dc.contributor.author | ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chathaya Wongrathanandha | th_TH |
dc.contributor.author | สุมนมาลย์ สิงหะ | th_TH |
dc.contributor.author | Sumonmarn Singha | th_TH |
dc.contributor.author | ลอยลม ประเสริฐศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Loylom Prasertsri | th_TH |
dc.contributor.author | เดโช สุรางค์ศรีรัฐ | th_TH |
dc.contributor.author | Decho Surangsrirat | th_TH |
dc.contributor.author | นนทชัย เหมะรัตน์พิทักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nontachai Hemaratpitak | th_TH |
dc.contributor.author | จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Jidapa Hanvoravongchai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-07-11T08:12:30Z | |
dc.date.available | 2022-07-11T08:12:30Z | |
dc.date.issued | 2565-05 | |
dc.identifier.other | hs2828 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5629 | |
dc.description.abstract | โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรวัยทำงาน การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการนับเป็นช่องทางสำคัญที่จะสามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีส่งเสริมให้มากขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อทบทวนวรรณกรรมและรับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วยการทบทวนองค์ความรู้และสังเคราะห์ข้อเสนอ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย Delphi Technique การทบทวนวรรณกรรมและสังเคราะห์องค์ความรู้ดำเนินการไปทั้งสิ้น 5 ประเด็น คือ 1) นโยบายและมาตรการด้านกฎหมาย 2) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและสังคมศาสตร์ 3) ระบบข้อมูลและแอปพลิเคชันที่ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ 5) เปรียบเทียบรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ (ผลการศึกษาเรื่องที่ 2, 3, 4 และ 5 แยกตีพิมพ์ในบทความอื่น) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี 3 กลุ่ม คือ ผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน นายจ้างและลูกจ้าง รวม 15 คน สัมภาษณ์ 2 ครั้ง นโยบายและมาตรการด้านกฎหมายที่เป็นโอกาสในการสร้างเสริมสุขภาพ มี 4 กลุ่ม คือ 1) ด้านหลักประกันสุขภาพ 2) ด้านสวัสดิการและคุณภาพชีวิต 3) ด้านการควบคุม วินิจฉัยโรคและชดเชยกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากงาน และ 4) ด้านการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในที่ทำงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ในการปรับแก้ไขกฎหมายด้านที่ 1, 2 และ 3 ยกเว้น เรื่องการลดชั่วโมงการทำงาน การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในกฎหมายเหล่านี้ ส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกระดับกระทรวงนับเป็นโอกาสที่จะสามารถผลักดันให้เกิดจริงได้ทันที ข้อเสนอแนะการปรับแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ คือ 1) ชุดสิทธิประโยชน์ด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เสนอให้ระบุเพิ่มเติมให้ชัดเจนเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ a. การใช้สิทธิประกันสังคมที่ห้องพยาบาล พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2558 มาตรา 24 กำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค นอกจากนี้ ยังมีเอกสารแนบท้ายประกาศที่ควรกำหนดให้สถานพยาบาลจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของผู้ประกันตน เพื่อวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ผู้ประกันตน และส่งข้อมูลกลับไปให้ผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมและสถานประกอบการทราบข้อมูลภาพรวมและแนวโน้มปัญหาสุขภาพในองค์กร 3) สวัสดิการด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านสวัสดิการของพนักงานในสถานประกอบการ กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 กำหนดให้จัดสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การส่งเสริมให้ใช้บันไดแทนลิฟต์ด้วยป้ายต่างๆ การจัดทางเดินออกกำลังกายกลางแจ้งและในอาคาร การจัดโรงอาหารให้มีรายการอาหารที่ดีสุขภาพสามารถช่วยให้พนักงานรับประทานอาหารสุขภาพมากขึ้นได้เมื่อจัดควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่พนักงาน 4) บทบาทของบุคลากรในห้องพยาบาลให้ครอบคลุมการให้คำปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โอกาสที่จะยกระดับบทบาทของแพทย์และพยาบาลดังกล่าวให้มีส่วนในการให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ 5) บทบาทของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ให้ครอบคลุมเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 บทบาทของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ จึงควรขยายเพื่อครอบคลุมเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของพนักงานด้วย โดยอิงตามแนวคิดบูรณาการสุขภาพวัยทำงานทั้งด้านความปลอดภัยในการทำงานและด้านการส่งเสริมสุขภาพ (integrated health protection and health promotion for workers’ health) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีประสิทธิผลดีกว่าการดำเนินงานเชิงเดี่ยว จึงเป็นที่ยอมรับและสนับสนุนในระดับสากล และ 6) โรคจากชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานให้อยู่ในรายการกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและโรคที่ได้รับการชดเชย การเพิ่มรายการโรคจากการประกอบอาชีพให้ครอบคลุมโรคที่เกิดจากชั่วโมงทำงานที่ยาวนานจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการวินิจฉัยโรค ทำให้เห็นขนาดและความสำคัญของปัญหา นำมาซึ่งมาตรการเพื่อป้องกัน ควบคุมและแก้ไขต่อไปในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | สถานประกอบการ | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | Occupational Safety | th_TH |
dc.subject | การจ้างงาน | th_TH |
dc.subject | Employment | th_TH |
dc.subject | การประกันสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | Health Insurance | th_TH |
dc.subject | Universal Coverage | th_TH |
dc.subject | Universal Coverage Scheme | th_TH |
dc.subject | ประกันสังคม | th_TH |
dc.subject | ประกันสังคม--บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | Non-communicable Diseases | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | โรคที่เกิดจากการทำงาน | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.title | การพัฒนานโยบายและรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับสถานประกอบการ ในระบบการจ้างงานและการประกันสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Knowledge Review: A Project to Development Policies and Models of Health and Safety Promotion in the Workplace under Employment System and the Universal Coverage Scheme | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Non-communicable diseases (NCDs) are major health problems in the working-age population. As the workplace health promotion (WHP) plays a crucial role in reaching this group, the measures for the WHP need to be implemented. This project aims to review literature and gain stakeholders’ perspectives in order to synthesize policy recommendations. The mixed methods had been used, including literature review and stakeholder interviews using the Delphi technique. The literature review was carried out in 5 different topics: 1) policies and legislation, 2) behavioral economics and social science theories, 3) Information system and applications supporting lifestyle modification (LSM), 4) personal data protection laws, and 5) comparison of WHP packages (the results of studies in topic 2, 3, 4, and 5 will be published elsewhere). Fifteen stakeholders including representatives from units in the Ministry of Labour, employers, and employees were interviewed twice. The policies and legislation which provide opportunities for WHP were categorized into 4 groups: 1) health insurance scheme, especially Social Security Scheme (SSS), 2) welfare and quality of life, 3) control, diagnosis, and compensation for work-related illnesses or injuries, and 4) control of risk factors of NCDs in the workplace. Stakeholders had agreed upon most of the proposed recommendations to amend the legislation regarding group 1, 2, and 3, except in reducing working hours. These proposed amendments can be implemented immediately through the Ministry’s efforts. The proposed amendments to the legislation to provide the opportunities for the WHP are: 1) To include the LSM consultation in the health benefit package There is a proposal to clearly incorporate the LSM consultation to adjust health behaviors in the National Health Security Act B.E. 2545 (2002). 2) To include the SSS reimbursement in the first aid room service The National Social Security Act B.E. 2558 (2015) Section 24 indicates that the insured shall have the right to receive compensation when they experience dangers or illnesses as well as receiving health support and preventive care. In addition, the document attached to the Act indicates that hospitals shall collect health information to analyze the health problems of the insured in order to create health and preventive care plans for the insured, and inform the insured, Social Security Office, and the employers to be aware of the health problems in the establishments. 3) To provide health-promoting environment in the workplace The Ministerial Regulation B.E. 2548 (2005)regarding the welfare arrangement in the workplace indicates that the establishments must provide the environment which promotes health and wellness such as installing signs to encourage the use of stairs instead of elevators, building outdoor and indoor walkways, having more healthy dishes in cafeteria alongside with providing knowledge about nutrition for employees. 4) To expand the role of healthcare personnel in the first aid room to be able to provide LSM consultation The Labour Protection Act B.E. 2541 (1998) broadens chances to upgrade the role of healthcare personnel in the first aid room, allowing them to take part in providing healthcare consultation to adjust health behaviors. 5) To expand the role of the safety committee to include WHP According to the Safety, Occupational Health, and Environment at Work Act B.E. 2554 (2011), the role of the safety committee should be expanded to include the health promotion of employees, based on the concept of integrated health protection and health promotion for workers’ health which is globally recognized for the better outcome than separate operations. 6) To include illnesses caused by long working hours in occupational diseases and diseases covered by SSS Adding illnesses caused by long working hours into the list of work-related or occupational diseases will emphasize the importance of health problems and facilitate disease diagnosis which can lead to preventive and controlling measures in the future. | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.1 ฉ221ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-076 | |
dc.subject.keyword | NCDs | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | th_TH |
.custom.citation | ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์, Chathaya Wongrathanandha, สุมนมาลย์ สิงหะ, Sumonmarn Singha, ลอยลม ประเสริฐศรี, Loylom Prasertsri, เดโช สุรางค์ศรีรัฐ, Decho Surangsrirat, นนทชัย เหมะรัตน์พิทักษ์, Nontachai Hemaratpitak, จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย and Jidapa Hanvoravongchai. "การพัฒนานโยบายและรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับสถานประกอบการ ในระบบการจ้างงานและการประกันสุขภาพ." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5629">http://hdl.handle.net/11228/5629</a>. | |
.custom.total_download | 112 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 44 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |