Show simple item record

Policy Synthesis for the Tertiary Health Service Systems in the Situation of Corona 2019 (COVID-19) Pandemic in Bangkok Metropolitan Region

dc.contributor.authorอติญาณ์ ศรเกษตรินth_TH
dc.contributor.authorAtiya Sarakshetrinth_TH
dc.contributor.authorณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorNutthapong Wongwiwatth_TH
dc.contributor.authorธัญพร ชื่นกลิ่นth_TH
dc.contributor.authorThunyaporn Chuenklinth_TH
dc.contributor.authorอัจฉราวดี ศรียะศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorAtcharawadee Sriyasakth_TH
dc.contributor.authorนภัส แก้ววิเชียรth_TH
dc.contributor.authorNaphas Kaeowichianth_TH
dc.contributor.authorสุชาดา นิ้มวัฒนากุลth_TH
dc.contributor.authorSuchada Nimwatanakulth_TH
dc.contributor.authorวรวุฒิ แสงทองth_TH
dc.contributor.authorWorawut Saengthongth_TH
dc.contributor.authorเบญจพร สุธรรมชัยth_TH
dc.contributor.authorBenjaporn Suthamchaith_TH
dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaith_TH
dc.date.accessioned2022-07-25T03:54:29Z
dc.date.available2022-07-25T03:54:29Z
dc.date.issued2565-07
dc.identifier.isbn9786165934886
dc.identifier.otherhs2833
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5681
dc.description.abstractการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลต่อการให้บริการของหน่วยบริการทางการแพทย์ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) การบริหารจัดการ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการของระบบบริการในระดับตติยภูมิและเครือข่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) ถอดบทเรียนการบริหารจัดการในระบบบริการระดับตติยภูมิและเครือข่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบบริการของหน่วยบริการตติยภูมิและเครือข่าย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รวบรวมข้อมูลตั้งแต่สัปดาห์ที่ 14 ถึงสัปดาห์ที่ 53 ของปี 2564 โดยข้อมูลเชิงปริมาณรวบรวมจากฐานข้อมูล Co-lab และ Co-ward ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และอภิปรายกลุ่ม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง คือ ผู้บริหาร/ผู้แทนของโรงพยาบาล ผู้ทรงคุณวุฒิและทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ จำนวนทั้งสิ้น 126 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงกว่าในปริมณฑลและขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ที่ 32 (14,373 ราย/สัปดาห์ หรือเฉลี่ย 2,053 ราย/วัน) และในปริมณฑล มีจำนวนการติดเชื้อขึ้นสูงในสัปดาห์ที่ 32 โดยพบจำนวนผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 29 มีนาคม ถึง 31 ธันวาคม 2464 ในกรุงเทพมหานคร มีทั้งสิ้น 183,558 ราย ในเขตปริมณฑล จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุด คือ นนทบุรี รองลงมา คือ สมุทรปราการและสมุทรสาคร (54,998, 34,499 และ 30,373 ราย ตามลำดับ) จำนวนเตียงที่ขึ้นทะเบียนรับผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศจำนวน 154,942 เตียง เป็นเตียงในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 14.28 และเมื่อรวมเตียงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีสัดส่วนเตียง ร้อยละ 23.01 ของเตียงทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียน 2. การบริหารจัดการ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการของระบบบริการในระดับตติยภูมิและเครือข่าย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สรุปได้ว่า 2.1 ระบบบริการ (Service Delivery): มีการปรับระบบการให้บริการ โดยมีการใช้แนวคิดการบริหารจัดการระบบบริการที่รองรับภาวะวิกฤติและฉุกเฉิน ปรับโครงสร้างทางกายภาพรองรับผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เลื่อนบริการผู้ป่วยไม่ใช่โควิดที่ไม่ฉุกเฉินออกไปก่อน พัฒนาแนวปฏิบัติในการให้บริการและปรับการทำงานให้ทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัญหา/อุปสรรค พบว่า การให้บริการไม่ทั่วถึงในช่วงอัตราการติดเชื้อเพิ่มสูง เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังรู้จักน้อยและไม่เชี่ยวชาญ ประชาชนตื่นตระหนก การบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานไม่ชัดเจนและมีข้อจำกัดด้านคุณภาพการบริการ 2.2 บุคลากรสาธารณสุข (Health Workforce) มีการลดภาระงานไม่จำเป็น ระดมกำลังคนและแบ่งบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสม พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของบุคลากร บำรุงขวัญกำลังใจ ปัญหา/อุปสรรค พบว่า ภาระงานหนักแม้นไม่ใช่หน้าที่ก็ต้องทำและขาดบุคลากรในช่วงอัตราการติดเชื้อเพิ่มสูง มีความกลัวและตื่นตระหนกในช่วงแรกของการระบาด 2.3 ข้อมูลข่าวสาร (Information) ประกอบด้วย ระบบข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล ระบบข้อมูลข่าวสารในการรายงานการดำเนินงานไปกระทรวงสาธารณสุข ระบบบันทึกข้อมูลการเบิกจ่ายจากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการสื่อสารข้อมูลข่าวสารกับประชาชนและผู้ป่วย ปัญหา/อุปสรรค พบว่า มีปัญหาระบบข้อมูลสารสนเทศกลางของกระทรวงฯ ใช้งานยาก ระบบล่ม ระบบข้อมูลสารสนเทศเดิมที่ใช้อยู่ไม่รองรับบริการที่เพิ่มขึ้นและไม่เชื่อมต่อกับระบบข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงฯ ข้อมูลไม่ถูกต้อง ล่าช้า สื่อสารไม่ชัดเจน สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร 2.4 ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ วัคซีนและเทคโนโลยี (Medical Products, Vaccines & Technologies) พบว่ามีการปรับการดำเนินงานโดยการบริหารจัดการคลังและการกระจายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ วัคซีนแบบเร่งด่วน มีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ทดแทนผลิตภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็น และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการ ปัญหาอุปสรรคพบว่า มีปัญหาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ยา วัคซีน ขาดแคลนและราคาสูงขึ้นในช่วงแรก การกระจายผลิตภัณฑ์ไม่ทั่วถึง เวชภัณฑ์บางอย่างไม่ได้ใช้ คุณภาพไม่ดี 2.5 การเงิน (Financing) ประกอบไปด้วยเงินงบประมาณของทางโรงพยาบาล เงินงบพิเศษ เงินเบิกจ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเงินบริจาค ปัญหา/อุปสรรคพบว่า ระบบการเบิกจ่ายเงินไม่ชัดเจนและมีข้อจำกัดในการเบิกจ่าย 2.6 การนำและการอภิบาลระบบ (Leadership/Governance) ผู้นำมีการคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าและตัดสินใจลงมือทำอย่างรวดเร็ว เป็นแบบอย่างที่ดีในการสู้งานหนัก ไม่ถอย ร่วมลงมือปฏิบัติ ติดตามควบคุมกำกับและให้คำปรึกษา สื่อสารสร้างความเข้าใจ กล้าตัดสินใจรับงานใหม่ ปรับเปลี่ยน mindset และมีธรรมาภิบาล ปัญหา/อุปสรรคเกิดจากการสั่งการในเขตกรุงเทพมหานครไม่มีเอกภาพ 3. ถอดบทเรียนการบริหารจัดการในระบบบริการระดับตติยภูมิและเครือข่ายในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สรุปได้ว่า บทเรียนและความสำเร็จเกิดจากการเรียนรู้ การจัดการกับปัญหาวิกฤติ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมแรงร่วมใจ ไม่เกี่ยงงาน แม้นเหนื่อยยากก็สู้ไม่ถอย คนไทยมีน้ำใจไม่ทิ้งกัน วิกฤตสร้างโอกาส ความรู้และที่ปรึกษาเชิงวิชาการ 4. ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบบริการของหน่วยบริการตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ประกอบด้วย การทบทวนการจัดทำแผนจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและการบัญชาการอย่างเป็นเอกภาพ การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเป็นระบบเดียวกัน และทบทวนระบบการสำรองและการกระจายยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบบริการของหน่วยบริการตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)th_TH
dc.title.alternativePolicy Synthesis for the Tertiary Health Service Systems in the Situation of Corona 2019 (COVID-19) Pandemic in Bangkok Metropolitan Regionth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic have an impact on healthcare systems. A Mixed method study was used to explore 1) situation analysis of COVID-19 pandemic in Bangkok and metropolitan region 2) health system management COVID-19, problems and obstacles 3) lessons learned from the management of COVID-19 pandemic and 4) policy synthesis for the tertiary health service systems in COVID-19 pandemic in Bangkok and metropolitan region. Data were collected during from week 14 to week 54 in 2021. Quantitative data were collected from Co-lab and Co-ward. Qualitative data were collected by in-depth interview and focus group discussion. 126 purposive participants were conducted from hospital administrators or hospital representative, assessors, and multidisciplinary team in health care services. Descriptive statistics were used for quantitative data and content analysis were used for qualitative data. The results show that: 1. The situation analysis of COVID-19 pandemic in Bangkok and metropolitan region, the highest infected rate in Bangkok were found in week 32 (14,373 person/week or average number 2,053 person/day). Similarly, in metropolitan region, 183,558 infected persons reported on week 32. The highest infected persons reported on Nonthaburi, Samut Prakan and Samut Sakhon (54,998, 34,499 and 30,373 respectively). The registered hospital bed in Thailand were 154,942 beds, the bed capacity in Bangkok were reported 14.28 % and total bed capacity in Bangkok and metropolitan region addressed 23.01% of registered hospital bed. 2. The health system management COVID-19, problems and obstacles in Bangkok and metropolitan region, 2.1 service delivery: The hospitals adapted healthcare services under the concept of Incident Command System (ICS) in response to public health emergencies. Moreover, they modified some places to support many infected patients, postponed non-covid and non-emergency cases, developed clinical practice guideline, and making change in working methods follow the dynamic of situation. The participants reported service delivery barriers such as no service coverage during high infected rate, limited expertise due to emerging disease, people more afraid of catching COVID-19, non-collaboration between organizations across different sectors, lack of unity, and limited quality services. 2.2 health workforce: The hospitals reduced workload for responding to COVID-19, pooled the workforce, and managing appropriate role. In addition, developed competencies of healthcare providers, ensuring health care professionals safety, and providing reward. The informants reported health workforce barriers for example work overload and lack of health workforce during high infected rate, and fear during the first outbreak of COVID-19 pandemic 2.3 Information: The COVID-19 pandemic required health information systems (HIS) to report healthcare service, and disbursement record from National Health Security Office system. Furthermore, they needed to communicate with people and Covid patients. The participants reported information barriers such as the difficult to use and collapsed central health information system record from Ministry of Public Health, no linkage between health information system, incorrect data, unclear message, Wi-Fi problem. 2.4 Medical products, vaccines & technologies: The hospital adapted medical products, vaccines and technologies system by distribute medical products, accelerating access to vaccines, applied essential medical device, and developing innovations and technologies in health care services. The participants reported barriers to shortage and high price of medical products, medicine, and vaccines due to COVID-19 outbreak, coverage of distribution, and poor-quality. 2.5 Financing: The hospitals used budget of the hospital, special budget, disbursement from NHSO, and donation to fight against Covid-19. The financing barriers addressed unclear disbursement system, and limitation of disbursement. 2.6 leadership and governance: The leaders of team make a good, fast decisions, doing role model of hard work, co-operating, controlling and consulting management team, daring to switch new job, changed mindset, and good governance. However, the participants mentioned about without unity of command as the barriers in Bangkok hospitals. 3. The lessons learned from the management of COVID-19 pandemic in the tertiary health service systems, the key success factors to fight against COVID-19 lies in how to deal with COVID-19, learning and working together, taking advantage of working hard, Thai helping each other, crisis is an opportunity, and academic advising resources in response to COVID-19. 4. Policy synthesis for the tertiary health service systems in COVID-19 pandemic in Bangkok and metropolitan region, given that we now know the importance of revised Incident Command System for Disaster Preparedness with unity of command, developed data information system, and revised stock and allocation system of medical product, should be expected to provide resources to help support health service systems in COVID-19.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 อ137ก 2565
dc.identifier.contactno64-150
dc.subject.keywordหน่วยบริการตติยภูมิth_TH
dc.subject.keywordTertiary Health Service Systemsth_TH
.custom.citationอติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์, Nutthapong Wongwiwat, ธัญพร ชื่นกลิ่น, Thunyaporn Chuenklin, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, Atcharawadee Sriyasak, นภัส แก้ววิเชียร, Naphas Kaeowichian, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, Suchada Nimwatanakul, วรวุฒิ แสงทอง, Worawut Saengthong, เบญจพร สุธรรมชัย, Benjaporn Suthamchai, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบบริการของหน่วยบริการตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5681">http://hdl.handle.net/11228/5681</a>.
.custom.total_download79
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2833.pdf
Size: 5.597Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record