The Lesson Learned of COVID-19 patients journey in Providing Health Care Services in Health Region 9
dc.contributor.author | สุพิตรา เศลวัตนะกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Supitra Selavattanakul | th_TH |
dc.contributor.author | ธิดารัตน์ คณึงเพียร | th_TH |
dc.contributor.author | Thidarat Kanungpiarn | th_TH |
dc.contributor.author | สมจิตต์ เวียงเพิ่ม | th_TH |
dc.contributor.author | Somjitt Wiangperm | th_TH |
dc.contributor.author | ชัชฎาพร จันทรสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Chutchadaporn Jantarasuk | th_TH |
dc.contributor.author | ควันเทียน วงศ์จันทรา | th_TH |
dc.contributor.author | Kuantean Wongchantra | th_TH |
dc.contributor.author | ชลดา กิ่งมาลา | th_TH |
dc.contributor.author | Chonlada Kingmala | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-07-22T06:58:43Z | |
dc.date.available | 2022-07-22T06:58:43Z | |
dc.date.issued | 2565-05 | |
dc.identifier.other | hs2831 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5678 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนเส้นทางการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ในเขตสุขภาพที่ 9 โดยการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) เริ่มต้นด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และเสริมด้วยการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Method) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการสุขภาพและผู้รับบริการสุขภาพ โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมโรคติดต่อเขตสุขภาพที่ 9 ผู้อำนวยการโรงพยาบาล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล กลุ่มละ 2 ท่าน รวมจำนวน 12 คน แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข Emergency Medical Services (EMS) Emergency Medical Technician (EMT) กลุ่มละ 6 คน โดยมาจากพื้นที่ 2 ลำดับแรกของแต่ละจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 9 ที่มีอัตราการติดเชื้อโควิดสูงและผู้รับบริการสุขภาพ จำนวน 20 คน ที่มีประสบการณ์การรับบริการสุขภาพและหายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการสุขภาพทั้งระดับบริหาร ระดับปฏิบัติงานและผู้รับบริการสุขภาพ โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) กลุ่มละจำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงคุณภาพ เส้นทางการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 เขตสุขภาพที่ 9 ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยสาธารณสุขเพื่อใช้ในการป้องกันโรคในครอบครัว ชุมชน พบประเด็นหลัก ดังนี้ (1) กลวิธีการส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคในครอบครัวและชุมชน ประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การสื่อสารโดยตรงกับประชาชน การส่งต่อเอกสารข้อมูลที่เชื่อถือได้จากภาครัฐ ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เคาะประตูบ้าน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารโควิด-19 (2) สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันโรคอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย สร้างความเข้าใจไม่ให้ตระหนกแต่ตระหนัก ส่งเสริมความรู้สมรรถนะการดูแลตนเอง สร้างให้เกิดการรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้องและสร้างความรับผิดชอบต่อการดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่ 2) การเข้าถึงจุดแรกรับบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ดำเนินงานการบริการในรูปแบบเชิงรุกและเชิงรับแบบเครือข่ายบูรณาการภาครัฐ ภาคท้องถิ่นและภาคเอกชน ประกอบด้วย รับผู้ป่วยกลับมารักษาที่บ้านเกิด เชิงรุกลงพื้นที่ รับบริการสุขภาพ ณ จุดแรกรับของโรงพยาบาลใกล้บ้านและรับบริการสุขภาพผ่านคอลเซ็นเตอร์ 3) การประเมินและตรวจหาเชื้อโรคของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ตรวจประเมินหาเชื้อโรค 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ การตรวจด้วย Antigen test kit (ATK) และ Real-Time PCR (RT-PCR) การตรวจแบบ ATK เพื่อคัดกรองเบื้องต้น ตรวจยืนยันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ด้วย RT-PCR ที่โรงพยาบาลจังหวัด หรืออำเภอที่มีเครื่องตรวจเท่านั้น เส้นทางการรับบริการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 คือ คลินิกระบบทางเดินหายใจ การลงพื้นที่ตรวจในชุมชนและการส่งต่อการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลเครือข่าย 4) การรับการรักษาดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 การปฏิบัติตามแนวทางของกรมการแพทย์ ระลอกแรก รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ระลอกที่สอง แบ่งตามระดับความรุนแรงของโรค 5) การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ประกอบด้วย การให้ข้อมูลการดูแลรักษา การประสานงาน ส่งต่อ เตรียมพร้อมผู้ป่วยและญาติและเตรียมชุมชน 6) การดูแลต่อเนื่องที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 เจ้าหน้าที่ ติดตามเยี่ยมผ่านไลน์และโทรศัพท์ ออกเยี่ยมในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามเยี่ยมพื้นที่รับผิดชอบ หน่วยงานท้องถิ่นร่วมรับผิดชอบบริการ ปัจจัยเอื้อการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ในมุมมองของผู้ให้บริการ โดยภาพรวม พบว่า ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ไลน์ facebook เว็ปไซต์ เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mean = 4.34; S.D = .683) รองลงมาคือ การตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย Antigen test kit (ATK) ค่าเฉลี่ยสูงสุด (mean = 4.28; S.D = .718) และตรวจยืนยันผลด้วย RT-PCR เฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง (mean = 4.25; S.D = .722) ปัจจัยอุปสรรคการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ในมุมมองของผู้ให้บริการ ในภาพรวม พบว่า การมีกระบวนการหลายขั้นตอนของการส่งข้อมูลข่าวสารฯ (mean = 3.65 ; S.D = . 830) และได้รับข้อมูลที่ไม่ได้กลั่นกรองจากสื่อโซเซียลต่างๆ (mean = 3.65; S.D = . 931) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การได้รับข่าวลือ บอกต่อจากเพื่อนบ้าน (mean = 3.56; S.D = .918) ตามลำดับ ปัจจัยเอื้อการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ในมุมมองของผู้รับบริการสุขภาพ ในภาพรวม พบว่า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ไลน์ facebook เว็ปไซต์ เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mean = 4.27; S.D = .763) รองลงมา คือ การให้ผู้ป่วยตรวจวัดไข้ ความดันโลหิตสูงและออกซิเจนส่งข้อมูลอาการระหว่างรักษาตัวแก่เจ้าหน้าที่ตามกำหนด (mean = 4.23; S.D = .762) การตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย Antigen test kit (ATK) (mean = 4.22; S.D = .791) การตรวจยืนยันผลด้วย RT-PCR เฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง (mean = 4.22; S.D = .783) และการปฏิบัติตามมาตรฐานแนวปฏิบัติการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ของกรมการแพทย์ (mean = 4.22; S.D = .798) ปัจจัยอุปสรรคการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19. ในมุมมองของผู้รับบริการ ภาพรวม พบว่า กระบวนการหลายขั้นตอนของการส่งข้อมูลข่าวสารฯ ค่าเฉลี่ยสูงสุด (mean = 3.73; S.D = .907) รองลงมา คือ บุคลากรมีจำนวนจำกัดในการบริการสุขภาพ ณ จุดแรกรับ (mean = 3.66; S.D = .986) กระบวนการในการเข้าถึงบริการสุขภาพมีหลายขั้นตอน (mean = 3.63; S.D = .944) การได้รับข้อมูลที่ไม่ได้กลั่นกรองจากสื่อโซเซียลต่างๆ (mean = 3.63; S.D = 1.042) และมีข้อจำกัดของทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงรับรู้ข่าวสารฯ (mean = 3.63; S.D = .990) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ การบริการสุขภาพในสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต้องใช้ระบบเทคโลยีดิจิทัลมาช่วยในการบริการทั้งมิติ การส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู มีการดำเนินงานแบบเครือข่ายบูรณาการภาครัฐ เอกชนและท้องถิ่น สนับสนุนการใช้ชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้นแบบ ATK และเพิ่มสมรรถนะความรอบรู้ด้านสุขภาพและสร้างความรับผิดชอบการดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่อย่างยั่งยืนแก่ประชาชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Volunteers | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | Village Health Volunteers | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การถอดบทเรียนเส้นทางการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเขตสุขภาพที่ 9 | th_TH |
dc.title.alternative | The Lesson Learned of COVID-19 patients journey in Providing Health Care Services in Health Region 9 | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The research purpose was to explore the lessons learned of COVID-19 patients journey in providing health care Services in health region 9. Data were collected using mixed methods, starting with a qualitative methodology and supplemented by a quantitative methodology. The sample groups in qualitative research were health care providers and health service recipients selected using purposive sampling: director of the Bureau of Communicable Disease Control, director of the 9th Public Health Region, hospital director, deputy director of Medical Affairs, head of Nursing Mission Group, group head director of Tambon Health Promoting Hospital by choosing two persons per group, a total of 12 persons: plus selecting six persons from each group of doctors, nurses, health workers, EMS, EMT, and health service volunteers from the top two areas of each province in the 9th Public Health Region with the high covid infection: and twenty health service recipients who experienced receiving health care services and recovering from Covid-19. The instrument used was an interview from the sample group in quantitative research who were the health care providers at both administrator and operational levels and health service recipients by purposive sampling, 384 persons per group. Data were analyzed using descriptive statistics, frequency, percentage, mean, and standard deviation, content analysis, and COVID -19 patients journey in providing health care Services in health region 9. The results of the study were as follows: 1) The perception of information from the public health unit for use in family and community disease prevention found the main issues as follows; (1.1) Promotion strategies, the perception of information from public health agencies for preventing diseases in families and communities consisted of the use of digital technology, direct communication with the public, forward authoritative documentation from governments, community leaders and health volunteers knock on the door, and Covid-19 Information Center (1.2) Build awareness of information for sustainable disease prevention, create an understanding not to panic but to be aware, promote knowledge, competence, self-care, creating awareness of information correctly, and creating responsibility for a new norm of life; 2) Access to the first point of receiving health services for patients with Covid-19 infection, operates services in a proactive and reactive form through an integrated network of government, local and private sectors, transferring patients to hometown, proactive in the area, receive health care services at the first pick-up point of the nearest hospital, and receive health services through the call center; 3) Assessment and detection of pathogens of patients with Covid-19 infection, two main types of assessment were carried out for pathogens: Antigen Test Kit (ATK) and RT-PCR, ATK test for initial screening, Confirmation of COVID-19 infection with RT-PCR at provincial hospitals or districts that have only RT-PCR machines, the journey of receiving the Covid-19 testing service is the respiratory clinic, visiting the area to check in the community and referral for infection detection at network hospitals; 4) Receiving care from medical and public health personnel for patients with Covid-19 infection in compliance with the guidelines of the Medical Department; The first wave were hospitalized, and the second wave were divided according to the severity of the disease; 5) Planning for patient discharge to go home follow by providing care information, coordination, referral, preparation of patients and their relatives, and community preparation 6) Ongoing care at home for patients with Covid-19 infection visit in the area public health volunteers follow up to visit areas of responsibility. Local authorities are responsible for the service. Factors contributing to the health services received for patients with Covid-19 infection from the perspective of service providers found that the social media usage like line, facebook, website, were at the highest level (mean = 4.34; SD = .683). Followed by initial screening with Antigen Test Kit or ATK (mean = 4.28; SD = .718), and RT-PCR verified for high-risk groups (mean = 4.25; SD = .722). Obstacle factors of receiving health services for patients with Covid-19 infection from the perspective of service providers reveal that the multi-step process of transmitting information was at the highest level (mean = 3.65; SD = .830). Receiving unfiltered data from social media (mean = 3.65; SD = .931) and receiving rumors from neighbors (mean = 3.56; SD = .918), respectively. Factors contributing to the reception of health services for patients with Covid-19 infection from the service recipients’ perspective like Line, Facebook, and websites were at the highest level (mean = 4.27; SD = .763). Followed by having the patient take a fever test, high blood pressure, and oxygen send information about symptoms during treatment to the staff as scheduled (mean = 4.23; SD = .762). Initial screening with Antigen Test Kit (ATK) (mean = 4.22; SD = .791). RT-PCR assays for high-risk groups (mean = 4.22; SD = .783) and compliance with the Covid-19 treatment guidelines of the Department of Medical Services (mean = 4.22; SD = .798). Obstacle factors receiving health services for patients with Covid-19 infection in the view of the service recipient overall revealed that the multi-step process of information transmission was at the highest level (mean = 3.73; SD = .907). A limited number of personnel to provide health services at the first point of admission (mean = 3.66; SD = .986). The process to access health services is a multi-step process (mean = 3.63; SD = .944). Getting unfiltered information from social media (mean = 3.63; SD = 1.042) and having limited skills in using technology to access and receive news (mean = 3.63; SD = .990), respectively. The results recommended that (1) health services during the Covid-19 epidemic situation should use digital technology to assist in service dimensions of promotion, prevention, treatment, and rehabilitation: (2) There should be an integrated government network with the private and local operation; and (3) Supporting the use of ATK initial screening kits and enhancing health literacy, and creating responsibility for a new norm of life and sustainable lifestyle for the people. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ส832ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-187 | |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพที่ 9 | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area 9 | th_TH |
.custom.citation | สุพิตรา เศลวัตนะกุล, Supitra Selavattanakul, ธิดารัตน์ คณึงเพียร, Thidarat Kanungpiarn, สมจิตต์ เวียงเพิ่ม, Somjitt Wiangperm, ชัชฎาพร จันทรสุข, Chutchadaporn Jantarasuk, ควันเทียน วงศ์จันทรา, Kuantean Wongchantra, ชลดา กิ่งมาลา and Chonlada Kingmala. "การถอดบทเรียนเส้นทางการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเขตสุขภาพที่ 9." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5678">http://hdl.handle.net/11228/5678</a>. | |
.custom.total_download | 123 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 10 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย