แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ปัญหา อุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางแก้ไข

dc.contributor.authorรัตพงษ์ สอนสุภาพth_TH
dc.contributor.authorRattaphong Sonsuphapth_TH
dc.contributor.authorสิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorSitanon Jesdapipatth_TH
dc.contributor.authorอิสรีย์ ภักดิ์ศรีแพงth_TH
dc.contributor.authorItsaree Phaksipaength_TH
dc.date.accessioned2022-04-22T03:07:35Z
dc.date.available2022-04-22T03:07:35Z
dc.date.issued2565-02
dc.identifier.otherhs2795
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5556
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 : ปัญหา อุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางแก้ไข มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดหาเวชภัณฑ์เกี่ยวกับโรค COVID-19 ได้แก่ วัคซีน ชุดตรวจโควิด (Antigen Test Kit - ATK) ยาฟาวิพิราเวียร์ของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนในไทย โดยเปรียบเทียบกระบวนการและหลักเกณฑ์การจัดหาเวชภัณฑ์ดังกล่าวในต่างประเทศ อีกทั้งศึกษาการปรับปรุงนโยบายและการบริหารจัดการวัคซีนของภาครัฐ และบทบาทของสถาบันวัคซีนแห่งชาติในการจัดหาวัคซีนในกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาวัคซีนต้นแบบ และเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบายและการบริหารจัดการวัคซีนของภาครัฐให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาด จากการศึกษาพบว่า 1. การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างมาก เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าว สามารถกลายพันธุ์และแพร่กระจายไปสู่คนทุกวัย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วมากกว่า 440 ล้านคน และเสียชีวิตไป แล้ว 6 ล้านคน รัฐบาลหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำทางการแพทย์ทั่วโลก ในการเร่งรัดพัฒนาวัคซีนเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด จากสถานการณ์และเงื่อนไขดังกล่าวเป็นปัจจัยเอื้อให้กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงสามารถเข้าถึงวัคซีนและเวชภัณฑ์ได้ก่อนกลุ่มประเทศยากจนและกำลังพัฒนา นอกจากนั้นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและเวชภัณฑ์อีกด้วย อาทิ สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรปและจีน รวมทั้งรัสเซีย จึงสามารถจองวัคซีนและเวชภัณฑ์ได้ก่อน โดยเฉพาะ Vector วัคซีนของบริษัท AstraZeneca และ mRNA ของบริษัท Pfizer และบริษัท J&J ยกเว้นประเทศจีน และรัสเซียที่ใช้วัคซีนที่ทดลองและพัฒนาโดยบริษัทในประเทศตนเอง เช่น วัคซีน Sinovac ,Sinopharm และ Sputnik V เป็นต้น องค์การอนามัยโลกได้รับรองมาตรฐานวัคซีนที่ใช้ได้ในภาวะฉุกเฉิน นโยบายของรัฐบาลเกือบทั่วโลก คือ จัดหาวัคซีนให้ได้เร็วและมากที่สุด ด้วยราคาเท่าใดก็ได้ ในขณะที่วัคซีนในตลาดโลกมีจำนวนจำกัด กลายเป็นของหายาก ทำให้บริษัทผู้ผลิตกลายเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดราคาเอง 2. เปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อวัคซีน COVID-19 พบว่า สหรัฐอเมริกาใช้วิธีจองวัคซีนโดยให้เงินงบประมาณให้แก่บริษัท AstraZeneca และบริษัท Pfizer เพื่อดำเนินการทดลองวิจัยและพัฒนาวัคซีน ด้วยเงื่อนไขที่ว่า หากการทดลองผลิตวัคซีนไม่สำเร็จไม่ต้องคืนเงิน ส่วนประเทศที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่จะดำเนินการคล้ายกับกรณีประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น แคนาดา สามารถจองวัคซีนได้เกือบ 5 เท่าของจำนวนประชากรในประเทศ สิงคโปร์ไม่มีปัญหาจากกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง จึงสามารถทำสัญญาสั่งจองวัคซีนล่วงหน้าได้ ในปริมาณมากและรวดเร็ว แม้จะยังไม่ได้รับการรับรองจาก Health Science Authority สำหรับฟิลิปปินส์จะมีบริบทใกล้เคียงกับไทย เพราะมีข้อจำกัดภายใต้กฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง ไม่สามารถจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อจองวัคซีนได้ เว้นแต่ประธานาธิบดีจะใช้อำนาจเห็นชอบ หรือ “ปลดล็อค” จากข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าวนั้น อีกทั้งการให้ภาคเอกชนและรัฐบาลท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดหาและกระจายวัคซีน ทำให้สามารถจัดหาวัคซีนได้เร็วกว่าไทย กรณีประเทศไทย พบว่า ในระยะแรกของการแพร่ระบาด ภาครัฐจะไม่สามารถดำเนินการจัดหาวัคซีนได้อย่างง่ายนัก เพราะข้อจำกัดของ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ไม่เอื้อและขาดความชัดเจนในการปฏิบัติ ทำให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดซื้อวัคซีนและเวชภัณฑ์ได้ทันที 3. เนื่องจาก COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังขาดองค์ความรู้เช่นเดียวกันทั่วโลก ปัญหาและอุปสรรคในการจัดหาวัคซีนและเวชภัณฑ์ของไทยเป็นผลมาจากกฎหมายต่างๆ ถูกออกแบบไว้เพื่อปฏิบัติในสถานการณ์ปกติ เช่น พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 จึงเป็นข้อจำกัดทำให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการไม่สามารถจัดซื้อวัคซีนและเวชภัณฑ์ได้อย่างทันท่วงที สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว จะไม่อนุญาตให้จัดซื้อในสิ่งที่ยังไม่มีสินค้า ยังไม่รับรองผล รวมทั้งต้องระบุวันส่งมอบวัคซีนที่แน่นอน ถึงแม้ว่าภายหลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) รวมทั้ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีการหารือกันเพื่อพิจารณากำหนดแนวปฏิบัติให้แก่หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่จัดซื้อวัคซีนและเวชภัณฑ์สามารถจัดซื้อได้ โดยให้ยึดแนวปฏิบัติตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 115 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1) รัฐบาลควรปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ให้เกิดความคล่องตัว โดยอาจปรับจากสาระสำคัญตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 115 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 แล้วปรับให้เป็นมาตราใดมาตราหนึ่งหรือมาตราเฉพาะเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ 2) การปรับตัวขององค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดการความรู้ (Knowledge Management) ผ่านบทเรียนและประสบการณ์จากวิกฤติ COVID-19 ครั้งนี้ เพื่อการปรับตัวรองรับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต 3) รัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อสถาบันวัคซีนแห่งชาติในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนา ทำหน้าที่ประสานงาน รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงทางวัคซีนของไทย ให้มีศักยภาพเพียงพอต่อการพัฒนาวัคซีนต้นแบบไว้ใช้ในกรณีโรคอุบัติใหม่ในอนาคต 4) รัฐบาลควรแก้ปัญหาในภาวะวิกฤติเมื่อเกิดโรคอุบัติใหม่ที่ทางการแพทย์ยังขาดองค์ความรู้ ขาดวิธีป้องกันและรักษาได้ โดยยึดความปลอดภัยและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง บนฐานคิด “ให้ความรู้ทางวิชาการนำการเมือง” และยกระดับความโปร่งใส ความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนผ่านแนวคิด Open data, Open Governmentth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectวัคซีนth_TH
dc.subjectVaccinesth_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์th_TH
dc.subjectMedical Suppliesth_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์--การบริหารth_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Administrationth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ปัญหา อุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางแก้ไขth_TH
dc.title.alternativeManagement of medical supplies for Coronavirus Disease 2019: Problems, obstacles and solutions for public and private sector procurementth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research on Medication Management for COVID-19 Infectious Diseases: Problems and Obstacles to Public, Private Sector Procurement and Solutions aimed to study the problems and obstacles in procurement of COVID-19 medicines, such as vaccines. ATK, Favipiravir by government agencies and the private sector in Thailand through comparing the processes and criteria for procurement of such pharmaceuticals abroad and to study the improvement of the government's vaccine policy and management and the role of the National Vaccine Institute in providing emergency vaccines or to enhance the public and the development of a prototype vaccine, and to obtain recommendations for improving the government's vaccine policy and management in accordance with the outbreak situation. The findings revealed that 1. The COVID-19 outbreak has greatly impacted the public health, social and economic systems around the world. The virus can mutate and spread to people of all ages. As a result, the number of infected people around the world continues to increase until the end of February 2022, with more than 440 million people infected worldwide and 6 million dead. Many governments, especially high-income countries, have partnered with leading medical companies around the world to develop vaccines to stop the epidemic. The aforementioned circumstances and conditions allow high-income countries to have access to vaccines and medical supplies before poor and developing countries. High-income countries are also home to vaccine and pharmaceutical companies such as the United States, the European Community and China, as well as Russia. These countries can reserve vaccines and pharmaceuticals, in particular, Vector vaccines of AstraZeneca and mRNA of Pfizer and J&J, with the exception of China and Russia that use vaccines tested and developed by their own domestic companies such as Sinovac, Sinopharm and Sputnik V vaccines. The World Health Organization has adopted a standard for vaccines that can be used in emergencies. The policy of most governments around the world is to provide vaccines as quickly and as possible for any cost. While vaccines on the global market are limited and becoming scarce. As a result, the manufacturing company becomes the authority to set the price itself. 2. Compared with the COVID-19 vaccine procurement process, the United States uses a vaccine reservation method by contributing budgets to AstraZeneca and Pfizer for trials, research and development of vaccines on the condition that: If the vaccine trial is unsuccessful, a refund is not required. Most high-income countries similar to the United States, such as Canada, can reserve vaccines at nearly five times the population of the country. Singapore is undisputed by procurement laws and is able to pre-order vaccines in large quantities and quickly, even though they are not endorsed by the Health Science Authority. The Philippines is in a similar context to Thailand because there are restrictions under procurement laws and cannot pay upfront to reserve vaccines, unless the president exercises his or her authority to approve or “unlock” from such legal restrictions. Furthermore, the participation of the private sector and local governments in vaccine procurement and distribution makes it possible to procure vaccines faster than in Thailand. In the case of Thailand, it was found that in the first phase of the epidemic, the government was unable to provide vaccine procurement easily because of the limitations of the Government Procurement and Supplies Administration Act, B.E. 2560, which was not conducive and a lack of clarity in practice. The relevant government agencies were unable to immediately purchase vaccines and medical supplies. 3. As COVID-19 is an emerging disease that still lacks knowledge as well as around the world, problems and obstacles in the procurement of vaccines and medicines in Thailand result from laws being designed to operate under normal circumstances. For example, the Government Procurement and Supplies Administration Act B.E. 2560 (2017). It is a limitation that governments and relevant agencies at the operational level cannot procure vaccines and medical supplies in a timely manner. The essence of the said law does not allow the purchase of unstocked items and the result is not guaranteed, and the exact delivery date of the vaccine must be specified. Even after The Comptroller General's Department, Office of the Ombudsman, and the NACC, as well as the Office of the Council of State have discussed guidelines for government agencies responsible for purchasing vaccines and medical supplies. It is adhering to the guidelines for the Government Procurement and Procurement Management Committee's letter, No. Kor Khor (Kor.Wor.Jor.) 0405.2/Wor 115 dated 27 March 2020 for greater flexibility and agility in operations. Suggestions 1) The government should amend the Government Procurement and Supplies Administration Act, B.E. 2560 (2017) to be more flexible. It may adjust from the material matter according to the letter of the Committee on for the Government Procurement and Procurement Management Committee's letter, No. Kor Khor (Kor.Wor.Jor.) 0405.2/Wor 115 dated 27 March 2020 to be any section or additional specific section to increase flexibility for the staff working and create transparency and accountability. 2) Adaptation of medical and public health organizations to respond to emergencies Organizations and relevant agencies should manage knowledge (KM) through lessons and experiences from this COVID-19 crisis for adaptation to support emerging diseases in the future. 3) The government should prioritize on the National Vaccine Institute as a research and development agency and to coordinate and seek cooperation with agencies, international organizations to ensure Thailand's vaccine security to have enough potential to develop a prototype vaccine for use in case of emerging disease in the future. 4) The government should address the crisis when emerging medical diseases still lack knowledge, prevention and treatment methods by basing the safety and benefits of the people as the base of "educating academics leading to politics" and enhance transparency and confidence among the people through the concept of Open data, Open Government.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ร378ก 2565
dc.identifier.contactno64-227
dc.subject.keywordMedical Supplies--Administrationth_TH
dc.subject.keywordMedical Supplies--Purchasingth_TH
dc.subject.keywordAntigen Test Kitth_TH
dc.subject.keywordATKth_TH
dc.subject.keywordฟาวิพิราเวียร์th_TH
dc.subject.keywordFavipiravirth_TH
.custom.citationรัตพงษ์ สอนสุภาพ, Rattaphong Sonsuphap, สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์, Sitanon Jesdapipat, อิสรีย์ ภักดิ์ศรีแพง and Itsaree Phaksipaeng. "การบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ปัญหา อุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางแก้ไข." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5556">http://hdl.handle.net/11228/5556</a>.
.custom.total_download307
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2795.pdf
ขนาด: 3.226Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย