Show simple item record

Economic Evaluation and Budget Impact Analysis of Transcatheter Aortic Valve Implantation in Patients with Severe Aortic Stenosis

dc.contributor.authorอัญชลี เพิ่มสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorUnchalee Permsuwanth_TH
dc.contributor.authorวรธิมา อยู่ดีth_TH
dc.contributor.authorVoratima Yoodeeth_TH
dc.contributor.authorจิรวิชญ์ ยาดีth_TH
dc.contributor.authorJirawit Yadeeth_TH
dc.date.accessioned2022-07-25T03:36:50Z
dc.date.available2022-07-25T03:36:50Z
dc.date.issued2565-06
dc.identifier.otherhs2832
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5680
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และภาระด้านงบประมาณของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก ผ่านทางสายสวนเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระยะรุนแรง วิธีการศึกษา ใช้แบบจำลองแผนภูมิต้นไม้ (decision tree) และแบบจำลองมาร์คอฟ (Markov model) ทำการเปรียบเทียบระหว่างการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (transcatheter aortic valve implantation, TAVI) และการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก (surgical aortic valve replacement, SAVR) ในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระยะรุนแรง ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการผ่าตัดปานกลางและกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการผ่าตัดสูง ในมุมมองทางสังคม จึงรวมต้นทุนทางตรงด้านการแพทย์ ได้แก่ ค่าทำหัตถการ ค่ารักษาอาการแทรกซ้อน (ทั้งในส่วนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก) และต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ ได้แก่ ค่าเดินทางมารับการรักษา ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าจ้างผู้ดูแล ข้อมูลต้นทุนได้จากการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลและการเก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้ป่วย ทั้ง 5 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ข้อมูลอรรถประโยชน์ได้จากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากทั้ง 5 โรงพยาบาลดังกล่าว ข้อมูลความน่าจะเป็นได้จากการทบทวนวรรณกรรม วัดผลลัพธ์ในรูปปีชีวิตและปีสุขภาวะ ทำการปรับลดต้นทุนและผลลัพธ์ด้วยอัตราลด ร้อยละ 3 จากนั้นวิเคราะห์อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มและทำการวิเคราะห์ความไวแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ได้แก่ การวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว การวิเคราะห์หาขีดจำกัด การวิเคราะห์สถานการณ์และการวิเคราะห์ความไวแบบอาศัยความน่าจะเป็น สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ อาศัยข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับข้อมูลด้านระบาดวิทยาของประเทศไทย ทำการวิเคราะห์กรณีฐานเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (No TAVI situation) และสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนร่วมด้วยร้อยละ 15 (TAVI ร้อยละ 15 ร่วมกับ No TAVI ร้อยละ 85) ทำการวิเคราะห์ภาระงบประมาณรายปี ในระยะเวลา 5 ปี นอกจากนี้ยังทำการวิเคราะห์ความไว ด้วยการเพิ่มอัตราการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) ร้อยละ 5 ต่อปี และการลดราคาลิ้น TAVI ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์กรณีฐาน พบว่า กรณีกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลาง ต้นทุนรวมตลอดชีพของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) เท่ากับ 1,717,132 บาท ต้นทุนรวมตลอดชีพของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก (SAVR) เท่ากับ 893,524 บาท ได้ปีสุขภาวะ เท่ากับ 4.88 และ 3.98 ปี ตามลำดับ คิดเป็นอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม เท่ากับ 906,937 บาท ต่อปีสุขภาวะ กรณีกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ต้นทุนรวมตลอดชีพของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) เท่ากับ 1,551,895 บาท ต้นทุนรวมตลอดชีพของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก (SAVR) เท่ากับ 548,438 บาท ได้ปีสุขภาวะ เท่ากับ 3.15 และ 2.31 ปีตามลำดับ คิดเป็นอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม เท่ากับ 1,196,191 บาท ต่อปีสุขภาวะ เมื่อเปรียบเทียบกับเพดานความคุ้มค่า ณ ปัจจุบันที่ 160,000 บาท ต่อปีสุขภาวะ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) จัดเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่มีความคุ้มค่าทั้งในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม โอกาสของความคุ้มค่าจะมีเพิ่มมากขึ้นถ้าระดับความเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาลิ้น TAVI เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มที่วิเคราะห์ได้ หากราคาลิ้นลดลงจากกรณีฐาน (1,175,173 บาท) เหลือ 390,583 บาท (ลดลงร้อยละ 63.5) สำหรับผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงปานกลาง และ 199,655 บาท (ลดลงร้อยละ 81.3) สำหรับผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงสูง จะทำให้อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มมีค่าเท่ากับเพดานความคุ้มค่า หรือ 160,000 บาท ต่อปีสุขภาวะ ผลการวิเคราะห์ภาระงบประมาณของกรณีฐาน ภาระงบประมาณสุทธิเฉลี่ย 136,561,166 บาท ต่อปี หากเพิ่มอัตราการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) ร้อยละ 5 ต่อปี ภาระงบประมาณจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 171,119,480 บาทต่อปี ถ้าอัตราการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ต่อปี ภาระงบประมาณเฉลี่ย 196,391,442 บาทต่อปี ถ้าขยายสิทธิการรักษาครอบคลุมประชากรอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป มีผลให้ภาระงบประมาณเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 403,008,823 บาทต่อปี กรณีอัตราการใช้ TAVI คงที่ร้อยละ 15 ต่อปี ภาระงบประมาณเฉลี่ยเพิ่มเป็น 504,994,664 บาทต่อปี และ 579,575,337 บาทต่อปี เมื่ออัตราการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) เพิ่มร้อยละ 5 ต่อปี และร้อยละ 10 ต่อปีตามลำดับ ภาระงบประมาณจะลดลงเรื่อยๆ ตามราคาลิ้น TAVI ที่ลดลง หากราคาลิ้นลดลงเหลือ 470,069 บาท (ลดลงร้อยละ 60) จะทำให้ภาระงบประมาณเฉลี่ยลดลงเหลือ 38,727,267 บาทต่อปี 47,890,464 บาทต่อปี และ 54,366,994 บาทต่อปี เมื่ออัตราการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) คงที่ร้อยละ 15 ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปีตามลำดับ สรุปผลการศึกษา การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) ยังเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่คุ้มค่า ณ เพดานความคุ้มค่าของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยราคาลิ้น TAVI ที่มีราคาสูงเป็นปัจจัยสำคัญ จึงจำเป็นต้องอาศัยกลไกหลายๆ อย่างเข้ามาช่วย เช่น การต่อรองราคา การคัดเลือกผู้ป่วยที่ควรได้รับหัตถการนี้อย่างแท้จริงเนื่องจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) เป็นหัตถการที่จัดว่าเป็น life saving สำหรับผู้ป่วยภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระยะรุนแรงที่ไม่สามารถได้รับหรือมีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAortic Valveth_TH
dc.subjectAortic Valve--Surgeryth_TH
dc.subjectAortic Diseases--Surgeryth_TH
dc.subjectลิ้นหัวใจ--ศัลยกรรมth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขและการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน ในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระยะรุนแรงth_TH
dc.title.alternativeEconomic Evaluation and Budget Impact Analysis of Transcatheter Aortic Valve Implantation in Patients with Severe Aortic Stenosisth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjective: To assess the cost-utility and budget impact of transcatheter aortic valve implantation (TAVI) compared with surgical aortic valve replacement (SAVR) in patients with severe aortic stenosis Methods: A hybrid model between decision tree and Markov model was used to compare TAVI and SAVR in 2 groups of patients with severe aortic stenosis, intermediate and high surgical risks. The societal perspective was taken into consideration; therefore, direct medical costs and direct non-medical costs were included. Direct medical costs comprised of costs of surgery, operation and complications (both outpatient and inpatient costs). Direct non-medical costs comprised of costs of transportation, accommodation, food, and caregiver. Those costs were collected either from electronic hospital databases or from patients’ interview of 5 hospitals (Siriraj, Chulalongkorn, Maharaj Nakorn Chiang Mai, Prince of Songkla, and Ramathibodi hospitals). Utility data were also directly collected from patients who visited above 5 hospitals. Probability data were obtained from literature review. Outcomes were measured in terms of life year and quality-adjusted life-year (QALY). All costs and outcomes were discounted with an annual discount rate of 3%. Incremental cost-effectiveness ratio (ICER) was estimated. A variety of sensitivity analyses such as deterministic sensitivity analyses (one-way sensitivity analysis, threshold analysis, scenario analysis), and probabilistic sensitivity analysis were performed. Budget impact analysis was also conducted based on the data from literature review and epidemiological data in Thailand. A scenario of no TAVI used (85%) versus TAVI used (15%) for treating severe aortic stenosis treatment was analyzed in base-case analysis. Sensitivity analyses were also performed by 5% increase in TAVI uptake each year, and the reduction in TAVI cost. Results: The base-case results showed that life-time total cost of TAVI and SAVR were 1,717,132 THB and 893,524 THB, respectively, while the QALYs were 4.88 years for TAVI and 3.98 years for SAVR. This yielded the estimated ICER of 906,937 THB per QALY for patients with intermediate risk. In case of patients with high risk, life-time total cost was 1,551,895 THB for TAVI and 548,438 THB for SAVR, while the QALYs were 3.15 years for TAVI and 2.31 years for SAVR. This yielded the estimated ICER of 1,196,191 THB per QALY. Comparing with the ceiling ratio of 160,000 THB per QALY, TAVI was not a cost-effective treatment for both groups with intermediate and high risks. The chance of TAVI being cost-effective would increase with higher level of the willingness to pay. In addition, TAVI valve was the most influential factor on the estimated ICER. The ICER was declined to 160,000 THB per QALY when the reduction in cost of TAVI valve was about 63.5% with the remaining cost of 390,583 THB and 81.3% with the remaining cost of 199,655 THB for patients with intermediate and high risks, respectively. The base-case results of budget impact analysis showed that the net budget impact (NBI) on average was 136,561,166 THB per year. The NBI would increase to 171,119,480 THB per year and 196,391,442 THB per year with an increase in TAVI uptake of 5% per year and 10% per year, respectively. The extension of TAVI treatment to the population aged 70 years and older increased the NBI to 403,008,823 THB per year for constant TAVI use of 15%. An increase in the TAVI uptake rate of 5% and 10% per year results in the NBI of 504,994,664 THB per year and 579,575,337 THB per year, respectively. The NBI would decline depending on the cost of TAVI valv. With the cost of TAVI valve of 470,069 THB (reduction by 60%), the NBI was decreased to 38,727,267 THB per year, 47,890,464 THB per year, and 54,366,994 THB per year when the TAVI use was 15% constant, or 5% yearly increase, or 10% yearly increase, respectively. Conclusion: The findings of the study indicated that TAVI is not a cost-effective technology at the ceiling ratio of 160,000 THB per QALY. The high cost of TAVI valve is of great important factor. Therefore, it needs several strategic mechanisms such as price negotiation, appropriate patient selection because TAVI is a life saving for severe aortic stenosis patients who are inoperable or have high risk for operation.th_TH
dc.identifier.callnoW74 อ525ก 2565
dc.identifier.contactno63-094
dc.subject.keywordความคุ้มค่าทางสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบth_TH
dc.subject.keywordAortic Stenosisth_TH
dc.subject.keywordเอออร์ติกth_TH
dc.subject.keywordAorticth_TH
dc.subject.keywordผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจth_TH
dc.subject.keywordTranscatheter Aortic Valve Implantationth_TH
dc.subject.keywordTAVIth_TH
dc.subject.keywordSurgical Aortic Valve Replacementth_TH
dc.subject.keywordSAVRth_TH
.custom.citationอัญชลี เพิ่มสุวรรณ, Unchalee Permsuwan, วรธิมา อยู่ดี, Voratima Yoodee, จิรวิชญ์ ยาดี and Jirawit Yadee. "การประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขและการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน ในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระยะรุนแรง." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5680">http://hdl.handle.net/11228/5680</a>.
.custom.total_download79
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year21

Fulltext
Icon
Name: hs2832.pdf
Size: 4.596Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record