Show simple item record

Capacity Building Programs for Street Teachers

dc.contributor.authorลือชัย ศรีเงินยวงth_TH
dc.contributor.authorLuechai Sri-ngernyuangth_TH
dc.contributor.authorชุติมา พัฒนพงศ์th_TH
dc.contributor.authorChutima Pattanapongth_TH
dc.date.accessioned2022-08-09T06:57:19Z
dc.date.available2022-08-09T06:57:19Z
dc.date.issued2565-07
dc.identifier.otherhs2848
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5700
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและอบรมองค์ความรู้ ทักษะแนวทางความคิดเพื่อการทำงานกับเด็กและเยาวชน เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้การทำงานของครูข้างถนนกับเด็กกลุ่มเปราะบาง รวมถึงการค้นหาและข้อจำกัดของระบบและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายในการทำงานเพื่อแก้ปัญหากลุ่มเด็กเปราะบาง โดยดำเนินการกับครู จำนวน 30 คน จากหลากหลายองค์กรทั่วประเทศ ผลการดำเนินงานพบว่า ปัญหาของเด็กกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะเด็กเร่ร่อนเป็นเด็กที่ต้องเผชิญปัญหาที่แตกต่างจากเด็กเปราะบางทั่วไป เช่น เรื่องสิทธิทางการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล ปัญหาเชิงจิตเวชจากความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาเชิงระบบกฎหมายต่างๆ ครูข้างถนนจึงจำเป็นต้องมีทักษะการช่วยเหลือต่างๆ ที่สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตของเด็กในทุกด้าน เพราะฉะนั้น การพัฒนาเติมเต็มศักยภาพครูจึงเปรียบเสมือนการติดอาวุธที่หมายถึงทำอย่างไรให้งานของครูข้างถนน เป็นที่รับรู้รับฟังของคนอื่นและเป็นอาวุธที่จะช่วยตัวของครูข้างถนน เมื่อต้องพบเจอปัญหายากสามารถยกระดับจิตใจและปล่อยวาง สร้างพลังใจให้แก่ตนเองได้ รวมถึงในมิติวิชาการที่ครูควรเข้าใจความซับซ้อนของภาวะเหล่านี้ทางสังคม แล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ความมั่นคงและความก้าวหน้าในชีวิตของครูข้างถนนท่ามกลางการทำงานช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบางที่ยากยิ่งนั้น ชีวิตของครูข้างถนนก็เผชิญกับความยากไม่น้อยไปกว่าเด็ก การทำงานที่ใช้หัวใจและพลังกำลังแรงกายย่อมต้องการแรงสนับสนุนที่เป็นเหมือนลมใต้ปีกให้แก่ครูเหล่านี้ หากแต่ความจริงที่เป็นนั้น ครูข้างถนนกำลังอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคงใดๆ เลย ทั้งปัญหางบประมาณที่ใช้เป็นทุนในการทำงานกับเด็ก งบประมาณเพื่อการดำเนินชีวิตของตนเอง การมองความก้าวหน้าในอนาคตของครู โครงการนี้จึงมีบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ 1) การทำให้กลไกการทำงาน เช่นครูข้างถนนและบุคคลอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันมีพื้นที่การทำงานที่มั่นคง มีระบบสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพ เครื่องมือและกลไกเชื่อมโยงส่งต่อเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ท่ามกลางปัญหาที่ยากขึ้น แต่คนทำงานแถวหน้าอ่อนล้าลงทั้งจำนวน ทรัพยากรและขวัญกำลังใจ การมีนโยบายในการทำให้กลไกครูข้างถนนได้รับการยอมรับและถูกพัฒนาให้เป็น กลไกที่ชัดเจนขององค์กรและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม จะเป็นหลักประกันว่า สังคมจะมีระบบและกลไกที่คอยทำหน้าที่ดูแลปัญหาเด็กเปราะบางที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนขึ้น 2) การพัฒนาครูข้างถนนไม่ใช่แค่การพัฒนาบุคลากร แต่ต้องเชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้จากบทเรียนที่แตกต่างกัน ครูข้างถนนต้องไม่ทำงานเพียงลำพัง การดำเนินงานเป็นภาคีเครือข่ายที่แข็งแรงนั้นจะช่วยให้การทำงานของครูข้างถนนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นเป็นเพราะปัญหาของเด็กเปราะบางเกี่ยวโยงกับหลายบริบท จึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่าย การหนุนเสริม ซึ่งควรเกิดขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 3) ควรมองว่าการตั้งต้นพัฒนาครูข้างถนนจะส่งผลเชื่อมโยงกับการฟื้นฟูเด็กกลุ่มเปราะบางให้สามารถคืนกลับสู่สังคมได้ กลุ่มครูข้างถนนเปรียบเป็นฟันเฟืองสำคัญในการทำงานที่เข้าถึงเด็กกลุ่มนี้มากที่สุด เพราะฉะนั้น การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับคนทำงานจริงในพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธี 4) การแก้ไขปัญหาที่เน้นบทบาทการประสานงาน เชื่อมโยงกับชุมชนเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ครูข้างถนน ต้องมีบทบาทหน้าที่ที่บูรณาการการทำงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่เพื่อให้ผลลัพธ์นั้นนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้จริงในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้คือกลไกเครือข่ายแนวราบที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนได้อย่างเข้าใจสถานการณ์ที่ผันแปรอย่างรวดเร็ว กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันก่อนที่จะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา และแก้ปัญหาได้ตรงจุดมีประสิทธิผล เป็นหนทางที่สร้างความยั่งยืนได้ในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectครูth_TH
dc.subjectTeachersth_TH
dc.subjectครู--การทำงานth_TH
dc.subjectเด็กและเยาวชนth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectChildth_TH
dc.subjectเยาวชนth_TH
dc.subjectYouthsth_TH
dc.subjectTeenagersth_TH
dc.subjectเด็กเร่ร่อนth_TH
dc.subjectการศึกษาth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectVulnerable Populationsth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Systemsth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและขับเคลื่อนงานของครูข้างถนน ประสบการณ์เรื่องเล่าการทำงานภาคสนามของครูข้างถนนth_TH
dc.title.alternativeCapacity Building Programs for Street Teachersth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this project are 1) to develop the potential and train the knowledge, cognitive skills for working with children and youth, 2) to synthesize the working knowledge of street teachers and vulnerable children, 3) to identify the system constraints, and 4) to push for policy recommendations to address vulnerable children by collecting data on 30 teachers from various organizations throughout the country. Results of this study showed that the problem of vulnerable children, especially tramp children that faces with different problems than most vulnerable children, such as rights to education, rights to medical care, psychiatric problems from domestic violence, sexual harassment issues, and problems of the judicial system, etc. Therefore, the street teachers need to have assistive skills that are consistent with the quality of life of children in all aspects. The development of teachers' potential is to equip with weapons as how to make the work of street teachers to be publicized to others, and will help them when it comes to difficult problems for empowering themselves, as well as in academic dimensions, teachers should understand the complexity of these social conditions and take it for useful, build stability and career path of street teachers amid the hard work of helping vulnerable children. The life of the street teachers was also difficult as same as the children because working with the heart and physical strength requires the support that is like the wind beneath their wings for these teachers. But in facts, the street teachers are in conditions of insecurity at all, including problem of budget issues that are used to fund for working with children, budget for living on their own, and career path of teachers in the future. Therefore, the conclusions and policy recommendations of this project have as follows: 1) how to make mechanisms be recognized and developed into concrete mechanisms for organizations and their respective sectors such as local administration organizations, non-governmental organizations (NGOs), government agencies, and civil society. Moreover, the street teachers and others working like them, should have stable work spaces, having support systems for capacity building and appropriate tools in order to ensure the society will have more efficient and sustainable systems and mechanisms to address the problem of vulnerable children, 2) the development of street teachers is not only the personnel development, but also the need to connect networks to learn from various lessons. Therefore, street teachers shouldn't have to work alone but should be a strong network partners group which will help the work of street teachers are more efficient due to the problem of vulnerable children are associated with many contexts, so it requires cooperation as a support network partner. However, the network partners should take place seriously and continuously, 3) They should focus that initiating the development of street teachers will affect to the recovery, social reintegration and vulnerable children's survival. The group of street teachers is a key that able to reach this group of children the most. Therefore, it is very important to create a process of engagement with local people in order to properly implement preventive and corrective actions, and 4) problem-solving that emphasizes the role of coordinating with the community is another mechanism that street teachers must have a role to play in work integrating among local practitioners then it led to find out the problem-solving that are practical in the area. These are mechanisms of network adaptation in horizontal that will be driven in the prevention and resolution of problems of children and youth in understanding the rapidly changing situation as well as immunization before other problems will arise and able to solve the problem effectively which this will be a guideline to create sustainability in the future.th_TH
dc.identifier.callnoLB100 ล517ก 2565
dc.identifier.contactno63-036
dc.subject.keywordครูข้างถนนth_TH
dc.subject.keywordStreet Teachersth_TH
dc.subject.keywordประชากรชายขอบth_TH
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเฉพาะth_TH
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเปราะบางth_TH
dc.subject.keywordChildren and Youthth_TH
dc.subject.keywordMigrant Childrenth_TH
dc.subject.keywordVulnerable Childrenth_TH
.custom.citationลือชัย ศรีเงินยวง, Luechai Sri-ngernyuang, ชุติมา พัฒนพงศ์ and Chutima Pattanapong. "การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและขับเคลื่อนงานของครูข้างถนน ประสบการณ์เรื่องเล่าการทำงานภาคสนามของครูข้างถนน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5700">http://hdl.handle.net/11228/5700</a>.
.custom.total_download15
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2848.pdf
Size: 2.047Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record