodies of knowledge, communications, community capacity, health service system competency, and appropriate environments to aid the changes in behaviors of children, working adults, and senior citizens. All research findings were used to create three communication strategies to combat type 2 diabetes as follows: Strategy 1: Public campaigns to fight against type 2 diabetes. The objective of this strategy is to raise awareness and encourage changes in behaviors that will lead to the reduction in the risks of the disease. This strategy is aimed at young working adults (18-29 years old) and middle-aged working adults (30-44 years old). Strategy 2: Health education. The objective of this strategy is to raise knowledge and understanding on type 2 diabetes as well as to prevent the disease. This strategy is aimed at young children to university-aged individuals. Strategy 3: Policy advocacy to fight against type 2 diabetes. The objective of this strategy is to encourage the public to exchange ideas and engage in discussions about type 2 diabetes to contribute to the changes in policies on the fight against type 2 diabetes.th_TH
dc.identifier.callnoWK810 พ187ส 2565
dc.identifier.contactno63-138
dc.subject.keywordโรคเบาหวานชนิดที่ 2th_TH
dc.subject.keywordความแตกฉานด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordการรู้เท่าทันด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordความฉลาดทางสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordMedical Communicationth_TH
dc.subject.keywordกลยุทธ์การสื่อสารth_TH
dc.subject.keywordCommunication Strategyth_TH
dc.subject.keywordความรู้ทางสุขภาพth_TH
.custom.citationพนม คลี่ฉายา, Phnom Kleechaya, ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา, Phirakan Kai-nunna, อรุโณทัย วรรณถาวร, Arunothai Wannataworn, กรรณิกา ปัญญาอมรวัฒน์ and Kanniga Panyaamornwat. "เส้นทางการเจ็บป่วยของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความรอบรู้ทางสุขภาพ และกลยุทธ์การสื่อสารในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5551">http://hdl.handle.net/11228/5551</a>.
.custom.total_download176
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year39
.custom.downloaded_fiscal_year8

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2787.pdf
ขนาด: 7.934Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย