Show simple item record

A Study of Field Hospital Administrative System in COVID-19 Situation: A Case Study of Budsarakhum Hospital

dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorApiradee Nantsupawatth_TH
dc.contributor.authorอรอนงค์ วิชัยคำth_TH
dc.contributor.authorOrn-Anong Wichaikhumth_TH
dc.contributor.authorกุลวดี อภิชาติบุตรth_TH
dc.contributor.authorKulwadee Abhicharttibutrath_TH
dc.contributor.authorฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์th_TH
dc.contributor.authorThitinut Akkadechanuntth_TH
dc.contributor.authorคัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวงth_TH
dc.contributor.authorCattaliya Siripattarakul Sanluangth_TH
dc.contributor.authorเกศราภรณ์ อุดกันทาth_TH
dc.contributor.authorKedsaraporn Udkuntath_TH
dc.date.accessioned2022-05-30T04:34:59Z
dc.date.available2022-05-30T04:34:59Z
dc.date.issued2565-05-06
dc.identifier.isbn9789742992651
dc.identifier.otherhs2806
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5594
dc.description.abstractโรงพยาบาลบุษราคัมเป็นโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่เฉพาะด้านในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ชั่วคราวที่มีความทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยครบวงจร ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ตามมาตรฐานการรักษา รวมทั้งระบบการส่งต่อ อย่างไรก็ตามการศึกษาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก จึงมีความจำเป็นในการศึกษาองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการจัดการโรงพยาบาลสนามเมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤตินอกเหนือจากโรคโควิด-19 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม และ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม คณะผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 43 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามกรมการแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามระดับมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามเอกชน ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้บริหารและบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลบุษราคัม ได้แก่ รองผู้อำนวยการด้านต่างๆ ของโรงพยาบาลบุษราคัม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านปฏิบัติการฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ผู้ปฏิบัติการอำนวยการ ได้แก่ พยาบาลหัวหน้าทีม Refer Loading Caring Treatment MERT หัวหน้าระบบ IT ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกรและผู้ป่วยที่มีประสบการณ์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามบุษราคัม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบความเป็นปรนัย (objectivity) คณะผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลสนามบุษราคัม ได้แก่ เอกสารเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลบุษราคัม โครงสร้างของโรงพยาบาล กระบวนการดำเนินงานของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานหลักและผู้ปฏิบัติงานเสริมทุกหน้าที่ในโรงพยาบาลสนามโซนต่างๆ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์การปฏิบัติงานในด้านการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลสนามบุษราคัม ได้แก่ ข่าวสารในสื่อและประกาศต่างๆ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค และ 3) กลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหา จากข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดหมวดหมู่ของข้อมูลและแปลความหมายของข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานการณ์ของระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม พบว่า มีความสอดคล้องกับรูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19 จากการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ได้แก่ สถานที่ตั้ง/วัตถุประสงค์/โครงสร้างโรงพยาบาล กำหนดคณะทำงาน ทีมงานและหน้าที่รับผิดชอบ ด้านกระบวนการ ได้แก่ การสั่งการ/ประสานงาน/ควบคุม การสื่อสารในองค์กร/นอกองค์กร การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการความเสี่ยง การควบคุมการติดเชื้อ ระบบเวชระเบียนด้านทรัพยากรบุคคล ได้แก่ การสรรหากำลังคน บทบาท/หน้าที่ความรับผิดชอบ การปฐมนิเทศ/การอบรม การจัดอัตรากำลัง/จัดตารางปฏิบัติงาน การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านทรัพยากรอื่นๆ ได้แก่ การจัดการการเงิน การจัดการวัสดุ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ ด้านกระบวนการ ได้แก่ การรับเข้ารับการรักษา/วินิจฉัยคัดกรอง การดูแลทางคลินิก ระบบบันทึกทางการแพทย์/เอกสาร การดูแลต่อเนื่อง/ระบบส่งต่อผู้ป่วย การดูแลด้านจิตใจและด้านผลลัพธ์ อย่างไรก็ตามพบว่ายังขาดในด้านการระดมพลในภาวะฉุกเฉิน การติดตามผลลัพธ์ทางคลินิก 2. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม พบในด้านต่างๆ ดังนี้ โครงสร้างโรงพยาบาล การสื่อสารนอกองค์กร การจัดการความเสี่ยง การควบคุมการติดเชื้อ ระบบเวชระเบียน การสรรหากำลังคน การจัดการความเครียดบุคลากร การจัดการวัสดุ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ การรับเข้ารับการรักษา การดูแลทางคลินิก ระบบส่งต่อผู้ป่วย การติดตามผลลัพธ์ และ 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ได้แก่ พัฒนาแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลสนามจากบุคลากรส่วนกลางและภูมิภาค ทั้งด้านจำนวน สัดส่วนและสมรรถนะที่เหมาะสม พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางแพทย์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม พัฒนาระบบจิตอาสาจากองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไป ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม พัฒนาระบบให้ความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) ให้ประชาชนในการเผชิญกับสถานการณ์การเกิดโรคระบาด ศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่ได้จากการให้บริการโรงพยาบาลสนามและพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนระบบการบริหารจัดการของบุคลากรและการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม พัฒนาหลักสูตร การจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในหลักสูตรการเรียนการสอนและมีการฝึกปฏิบัติด้านระบบ ได้แก่ พัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามให้ครอบคลุมทั้งส่วนของปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ จัดตั้งหน่วยสื่อสารสาธารณะขององค์กร (Public Information Officer) พัฒนาระบบการติดตามผลลัพธ์ทางสุขภาพ และ Voice of Customers (VOCs) พัฒนาระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาลสนาม ด้านทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ จัดทำแผนความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรบุคคลและอุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในสถานการณ์การเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานและชุมชนในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ในด้านวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ สาธารณูปโภค เทคโนโลยีการสื่อสาร ด้านโครงสร้าง ได้แก่ พัฒนาคู่มือรูปแบบโครงสร้างโรงพยาบาลสนาม ซึ่งประกอบด้วยสถานที่ในการจัดตั้ง ผังการจัดพื้นที่ในโรงพยาบาลและโครงสร้างคณะทำงานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัมth_TH
dc.title.alternativeA Study of Field Hospital Administrative System in COVID-19 Situation: A Case Study of Budsarakhum Hospitalth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBudsarakhum Hospital was a large field hospital specialized in providing temporary care for COVID-19 patients, where modern technology was used in providing comprehensive patient care according to referral and treatment standards addressing both physical and mental health. However, there are still few studies in the management system of field hospitals in Thailand. Therefore, it is necessary to study the body of knowledge that leads to the development of a field hospital management system in the face of a crisis other than COVID-19. This is qualitative research. The research objectives were 1) to study the current situation of the field hospital management system in the situation of COVID-19: A Case Study of Budsarakhum Hospital, 2) to study the problems, obstacles, and recommendations for hospital management systems in the Covid-19 Situation: A Case Study of Budsarakhum Hospital, and 3) to synthesize policy recommendations for the development of field hospital management systems. The researcher collected data by in-depth interview during December 2021 - January 2022. The purposive sample composed of 43 participants who were executives in policy level as well as executives from various departments, Budsarakhum Hospital as follows: Director of the Field Hospital under the Department of Medical Services; Director of University Field Hospital; Director of Private Field Hospital; Emergency Medical Specialist; Deputy Director of Budsarakhum Hospital; Secretary of Emergency Medical Department; Executive of Administrative Staff including nurses; Team Leaders of Referral, Loading, Caring, Treatment, Medical Emergency Response Team (MERT); Information Technology staffs; medical practitioners including doctors, nurses, pharmacists, and patients who have been already admitted to Budsarakhum Hospital. Data was collected through a semi-structured interview form developed by the researchers from the literature review and it has been consistent with the objectives. Content validity was checked by experts and to determine the reliability of the tool. The research team collected data from 1) Documents related to the operation of Budsarakhum Hospital, including: documents on the operating policy of Budsarakhum Hospital; hospital structure; processes of those involved, including executives, key and supplemental practitioners in all field hospital zones; as well as documentation related to performance outcomes in the field of COVID-19 patient care; 2) Information systems related to the operation of Budsarakhum Hospital such as news in various media, various announcements, websites, and Facebook related to Budsarakhum Hospital; 3) Sample groups were then analyzed using the content from all the data, in order to categorize and interpret the data according to research objectives as follows: 1. Field hospital management model in the situation of COVID-19 from the review literature and interviews with experts consisted of input factors, including structure, (i.e. location/objectives/hospital structure, setting up working group, team and responsibilities). The process aspect, including commanding/coordinating/control, inside and outside organization communication, emergency mobilization, information technology management, risk management, infection control, and medical record systems. Staff, including recruiting manpower, roles/responsibilities, orientation/training, staffing/scheduling, morale building, compensation and benefits. Supply, including financial management, handling of medical materials/devices. Process factors, including admission/diagnosis, screening clinical care, medical record/document system, continuing care/referral system, and psychological care. Outcome factors, consisting of outcome follow up. The management of Budsarakhum Hospital was consistent when compared to literature review and experts in the management model of field hospitals in the situation of COVID-19, except for emergency mobilization and the outcome follow up. 2. Problems, obstacles, and strategies of the hospital management system in Budsarakhum Hospital were found in various aspects, including hospital structure, communication outside the organization, risk management, infection control, recruitment, medical records system, personnel stress management, handling of medical materials/devices, admission, clinical care, patient referral system, and outcome following up. 3. Policy recommendations for the development of field hospital management systems consisting of staff, system, supply, and structure. Recommendations for Staff include: develop workforce plan of field hospitals in both the central and regional areas; train health care personnel to work in emergency situations; develop a system of volunteering from both the public, private, and public sectors; develop a system to increase health literacy for people to have basic self-care in emergency situations; study and research knowledge gained from field hospital services and develop innovations that support the management system of personnel and patient care in field hospitals; add disasters course to curriculum and practicum of health care students. Recommendations for System include: develop a field hospital practice manual which include inputs, processes, and outcomes; establish the Public Information Officer; develop a system for monitoring health outcomes and voice of customers (VOCs); develop information technology system in field hospitals; develop cooperative human resource plan among government sectors and between the government and the private sectors. Recommendations for Supply include: establish cooperation policy in sharing medical devices between public and private hospitals in emergency situation; build networks with agencies and communities to participate and support the establishment of field hospitals. Recommendations for Structure include: develop a manual for the field hospital structure which consists of place of establishment, layout of the space, zoning, and command line.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 อ259ก 2565
dc.identifier.contactno64-202
dc.subject.keywordโรงพยาบาลสนามth_TH
dc.subject.keywordField Hospitalth_TH
dc.subject.keywordโรงพยาบาลบุษราคัมth_TH
dc.subject.keywordBudsarakhum Hospitalth_TH
.custom.citationอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, Apiradee Nantsupawat, อรอนงค์ วิชัยคำ, Orn-Anong Wichaikhum, กุลวดี อภิชาติบุตร, Kulwadee Abhicharttibutra, ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, Thitinut Akkadechanunt, คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, Cattaliya Siripattarakul Sanluang, เกศราภรณ์ อุดกันทา and Kedsaraporn Udkunta. "การศึกษาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5594">http://hdl.handle.net/11228/5594</a>.
.custom.total_download226
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year12

Fulltext
Icon
Name: hs2806.pdf
Size: 1.248Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record