dc.contributor.author | จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส | th_TH |
dc.contributor.author | Jinjutha Chaisena Dallas | th_TH |
dc.contributor.author | ดวงใจ วัฒนสินธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Duangjai Vatanasin | th_TH |
dc.contributor.author | สายฝน ม่วงคุ้ม | th_TH |
dc.contributor.author | Saifone Moungkum | th_TH |
dc.contributor.author | พรชัย จูลเมตต์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pornchai Jullamate | th_TH |
dc.contributor.author | เวทิส ประทุมศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Watis Pratumsri | th_TH |
dc.contributor.author | มนตรี ขุนอินทร์ทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Montree Khuniontrtong | th_TH |
dc.contributor.author | ภาคินี เดชชัยยศ | th_TH |
dc.contributor.author | Pakinee Detchaiyot | th_TH |
dc.contributor.author | สาวิตรี วงศ์อินจันทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sawitree Wonginjun | th_TH |
dc.contributor.author | ศรวิษฐ์ บุญประชม | th_TH |
dc.contributor.author | Sawrawit Boonprachom | th_TH |
dc.contributor.author | สาวิตรี หลักทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Sawitree Lakthong | th_TH |
dc.contributor.author | วัชรา ตาบุตรวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Watchara Tabootwong | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-05T04:28:15Z | |
dc.date.available | 2022-08-05T04:28:15Z | |
dc.date.issued | 2565-07 | |
dc.identifier.other | hs2842 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5694 | |
dc.description.abstract | การดูแลที่สำคัญในเยาวชนผู้ใช้สารเสพติดในระยะฟื้นฟู คือ การเพิ่มความยืดหยุ่นในชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันภายในจิตใจ เพื่อป้องกันการกลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบการยอมรับและสร้างพันธะสัญญาเพื่อบ่มเพาะความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดในเยาวชนที่ใช้สารเสพติด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่เข้าร่วมบำบัดฟื้นฟูจากยาเสพติดในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ 2 และ 3 อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 100 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 50 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบการยอมรับและสร้างพันธะสัญญาเพื่อบ่มเพาะความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดและโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดตามปกติ กลุ่มบำบัดใช้เวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่น .80 และ .82 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระยะก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้นและระยะติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. เยาวชนที่ใช้สารเสพติดในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มบำบัดฯ มีคะแนนเฉลี่ยความยืดหยุ่นในชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. เยาวชนที่ใช้สารเสพติดในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความยืดหยุ่นในชีวิตในระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกับระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. เยาวชนที่ใช้สารเสพติดในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มบำบัดฯ มีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถนำโปรแกรมการบำบัดนี้ไปใช้เพื่อบำบัดเยาวชนที่ใช้สารเสพติดเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด การบำบัดนี้และจะเป็นรูปแบบการบำบัดที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคลากรทางสุขภาพและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด ในการนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้มีทักษะการบำบัดให้ดียิ่งขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เยาวชน | th_TH |
dc.subject | Youths | th_TH |
dc.subject | Teenagers | th_TH |
dc.subject | Teenagers--Drug Use | th_TH |
dc.subject | Substance Abuse | th_TH |
dc.subject | Substance Abuse--Therapy | th_TH |
dc.subject | Substance Abuse--Treatment | th_TH |
dc.subject | สารเสพติด | th_TH |
dc.subject | สารเสพติด--ในวัยรุ่น | th_TH |
dc.subject | ยาเสพติดกับเยาวชน | th_TH |
dc.subject | ยาเสพติดกับนักเรียน | th_TH |
dc.subject | สารเสพติด--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | ยาเสพติด | th_TH |
dc.subject | ยาเสพติด--การบำบัดและรักษา | th_TH |
dc.subject | การเลิกยาเสพติด | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบการยอมรับและสร้างพันธะสัญญาเพื่อบ่มเพาะความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดในเยาวชนที่ใช้สารเสพติด | th_TH |
dc.title.alternative | The Effectiveness of Acceptance and Commitment Group Therapy for Cultivating Resilience and Intention to Drug Abstinence on Youths with Substance Abuse | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The considerable care for youths with substance abuse in recovering phase is enhancing resilience, cultivate life immunity in order for relapse prevention. This quasi-experimental study was to examine the effectiveness of Acceptance Commitment Group Therapy on resilience and intention to drug abstinence among youths with amphetamine abuse. One hundred youths from the rehabilitation treatment at Wiwatphonlamuang School, Thai Royal Navy in Chonburi Province, Thailand were recruited and randomly selected to participate in experimental group and control group. Fifty participants in the experimental group participated the Acceptance and Commitment Group Therapy for cultivating resilience and intention to drug abstinence, and both experimental and control group attended the routine psychosocial rehabilitation program. The group therapy was carried on twice a week for 4 weeks. The resilience and Intention to drug abstinence questionnaires were applied for data collection before and after participation, then four weeks follow up. Descriptive statistics and Two-way repeated measurement ANOVA were used for data analysis. The results revealed as follows: 1. The mean scores of resilience in experimental group were higher than control group at post-test and 1-month follow-up were significantly different at .001 2. In experimental group, the mean scores of resiliance at pre-test and 1 month follow up were significantly different at .05 and 3. The mean scores of intention to drug abstienance in experimental group were higher than control group at post-test and 1-month follow-up were significantly different at .05 The results suggest that nurses and health care providers could apply this program to promote resilience and intention to drug abstinence in youth with substance abuse. This therapy will be an alternative treatment for both health personnel and those who work in the drug treatment and rehabilitation facilities. Those personnel can employ the body of knowledge to develop and improve their drug treatment skills. | th_TH |
dc.identifier.callno | HV5840.T5 จ389ผ 2565 | |
dc.identifier.contactno | 62-059 | |
dc.subject.keyword | Drug Abstinence | th_TH |
.custom.citation | จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, Jinjutha Chaisena Dallas, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, Duangjai Vatanasin, สายฝน ม่วงคุ้ม, Saifone Moungkum, พรชัย จูลเมตต์, Pornchai Jullamate, เวทิส ประทุมศรี, Watis Pratumsri, มนตรี ขุนอินทร์ทอง, Montree Khuniontrtong, ภาคินี เดชชัยยศ, Pakinee Detchaiyot, สาวิตรี วงศ์อินจันทร์, Sawitree Wonginjun, ศรวิษฐ์ บุญประชม, Sawrawit Boonprachom, สาวิตรี หลักทอง, Sawitree Lakthong, วัชรา ตาบุตรวงศ์ and Watchara Tabootwong. "ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบการยอมรับและสร้างพันธะสัญญาเพื่อบ่มเพาะความยืดหยุ่นในชีวิตและความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดในเยาวชนที่ใช้สารเสพติด." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5694">http://hdl.handle.net/11228/5694</a>. | |
.custom.total_download | 118 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 38 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |