แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ชีวิต สุขภาพ และ การเข้าถึงระบบสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในเมือง: การศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานย้ายถิ่นในกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorลือชัย ศรีเงินยวงth_TH
dc.contributor.authorLuechai Sri-ngernyuangth_TH
dc.contributor.authorวาศินี กลิ่นสมเชื้อth_TH
dc.contributor.authorVasinee Klinsomchuath_TH
dc.date.accessioned2022-08-08T04:19:45Z
dc.date.available2022-08-08T04:19:45Z
dc.date.issued2565-07
dc.identifier.otherhs2846
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5698
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพและการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในเมืองในประเทศไทย และเพื่อศึกษาพัฒนาโจทย์วิจัยทางด้านสุขภาพ และการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในเมืองในประเทศไทย อันจะนำไปสู่ข้อเสนอการพัฒนานโยบายในอนาคต โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) คือ 1) การศึกษาจากเอกสาร บทความและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2) การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) การวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม จำนวน 300 ชุด กับคนขับรถแท็กซี่ตามจุดบริการจอดรถแท็กซี่, อู่รถแท็กซี่และจุดพักรถสำหรับรอผู้โดยสารต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4) การจัดเวทีเสวนาเสียงสะท้อนจากกลุ่มคนขับแท็กซี่ เพื่อการผลักดันงานเชิงนโยบาย ผลการวิจัยพบว่า ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 300 คน เป็นผู้ชายร้อยละ 97.7 และประมาณ 1 ใน 3 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยมีภูมิหลังแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มาจากต่างจังหวัดแถบภาคอีสานเป็นหลัก เดินทางย้ายถิ่นเข้ามาขับรถแท็กซี่สืบต่อกันหลายรุ่น 2) กลุ่มอาชีพรับจ้างอื่นๆ ที่เปลี่ยนงานเข้าสู่อาชีพแท็กซี่ 3) กลุ่มคนขับรถแท็กซี่เป็นอาชีพเสริม และ 4) กลุ่มข้าราชการเกษียณที่เพิ่มมากขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา ด้วยวัยและลักษณะงานที่ต้องนั่งขับรถนานเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้คนขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพ โดยส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวานและไขมันในเลือดสูง ตามลำดับ มากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี และมีอาการเจ็บป่วยจากการขับรถ คือ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดข้อเข่าหรือหลัง ทางเดินปัสสาวะอักเสบและความเครียดอันเนื่องมาจากปัญหาการจราจร รายได้ที่ลดลงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายและการต้องเผชิญกับพฤติกรรมผู้โดยสาร ขณะที่การเข้าถึงบริการสุขภาพและสิทธิประโยชน์อื่นๆ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้ารับบริการนอกเขตพื้นที่สิทธิเดิมของตนเองและคนขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเรื่องการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล อีกทั้งยังไม่ได้รับสวัสดิการอื่นๆ เช่น ประกันการว่างงาน ประกันการเสียชีวิต กองทุนสำรอง สินเชื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ด้วยการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น จากการเข้ามาของแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชัน และการระบาดของโควิด 19 ยิ่งทำให้เกิดภาวะไม่คุ้มค่าเช่า ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการขับรถที่เป็นปัญหาร้องเรียน รวมถึงปัญหาเชิงระบบแท็กซี่ที่มีอยู่หลากหลาย ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ระเบียบกฎเกณฑ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นไปในลักษณะของการควบคุมรายได้แต่ไม่ควบคุมรายจ่าย ปัญหาการคัดกรองคนเข้าสู่อาชีพแท็กซี่ ทำให้เกิดการแบ่งแท็กซี่หลายกลุ่มและเกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างกัน จนเป็นช่องว่างของปัญหาอาชญากรรมและปัญหาคุณภาพของบริการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนขับแท็กซี่รายย่อยและผู้โดยสารที่ไม่ได้รับคุณภาพด้านการบริการที่ดีในปัจจุบัน การวิจัยนี้จึงมีบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำคัญ คือ ในระยะสั้นเสนอให้ 1) มีการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพและการตรวจคัดกรองสุขภาพของคนขับแท็กซี่ 2) กำหนดให้คนขับรถแท็กซี่ทุกคนได้รับหลักประกันเทียบเท่ากับสิทธิประกันสังคมในมาตรา 33 3) ควรให้มีการจัดตั้งกองทุนกลางขึ้นเพื่อขึ้นทะเบียนคนขับรถแท็กซี่ และจัดสร้างสวัสดิการให้แก่คนขับ โดยสนับสนุนให้คนขับรถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการนั้นๆ ด้วย และ 4) ควรจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพของคนขับรถแท็กซี่ ด้วยการเพิ่มพูนทักษะความรู้ต่างๆ ที่จะทำให้สามารถปรับตัวแข่งขันด้านการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น ส่วนในระยะยาวเสนอให้ 1) มีนโยบายในการพัฒนาระบบแท็กซี่ในประเทศให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น กำหนดคุณสมบัติของคนขับรถแท็กซี่ มีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ ตรวจสภาพรถและทดสอบสมรรถภาพผู้ขับเป็นประจำ และกำหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพหรือเพิ่มเงื่อนไขทางกฎหมายในการทำใบขับขี่ เป็นต้น เพื่อคัดกรองและตรวจสอบคนขับเข้าสู่อาชีพ และ 2) เสนอให้สร้างระบบแท็กซี่ทางเลือกใหม่สำหรับรัฐบาลกลางหรือกรุงเทพมหานคร เช่น แท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอื่นๆ โดยอาจพัฒนาจากแท็กซี่มิเตอร์แบบเดิม ที่ยังใช้เทคโนโลยีล้าหลัง เป็นผู้สูงอายุและขาดการศึกษาฝึกอบรมที่พอเพียง เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้แก่กลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectImmigrantsth_TH
dc.subjectแรงงานย้ายถิ่นth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectAgingth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectคนขับรถแท็กซี่th_TH
dc.subjectคนขับรถแท็กซี่--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectVulnerable Populationsth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Systemsth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Insuranceth_TH
dc.subjectการประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleชีวิต สุขภาพ และ การเข้าถึงระบบสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในเมือง: การศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานย้ายถิ่นในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeLife, Health and Health Service Accessibility of Urban Vulnerable Population: A Study of Aging Immigrant Workers in Bangkokth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to probe the health problems and the access to the healthcare system in a sensitive group of citizens in Thailand, as well as to explore and expand the research topics on health and access to the healthcare system in the mentioned group, which could lead to the development of future proposals of policies. This research is composed using mixed methods which are: 1) Citations from documents, articles, and related academic writings, 2) Qualitative research with the information gathered from insightful interviews with taxi drivers in Bangkok and its vicinities, 3) Quantitative research with 300 sets of queries answered by taxi drivers found at several taxi stops, taxi depots, and rest stops in Bangkok and its vicinities, and 4) Public debates with taxi drivers allowing them to voice their opinions and problems for practical development of policies. The research shows that 97.7 percent of the 300 informants are male, and one-third of them aged over 60 years old. They are from 4 major backgrounds: 1) Internal migrants with 80 percent of them migrating from the provinces in the North-East region for many generations, 2) Workers changing jobs, 3) Part-time taxi drivers, and 4) Retired civil servants, which increase in the past years. With their age and the nature of the job that requires them to sit and drive for an average of 10-12 hours per day, most taxi drivers face multiple health problems – with the majority adopting diseases such as hypertension, diabetes, and hyperlipidemia. On the other hand, more than half of them have never had an annual health check and are afflicted with body, knee, or back pain, urinary tract inflammation, and accumulating depression from the traffic, decreasing income, and behaviors of the passengers. For access to healthcare services and other benefits, we found that the majority have the Universal Coverage Scheme (UCS) which is known for its limitation when used outside of the registered domicile. Moreover, the taxi drivers are found to have limited knowledge of healthcare services and lack fundamental benefits such as unemployment funds, insurance, provident funds, or bank credits. With rising competitiveness and disruptions from either taxi applications or the Covid-19 pandemic, they end up having deficits. These lead to bad driving behavior which is followed by customer complaints aggravating the existing systematic problems such as loosening standards, pressuring government policies that demotivate the compliance of their income and expense, particularism, and conflicts of interest. These problems impact the small-time drivers and are the root of the ongoing dissatisfactory services. The research hence contains summary and policy proposals. In the short-term we should 1) Promote taxi drivers’ access to the healthcare service and provide health screening, 2) Provide public benefits equivalent to the benefits prescribed in Article 33 of Social Security Rights, 3) Establish a central fund and foundation to look over driver registration and benefits with taxi drivers participating as a part of the establishment, and 4) Improve taxi drivers’ skills and knowledge to prepare them for market competition and service disruption. For the long-term proposals, 1) Develop taxi standards, which could be done in various ways whether to set up driver qualifications (having a public driving license, regular car inspection, and an up-to-date certificate, passing performance tests regularly) and enforce legal requirements for the professional certificate and specific driving license as a part of a quality driver screening, 2) Create alternative taxi systems for central government or in Bangkok such as taxis for the senile, disabled people, and other specific groups in addition to the non-developed typical taxi meters with uneducated and old drivers to improve service and income.th_TH
dc.identifier.callnoHB886 ล517ช 2565
dc.identifier.contactno63-036
dc.subject.keywordTaxi Driversth_TH
dc.subject.keywordImmigrant Workersth_TH
dc.subject.keywordประชากรชายขอบth_TH
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเฉพาะth_TH
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเปราะบางth_TH
.custom.citationลือชัย ศรีเงินยวง, Luechai Sri-ngernyuang, วาศินี กลิ่นสมเชื้อ and Vasinee Klinsomchua. "ชีวิต สุขภาพ และ การเข้าถึงระบบสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในเมือง: การศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานย้ายถิ่นในกรุงเทพมหานคร." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5698">http://hdl.handle.net/11228/5698</a>.
.custom.total_download97
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year27
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2846.pdf
ขนาด: 1.740Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย