dc.contributor.author | ยง ภู่วรวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Yong Poovorawan | th_TH |
dc.contributor.author | พิชญา นาควัชระ | th_TH |
dc.contributor.author | Pijaya Nagavajara | th_TH |
dc.contributor.author | ณศมน วรรณลภากร | th_TH |
dc.contributor.author | Nasamon Wanlapakorn | th_TH |
dc.contributor.author | จินตนา จิรถาวร | th_TH |
dc.contributor.author | Chintana Chirathaworn | th_TH |
dc.contributor.author | จิระ จันท์แสนโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jira Chansaenroj | th_TH |
dc.contributor.author | จิรัชญา พื้นผา | th_TH |
dc.contributor.author | Jiratchaya Puenpa | th_TH |
dc.contributor.author | ฤทธิเดช ยอแสง | th_TH |
dc.contributor.author | Ritthideach Yorsaeng | th_TH |
dc.contributor.author | อรุณี ธิติธัญญานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Arunee Thitithanyanont | th_TH |
dc.contributor.author | มานิต ศรีประโมทย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Manit Sripramote | th_TH |
dc.contributor.author | ปิติ ฉลองวิริยะเลิศ | th_TH |
dc.contributor.author | Piti Chalongviriyalert | th_TH |
dc.contributor.author | สุพรรณี จิรจริยาเวช | th_TH |
dc.contributor.author | Supunnee Jirajariyavej | th_TH |
dc.contributor.author | ภัทรพร เกียรติปานอภิกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Phatharaporn Kiatpanabhikul | th_TH |
dc.contributor.author | จตุพร ไสยรินทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jatuporn Saiyarin | th_TH |
dc.contributor.author | ชุลีกร โสอุดร | th_TH |
dc.contributor.author | Chuleekorn Soudorn | th_TH |
dc.contributor.author | อรวรรณ เธียรไฝ่ดี | th_TH |
dc.contributor.author | Orawan Thienfaidee | th_TH |
dc.contributor.author | ฐิติสันต์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา | th_TH |
dc.contributor.author | Thitisan Palakawong Na Ayuthaya | th_TH |
dc.contributor.author | ฉันทพัทธ์ พฤกษะวัน | th_TH |
dc.contributor.author | Chantapat Brukesawan | th_TH |
dc.contributor.author | ดุจใจ ชัยวานิชศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Dootchai Chaiwanichsiri | th_TH |
dc.contributor.author | ดวงนภา อินทรสงเคราะห์ | th_TH |
dc.contributor.author | Duangnapa Intharasongkroh | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-06-08T03:34:40Z | |
dc.date.available | 2022-06-08T03:34:40Z | |
dc.date.issued | 2565-01 | |
dc.identifier.other | hs2807 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5596 | |
dc.description.abstract | ประเทศไทยเป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข และ เศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเชื้อ SARS-CoV-2 ให้รวดเร็วที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงการตอบสนองของภูมิต้านทานหลังได้รับการติดเชื้อ SARS-CoV-2 เพื่อสามารถเป็นแนวทางวางแผนเฝ้าระวังการติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิต้านทานจากการได้รับเชื้อที่อาจมีผลต่อความรุนแรงของโรค ตลอดจนระยะเวลาในการคงอยู่ของภูมิต้านทานที่สร้างขึ้น ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการวางแผนการฉีดวัคซีน COVID-19 เข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรกลุ่มนี้ได้ โดยการศึกษานี้เพื่อการพัฒนาระบบให้สามารถใช้ได้ในระดับประเทศ ในการศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับภูมิต้านทานต่อ SARS-CoV-2 ในส่วนของ anti-nucleocapsid protein (N), immunoglobulin (Ig)G, anti-spike protein 1 (S1) IgG, anti-receptor-binding domain (RBD) total Ig, anti-S1 IgA, และ neutralizing antibody ต่อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ wild type ในกลุ่มประชากรที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 และหายแล้ว วิธีการดำเนินการวิจัยเริ่มจากตรวจคัดกรองผู้ป่วยด้วยวิธี RT-PCR เพื่อยืนยันผลการติดเชื้อและทำการเจาะเลือด ที่ 3, 6, 9 และ 12 เดือนหลังจากวันที่ติดเชื้อหรือยืนยันผลการติดเชื้อ เพื่อติดตามวัดระดับภูมิต้านทานด้วยการตรวจหาภูมิต้านทาน anti-nucleocapsid protein (N), immunoglobulin (Ig)G, anti-spike protein 1 (S1) IgG, anti-receptor-binding domain (RBD) total Ig, anti-S1 IgA, และ neutralizing antibody ต่อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ wild type ประชากรที่ศึกษาและติดตามในช่วงระยะเวลาต่างๆ ได้ดังนี้ มีอาสาสมัครในโครงการทั้งหมด จำนวน 531 คน แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการรุนแรง จำนวน 420 คน และติดเชื้อและมีอาการรุนแรง จำนวน 111 คน แบ่งเป็น เพศชาย จำนวน 269 คน เพศหญิง จำนวน 262 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 38 ปี รวมตัวอย่างที่ได้ทำการเก็บทั้งหมด จำนวน 968 ตัวอย่าง โดยแบ่งช่วงระยะเวลาในการเก็บตัวอย่าง ได้ดังนี้ ช่วงระยะเวลา 3 เดือนหลังการติดเชื้อ สามารถเก็บตัวอย่างได้ จำนวน 376 ตัวอย่าง, ช่วงระยะเวลา 6 เดือนหลังการติดเชื้อ สามารถเก็บตัวอย่างได้ จำนวน 241 ตัวอย่าง, ช่วงระยะเวลา 9 เดือนหลังการติดเชื้อ สามารถเก็บตัวอย่างได้ จำนวน 207 ตัวอย่าง และช่วงระยะเวลา 12 เดือนหลังการติดเชื้อ สามารถเก็บตัวอย่างได้ จำนวน 144 ตัวอย่าง จากผลการทดลองพบว่า อัตรา seropositivity จะเริ่มลดลงในช่วงระยะเวลา 6-12 เดือนหลังการติดเชื้อ และอัตรา seropositivity จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) ในช่วงเดือน 6, 9 และ 12 หลังจากการติดเชื้อ เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนหลังการติดเชื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วยนั้นจะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) โดยที่ระยะเวลา 6, 9 และ 12 เดือน หลังการติดเชื้อ พบว่า ระดับ anti-N IgG จะมีการลดลงอย่างรวดเร็ว โดยลดลงจนค่า seropositivity rate น้อยกว่า 50 % ตั้งแต่ที่ระยะเวลาผ่านไป 6 เดือนและลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่ anti-RBD total Ig, anti-S IgG และ anti-S IgA ยังคงมี seropositivity rate มากกว่า 80 % ในทางกลับกันระดับภูมิต้านทานในกลุ่มของผู้ที่ติดเชื้อและมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย จะมีระดับภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสูงกว่าผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ ณ โดยที่ระยะเวลา 12 เดือน หลังการติดเชื้อ พบว่า ในกลุ่มผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย ในแต่ละวิธีตรวจพบ seropositivity rate ดังนี้ anti-N IgG 21.5%, anti-RBD total Ig 87.0%, anti-S IgG 59.3% และ anti-S IgA 74.1% ส่วน Seropositivity rate ในขณะที่กลุ่มผู้ติดเชื้อและมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย ในแต่ละวิธีตรวจพบ seropositivity rate ที่สูงกว่าคือ anti-N IgG 41.7%, anti-RBD total Ig 97.2%, anti-S IgG 91.7% และ anti-S IgA 86.1% โดยยังคงพบอยู่ในระดับที่สูงแม้ว่าจะมีการติดเชื้อมาแล้วมากกว่า 6 เดือน ในบางรายสามารถพบได้นานกว่า 1 ปี ยิ่งกว่านั้นยังไม่พบความแตกต่างกันของระดับภูมิต้านทานที่มีกับความแตกต่างทางเพศ แต่พบความแตกต่างในด้านอายุ โดยพบว่าในผู้สูงอายุ (มากกว่า 60 ปี) จะมีการตอบสนองของภูมิน้อยกว่ากลุ่มประชากรที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ซึ่งจากข้อมูลที่ได้ทำให้ทราบถึงธรรมชาติของภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-CoV-2 จะเป็นการเปรียบเทียบ และประโยชน์ในการวางแผนการฉีดวัคซีน COVID-19 ในอนาคตต่อไป โดยจะเห็นว่าผู้ที่ติดเชื้อแล้วจะมีระดับภูมิที่คงอยู่ได้นาน ซึ่งอาจจะยังไม่มีความจำเป็นในการรับวัคซีนในช่วงระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหลังจากหายจากการติดเชื้อ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค)--การตรวจวิเคราะห์ | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | SARS-CoV-2 | th_TH |
dc.subject | Antibody | th_TH |
dc.subject | Immunity | th_TH |
dc.subject | ภูมิคุ้มกัน | th_TH |
dc.subject | Immune System | th_TH |
dc.subject | ระบบภูมิคุ้มกัน | th_TH |
dc.subject | ภูมิคุ้มกันวิทยา | th_TH |
dc.subject | Immunology | th_TH |
dc.subject | Vaccines--Immunology | th_TH |
dc.subject | Vaccines | th_TH |
dc.subject | วัคซีน | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิต้านทานระยะยาวต่อ SARS-CoV-2 ในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 | th_TH |
dc.title.alternative | Long-term kinetics of antibody against SARS-CoV-2 in the recovery patients with COVID-19 | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Thailand is another country affected by the coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic, which has affected the public health system and its economy. Therefore, it is important to develop cognition in severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) as quickly as possible. Therefore, this research aims to study the kinetics of immune response patterns after SARS-CoV-2 infection both mild and severe symptoms. The information on a kinetic immune response from SARS-CoV-2 infection can help to predict prolonged immunity. Understanding antibody responses after natural SARS-CoV-2 infection can guide the COVID-19 vaccine boosting schedule in this population. The objective of this study to assess the dynamics of SARS-CoV-2 antibodies, including anti-nucleocapsid protein (N), immunoglobulin (Ig)G, anti-spike protein 1 (S1) IgG, anti-receptor-binding domain (RBD) total Ig, anti-S1 IgA, and neutralizing antibody against wild-type SARS-CoV-2 in a cohort of patients who were previously infected with SARS-CoV-2. The research method starts with RT-PCR screening to confirm the results of SARS-CoV-2 infection and performs blood collection for immunogenicity testing at 3, 6, 9, and 12 months after the date of infection or confirm the results of infection to monitor immune levels by anti-nucleocapsid protein (N), immunoglobulin (Ig)G, anti-spike protein 1 (S1) IgG, anti-receptor-binding domain (RBD) total Ig, anti-S1 IgA, and neutralizing antibody ต่อ SARS-CoV-2 against wild type. The population studied and followed during the periods was as follows: 531 volunteers in the project were divided into 420 SARS-CoV-2 infected with mild symptoms and 111 SARS-CoV-2 infected with severe symptoms, divided into 269 males, and 262 females The average age is 38. The total specimens enrolled in this study are 968 samples, divided throughout sample collection. The following: 376 samples of 3-month periods after infection, 241 samples 6-month periods after infection, 207 samples 9-month periods after infection, and 144 samples 12-month periods after infection. The results showed that seropositivity rates began to decrease during the period 6 months after infection and started to decline continuously after symptom onset 6–12 months. The seropositivity rate was significantly lower at 6, 9, and 12 months than at 3 months (p-value < 0.05), especially in SARS-CoV-2 infected with pneumonia symptoms was showed higher seropositivity rate than in SARS-CoV-2 infected with non-pneumonia/asymptomatic group at 6 months (p-value < 0.05), 9 months (p-value = 0.04), and 12 months (p-value = 0.04). At 6, 9, and 12 months after infection, the anti-N IgG levels were significantly reduced. The seropositivity rates of anti-N IgG reduced by less than 50% 6 months after infection, while seropositivity rates of anti-RBD total Ig, anti-S IgG, and anti-S IgA still had more than 80% seropositivity rate. The immunogenicity levels among SARS-CoV-2 infected with severe symptoms were significantly higher than SARS-CoV-2 infected with mild/asymptomatic. At 12 months, the seropositivity rate among SARS-CoV-2 infected with mild/asymptomatic individuals in each method of examination found seropositivity rates as follows: anti-N IgG 21.5%, anti-RBD total Ig 87.0%, anti-S IgG 59.3%, and anti-S IgA 74.1%. The seropositivity rate in the SARS-CoV-2 infected with severe symptoms was found as follows: anti-N IgG 41.7%, anti-RBD total Ig 97.2%, anti-S IgG 91.7%, and anti-S IgA 86.1%. In some cases, the immunogenicity can be found prolonged for more than 12 months. Moreover, we found no significant difference between immunogenicity response and sex. In Elder (>60 years), the immunogenicity response showed significantly lower than in adults (≤ 60 years). These data on the natural history of SARS-CoV-2 antibodies will be useful for comparing and planning the future COVID-19 vaccination. Normally, SARS-CoV-2 antibodies in infected patients can be prolonged for more than 6 months and these patients may not be necessary to receive the COVID-19 vaccine within 6 months after clearance. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ย113ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-031 | |
dc.subject.keyword | ภูมิต้านทาน | th_TH |
.custom.citation | ยง ภู่วรวรรณ, Yong Poovorawan, พิชญา นาควัชระ, Pijaya Nagavajara, ณศมน วรรณลภากร, Nasamon Wanlapakorn, จินตนา จิรถาวร, Chintana Chirathaworn, จิระ จันท์แสนโรจน์, Jira Chansaenroj, จิรัชญา พื้นผา, Jiratchaya Puenpa, ฤทธิเดช ยอแสง, Ritthideach Yorsaeng, อรุณี ธิติธัญญานนท์, Arunee Thitithanyanont, มานิต ศรีประโมทย์, Manit Sripramote, ปิติ ฉลองวิริยะเลิศ, Piti Chalongviriyalert, สุพรรณี จิรจริยาเวช, Supunnee Jirajariyavej, ภัทรพร เกียรติปานอภิกุล, Phatharaporn Kiatpanabhikul, จตุพร ไสยรินทร์, Jatuporn Saiyarin, ชุลีกร โสอุดร, Chuleekorn Soudorn, อรวรรณ เธียรไฝ่ดี, Orawan Thienfaidee, ฐิติสันต์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, Thitisan Palakawong Na Ayuthaya, ฉันทพัทธ์ พฤกษะวัน, Chantapat Brukesawan, ดุจใจ ชัยวานิชศิริ, Dootchai Chaiwanichsiri, ดวงนภา อินทรสงเคราะห์ and Duangnapa Intharasongkroh. "การติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิต้านทานระยะยาวต่อ SARS-CoV-2 ในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5596">http://hdl.handle.net/11228/5596</a>. | |
.custom.total_download | 178 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |