Policy Recommendation: Promoting Health Literacy for Delayed Progressive Chronic Kidney Disease of Diabetes Mellitus and Hypertensive Patients in the 4th Public Health Region
dc.contributor.author | ปัฐยาวัชร ปรากฎผล | th_TH |
dc.contributor.author | Padthayawad Pragodpol | th_TH |
dc.contributor.author | อรุณี ไชยฤทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Arunee Chaiyarit | th_TH |
dc.contributor.author | อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ | th_TH |
dc.contributor.author | Uthaitip Chanpen | th_TH |
dc.contributor.author | กนกพร เทียนคำศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Kanokporn Thiankumsri | th_TH |
dc.contributor.author | ขนิษฐา แสงทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Khanittha Sangthong | th_TH |
dc.contributor.author | วงศ์ทิพารัตน์ มัณยานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Wongtiparrat Manyanon | th_TH |
dc.contributor.author | ชาญณรงค์ รุจิระชาติกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Channarong Ruchirachatkool | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-04-28T06:40:30Z | |
dc.date.available | 2022-04-28T06:40:30Z | |
dc.date.issued | 2565-01 | |
dc.identifier.other | hs2797 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5558 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research & Development) ในรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของดอน นัทบีม (Nutbeam, 2000; 2008; 2009) แนวคิด An integrated conceptual model of health literacy ของซอเร็นเซ็น (Sorensen & et al, 2012) และแนวคิดองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพของบราช (Brach et al, 2017) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 บุคลากรทีมสุขภาพที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง และเครือข่ายชุมชนหรือกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชะลอไตเสื่อม ดำเนินการวิจัยใน 8 จังหวัด ของเขตสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วยจังหวัด นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ 5 วัตถุประสงค์ ดังนี้ ระยะที่ 1 คือระยะศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา (R1) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อม และปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การเกิดโรคไตวายเรื้อรัง และระบบบริการสุขภาพในการชะลอไตเสื่อมของสถานบริการสุขภาพเขตสุขภาพที่ 4 ระยะที่ 2 คือระยะพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง และระบบบริการต้นแบบในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมเขตสุขภาพที่ 4 (D1, R2, D2, R3) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ข้อ ได้แก่ 3) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4 และ 4) เพื่อพัฒนาระบบบริการต้นแบบในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงขององค์กรต้นแบบในเขตสุขภาพที่ 4 ระยะที่ 3 คือระยะการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (D3) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การวิจัย 1 ข้อ คือ 5) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4 (D3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง 2) แบบสอบถามการเป็นองค์กรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง 3) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือทุกชนิดพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่า CVI .97, 1.0 และ .97 ตามลำดับ และทดสอบค่าความเที่ยงทั้งฉบับโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบราคได้ .94, .96, และ .96 ตามลำดับ และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) แนวคำถามปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้างสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพ และสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 เกี่ยวกับการเป็นองค์กรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อม และ 2) แนวคำถามกึ่งโครงสร้างสำหรับผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง และระบบบริการต้นแบบในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมเขตสุขภาพที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression) และ pair t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ใช้การตีความ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ด้วยหลักแห่งเหตุผล สร้างเป็นข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในภาพรวมทุกด้าน 3.59 (SD = .81) อยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ (Mean = 3.85, SD = .81) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (Mean = 3.40, SD = 1.02) และปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 - .05 (p ≤ .01 - .05) ได้แก่ เพศ ความสามารถในการได้ยิน ความพอเพียงของรายได้ การได้รับข้อมูลจากสื่อหลากหลายช่องทาง การเข้าร่วมกิจกรรมสุขภาพ การมีบทบาททางสังคมเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข และการได้รับข้อมูลสุขภาพแบบกลุ่มและสื่อออนไลน์ 2. ค่าเฉลี่ยการเป็นองค์กรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง 2.77 (SD = 1.02) โดยพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการเป็นองค์กรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mean = 2.83, SD = .93) และด้านองค์กรและผู้นำองค์กรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (mean = 2.73, SD = 1.09) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ถึงการเป็นองค์กรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 46.96 (n = 54) สำหรับสถานการณ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อมของสถานบริการสุขภาพเขตสุขภาพที่ 4 มีทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ แต่ยังไม่สอดคล้องกับแนวคิดองค์กรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นการให้สุขศึกษา เจ้าหน้าที่ไม่รู้ความหมายและแนวทางการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ แต่สามารถให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงในการชะลอไตเสื่อมได้ มีการให้ความรู้แบบรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปปรับพฤติกรรม มีการคัดกรองระยะความเสื่อมของไตแล้วจัดการตามปัญหาที่พบ บุคลากรทีมสุขภาพส่วนน้อยได้รับการพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพแต่ไม่พบรูปแบบที่ชัดเจนในการพัฒนาบุคลากรสู่การเป็นองค์กรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และบุคลากรทีมสุขภาพต้องการแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาตนเองสู่ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพในการชะลอไตเสื่อมของสถานบริการสุขภาพเขตสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย ผู้นำและการนำองค์กร 4 แบบ คือ 1) ทำมาก่อนเขาให้ทำ 2) ยังไม่รู้นโยบายก็เลยไม่ทำ 3) เขาให้ทำ ทำอย่างที่เราเข้าใจ และ 4) เขาให้ทำ อบรมให้เรา เราทำได้ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคไตวายเรื้อรัง และความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงกับโรคไตวายเรื้อรังน้อยมาก เนื่องจากยังไม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ขาดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ วิเคราะห์ความถูกต้องความน่าเชื่อถือของข้อมูล/แหล่งข้อมูลสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วยต้องการได้รับการสนับสนุนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อมโดยการดูแลที่เฉพาะเจาะจงมีสื่อที่เข้าใจง่าย น่าเชื่อถือและเพียงพอ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถตัดสินใจนำไปใช้ในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมได้ 3) รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมเป็นการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงผ่านทักษะการเรียนรู้ทางปัญญา ทักษะทางพฤติกรรม และทักษะทางสังคม ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการสอนสุขศึกษาแบบรวบยอด การให้คำปรึกษาทางคลินิกเป็นรายบุคคล ร่วมกับการบูรณาการการฝึกทักษะการอ่าน การพูดคุยสื่อสาร การรู้จักตัวเลขค่าสำคัญ การรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลที่ได้รับ และการฝึกทักษะการจัดการตนเองที่ประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย การแก้ปัญหา การกำกับติดตาม การสร้างแรงจูงใจ และการประเมินผล เพื่อใช้ประกอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและชะลอไตเสื่อมที่ผู้ป่วยได้ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง (Tailored made intervention) มีการใช้ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยและข้อมูลสำคัญสั้นๆ ที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการชะลอไตเสื่อม โดยเน้นการมีส่วนร่วมโต้ตอบของผู้ป่วยในทุกกิจกรรม (Interactive) ประกอบการใช้สื่อที่หลากหลายอย่างเหมาะสม และมีการใช้เทคนิคการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทีมสุขภาพ ทั้งแบบเผชิญหน้าและการสื่อสารผ่านโทรศัพท์และไลน์กลุ่ม ที่ผู้ป่วยต้องเข้าร่วม จำนวน 9 ครั้ง แบ่งเป็นกิจกรรมที่สถานบริการสุขภาพ 5 ครั้ง การติตตามเยี่ยมบ้าน จำนวน 2 ครั้ง และการโทรศัพท์เยี่ยม จำนวน 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 7 เดือน ภายหลังการหลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม (t = 11.407) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม (t = 8.041) สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการทั้งในภาพรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ น้ำหนัก (t = 6.951) เส้นรอบเอว (t = 6.777) ความดันซีสโตลิก (t = 6.100) ความดันไดแอสโตลิก (t = 8.617) ค่าน้ำตาลในเลือด (t = 3.745) ค่าน้ำตาลในเลือดสะสม (t = 3.838) ค่า Blood Urea Nitrogen (t= 3.117) ค่า Creatinine (t = 5.089) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอัตราการกรองของไต (t = -8.216) เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถชะลอไตเสื่อมได้ จำนวน 138 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.46 โดยมีค่าเฉลี่ยของการทำงานของไตลดลงน้อยกว่า 5% เท่าเดิมและเพิ่มขึ้นแต่ไม่เกิน 5% และเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% เท่ากับ 1.70 (SD = 0.74), 2.84 (SD = 1.41), และ 13.49 (SD = 10.69) ตามลำดับ 4) ระบบบริการสุขภาพต้นแบบเพื่อการชะลอไตเสื่อมของสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิมีคุณลักษณะ 10 ประการ คือ 1) ผู้บริหารนำแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพเพื่อการชะลอไตเสื่อม 2) พัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่บุคลากรในระบบบริการสุขภาพเพื่อการชะลอไตเสื่อม 3) ใช้รูปแบบการบริการสุขภาพเพื่อการชะลอไตเสื่อมที่มีการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4) จัดสิ่งแวดล้อมและช่องทางที่เอื้อต่อการเข้าถึงข้อมูลและบริการ และการติดป้ายบอกทาง 5) จัดให้มีสื่อและสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับข้อมูลการชะลอไตเสื่อมที่ง่ายต่อการเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ 6) เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและครอบครัวมีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพเพื่อการชะลอไตเสื่อม 7) พัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชนผ่านบ้าน วัด โรงเรียน 8) สื่อสารถึงความครอบคลุมของสิทธิการรักษาและสิ่งที่ผู้รับบริการต้องจ่ายเองอย่างชัดเจน 9) จัดช่องทางส่งต่อเพื่อให้ผู้รับบริการรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และ 10) ผู้บริหารเข้าไปมีส่วนร่วมวางแผนเพื่อปรับระบบให้มีการดูแลผู้ที่ต้องชะลอไตเสื่อมอย่างต่อเนื่องกับระบบบริการแม่ข่าย สำหรับสถานบริการสุขภาพในระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิ มีคุณลักษณะ 4 ประการ ใน 11 ประการ ที่แตกต่างไปจากระบบของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ได้แก่ 1) ใช้รูปแบบการบริการสุขภาพเพื่อการชะลอไตเสื่อมที่มีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกคลินิกที่ต้องมีการชะลอไตเสื่อม 2) จัดทีมหลักและช่องทางติดต่อเพื่อให้คำปรึกษาแก่ทีมของหน่วยบริการปฐมภูมิลูกข่าย 3) พัฒนาฐานข้อมูลที่เอื้อต่อการดูแลผู้รับบริการที่ต้องชะลอไตเสื่อม และ 4) เปิดโอกาสให้ผู้บริหารของหน่วยบริการปฐมภูมิลูกข่ายเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนเพื่อปรับระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม และเพื่อก่อให้เกิดความต่อเนื่องของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและเกิดความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพ ควรให้สถานบริการสุขภาพทุกระดับวางแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมร่วมกัน 5) การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อมเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนจำเป็นต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์และการดำเนินงานเชิงรุกอย่างเป็นระบบด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการสุขภาพ ผู้บริหาร ชุมชน เขตสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุขฯลฯ โดยต้องมีการดำเนินการที่ชัดเจนอย่างต่อเนื่องหลากหลายวิธี และมีรูปแบบที่เหมาะสมเฉพาะเจาะจงกับข้อมูลปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูง นับตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัย และสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและสังคม รวมถึงการปรับระบบบริการและวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรทีมสุขภาพให้มีการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อม โดยยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลางและเป็นเจ้าของสุขภาพตนเอง บนพื้นฐานของข้อมูล การสื่อสารที่ดี ความรู้วิทยาการใหม่ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อีกทั้งทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับ social determinant of health เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ประชาชนมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี มี Life-long learning และมีเศรษฐานะที่สามารถเลี้ยงชีพตนเองและใส่ใจสุขภาพได้ รวมถึงมีการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอไตเสื่อมที่ควรดำเนินการทั้งในสถานบริการและนอกสถานบริการเป็นสำคัญ ดังรายละเอียดตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคไต | th_TH |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject | Kidney Diseases | th_TH |
dc.subject | Chronic Kidney Disease | th_TH |
dc.subject | เบาหวาน | th_TH |
dc.subject | Diabetes | th_TH |
dc.subject | Diabetes Mellitus | th_TH |
dc.subject | โรคความดันโลหิตสูง | th_TH |
dc.subject | Hypertension | th_TH |
dc.subject | Health Literacy | th_TH |
dc.subject | ความรอบรู้ด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4 | th_TH |
dc.title.alternative | Policy Recommendation: Promoting Health Literacy for Delayed Progressive Chronic Kidney Disease of Diabetes Mellitus and Hypertensive Patients in the 4th Public Health Region | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The development of policy recommendation: promoting health literacy for delayed progressive chronic kidney disease (CKD) of diabetes mellitus and hypertensive patients in the 4th public health region research was the research & development by using mixed method design. Health literacy concept of Nutbeam (2000; 2008; 2009), an integrated conceptual model of health literacy of Sorensen & et al. (2012), and health literate organization of Brach et al. (2017) were used as the conceptual framework in this study. Also, literatures review and evidence-base were integrated into the conceptual framework. Data were collected from diabetes and/or hypertensive patients with 3rd CKD, healthcare providers, and community networks or related group to delay progressive CKD in eight provinces of the 4th public health region that were Nakornnayok, Nonthaburi, Pathum Thani, Phra Nakhon Si Ayutthaya Lopburi, Saraburi, Singburi, and Aungthong. The study was divided into three phases within five purposes as follows: Phase 1 was situation analysis (R1) and included 2 purposes that were to: 1) examine the levels of health literacy to delay progressive CKD among diabetes and/or hypertensive patients, and 2) study the situation of health literacy promotion, CKD, and healthcare systems to delay progressive CKD in the 4th public health region. Phase 2 was the period of the development and testing the model of promoting health literacy to delayed progressive CKD, and developing the prototype model of healthcare service to delayed progressive CKD in the 4th public health region (D1, R2, D2, R3). In phase 2, it covered two study purposes that were to: 3) develop and test the model of promoting health literacy to delayed progressive CKD among diabetes and/or hypertension, and 4) develop the model of health literacy to delayed progressive CKD system among diabetes and/or hypertensive patients in the 4th public health region. Phase 3 was the period of the development of the policy (D3). The study in phase 3 included one purpose that was to: 5) develop policy recommendation to promote health literacy to delayed progressive CKD among diabetes and/or hypertension in the 4th public health region. The study instruments included both quantitative and qualitative tools. The quantitative instruments were 1) the health literacy to delayed progressive CKD in diabetes and/or hypertensive patient questionnaire, 2) the health literate organization promotion to delayed progressive CKD in diabetes and/or hypertensive patient questionnaire, and 3) the assessment form of self-management to delay progressive CKD in diabetes and/or hypertensive patents. All instruments were tested for validity by five experts and CVI were .97, 1.0, and .97 respectively. Cronbach’s alpha reliability were .94, .96, and .96 respectively. Qualitative instrument included 1) the semi-structure open-end question about health literate organization to delay progressive CKD for healthcare providers, and diabetes and/or hypertensive with stage 3rd CKD patients, and 2) the semi-structure question for related person and stakeholders who related to develop policy recommendation. The experimental instrument was the model of the promoting health literacy to delayed progressive CKD in the 4th public health region. Quantitative data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, multiple regression procedure, and pair t-test. Qualitative data were analyzed by content analysis which was interpretation, synthetization, and analyzation as reasonable criteria for developing inductive conclusion. Study results revealed as follows: 1. Average score of the health literacy to delayed progressive CKD of diabetes mellitus and/or hypertensive patients with stage 3rd CKD in the 4th public health region was at more levels (mean = 3.59, SD = .81). The most average score was the health decision aspect (mean = 3.85, SD = .81). The lowest average score of health literacy score was media literacy (mean = 3.45, SD = 1.02). Sex, ability of listening, sufficiency of income, receiving information from various sources, participating in health activities, receiving information by group, receiving various information channel, and having social role as a healthcare volunteer were statistically significantly on levels of health literacy to delayed progressive CKD at .00 - .05 (p ≤ .01 - .05). 2. Average score of health literate organization to delayed progressive CKD in diabetes and/or hypertensive patients with stage 3rd CKD was at the more levels (mean = 2.77, SD = 1.02). The most average score was the aspect of the participation in health literate organization to delayed progressive CKD in diabetes and/or hypertensive patients (mean = 2.83, SD = .93). The lowest average score was the organization and leader of organization aspect (mean = 2.73, SD = 1.09). The total scores of health literate organization to delayed progressive CKD in diabetes and/or hypertensive patients with stage 3rd CKD were at neutral level 46.96% (n = 54). The situation of the promotion of health literacy to delayed progressive CKD of healthcare settings in the 4th public health region were found among primary, secondary, and tertiary healthcare settings, however, they did not follow the concept of health literate organization. The major activities were health education. Healthcare providers did not know the meaning of health literate organization and the method to promote health literacy. Nevertheless, they can provide healthcare services to diabetes and/or hypertensive patients to delayed progressive CKD by health education both individual and group for the patient to modify their behaviors. Additionally, healthcare providers screened for CKD and managing the problems of the patients. Few healthcare providers received training of health literate organization. Healthcare providers would like the clear methods and guidelines to develop them to be health literate organization to delayed progressive CKD in the 4th public health region. Healthcare organization leaders and leading style included 4 methods as 1) doing health literacy before they ordered, 2) did not know policy of health literacy and did not doing anything, 3) they order us to do health literacy and I do as my understanding, and 4) they ordered us to do health literacy, and I can do it because they provided us the training of health literacy. Diabetes and/or hypertension with the 3rd stage CKD patients have less knowledge about CKD, and relationship between diabetes/hypertension and CKD because these patients did not experience abnormal symptoms and they cannot access, understand, and analyze reliable data/sources of health data. Patients would like the support to have health literacy to delayed progressive CKD through the specific care, easy to understand, reliability and sufficiency media to develop knowledge, understanding, and deciding for self-management to delayed progressive CKD. 3) The model of promoting health literacy to delayed progressive CKD among diabetes and/or hypertension in the 4th public health region. The program focused on the promotion of health literacy and self-management through the training for cognitive skills, behavior skills, and social skills. The model, also, included comprehensive health education, individual counseling, training for reading skill, communication skill, knowing important number, and media literacy skill. Also, training for self-management that included goal setting, problem solving, monitoring, motivation, and evaluation were conducted to modify health behaviors for controlling diabetes mellitus, hypertension, and delaying CKD. Patients can decide to choose suitable methods that were appropriate to their contexts (tailored made intervention). The use of health information and short message that fit to delay progressive CKD was added into the model. The patients were required to interact in all activities. The program used various media, communication technique, and good relationship between patients and healthcare team both in person, by telephone, and line application. The number of activities were nine times that included five times in healthcare settings, 2 times home visit, and 2 times telephone visit through seven months. After participating in the program, diabetes and/or hypertensive patients had average score of health literacy to delayed progressive CKD (t = 11.407), and average score of self-management to delayed progressive CKD (t = 8.041) to be statistically significantly higher than the score before participating in the program at 0.01 level (p< .01). Clinical outcomes that included body weight (t = 6.951), waist circumstance (t = 6.777), systolic blood pressure (t = 6.100), diastolic blood pressure (t = 8.617), fasting plasma glucose (t = 3.745), HbA1c (t = 3.838), blood urea nitrogen (t = 3.117), and creatinine (t = 5.089) were statistically significantly lower than those clinical outcomes before participating in the program at .01 level (p< .01). Additionally, glomerular infiltration rate (t = -8.216) was statistically significantly increased more than those before participating in the program at 0.01 level. Study sample, 138 patients can delay CKD (88.46%). Patients had average decreased renal function 5% as 1.70 (SD = 0.74), the same and increased renal function 5% as 2.84 (SD = 1.41), and increased renal function over 5% as 13.49 (SD = 10.69) respectively. 4) The prototype model of healthcare system to delayed progressive CKD in primary healthcare settings included ten characteristics as follows: 1) administrators took the concept of health literacy to healthcare system for delayed progressive CKD, 2) development of health literacy skill of delaying CKD for healthcare staff, 3) the use of healthcare service for delaying CKD should be integrated by the health literacy concept, 4) preparation of environment and channel that promote the access of information and service, and sign, 5) providing media and publications related to information to delaying CKD that were simple and easy understanding, 6) opening opportunity for patients and families to participate in healthcare system for delaying CKD, 7) development of health literacy skill of delaying CKD to population in community through home, temple and school, 8) communicate the clear healthcare coverage and out of pocket, 9) preparation the channel of transfer system for continuum of care, and 10) administrators participate in planning for modifying the system to delay CKD with network server continuously. For secondary and tertiary healthcare settings, there are four characteristics out of eleven differently form primary healthcare settings as follows; 1) the use of healthcare system to delayed progressive CKD by integrating health literacy concept in all settings, 2) setting the main team and channel to providing consult to primary client team network, 3) developing the database that support patients who would like to delayed progressive CKD, and 4) providing the chance to the administrator of primary client healthcare settings to participate in planning for improving the system of care to delaying CKD. The research results suggested that the healthcare settings both primary and secondary/tertiary levels that are network should modify the plan of system together for continuous and sustainable of care. 5) The promotion of health literacy to delayed progressive CKD was complex and being necessary to have strategic plan. Also, the progressive action and the cooperation of all related person among healthcare providers, patients, health administrators, communities, society, public health region, and Ministry of Public Health are needed. The various, clear, and continuous actions and specific model for the patient problems that fit the context of the patients are needed at the first diagnosis and suitable for the context, community, and society. Additionally, the adjustment of healthcare system and working culture of healthcare providers that focus on health literacy to delayed progressive CKD, patient center, effective communication, informatics system, and network are needed to be care for the patients systemically and continuously. Furthermore, all parts should cooperate to manage social determinant of health because it is significant basic to promote health literacy, particularly the support of people to have ability of reading, education base, life-long learning, and economic that lead people to have good living and caring for themselves. Also, the preparation of environment that supports health literacy to delayed progressive CKD should be action both in healthcare settings and outside as shown in policy recommendation documents. | th_TH |
dc.identifier.callno | WJ340 ป525ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 63-023 | |
dc.subject.keyword | โรคไตเสื่อมเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject.keyword | ชะลอไตเสื่อม | th_TH |
dc.subject.keyword | ความแตกฉานด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | การรู้เท่าทันด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | ความฉลาดทางสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพที่ 4 | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area 4 | th_TH |
.custom.citation | ปัฐยาวัชร ปรากฎผล, Padthayawad Pragodpol, อรุณี ไชยฤทธิ์, Arunee Chaiyarit, อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ, Uthaitip Chanpen, กนกพร เทียนคำศรี, Kanokporn Thiankumsri, ขนิษฐา แสงทอง, Khanittha Sangthong, วงศ์ทิพารัตน์ มัณยานนท์, Wongtiparrat Manyanon, ชาญณรงค์ รุจิระชาติกุล and Channarong Ruchirachatkool. "การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5558">http://hdl.handle.net/11228/5558</a>. | |
.custom.total_download | 372 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 103 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 10 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย