Show simple item record

The Synthesis of Policy Recommendation for Thailand’s Health Systems Resilience by Applying System Dynamics Modeling of COVID-19 Epidemic: Supply Chain Management of the COVID-19 Vaccines

dc.contributor.authorบวรศม ลีระพันธ์th_TH
dc.contributor.authorBorwornsom Leerapanth_TH
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimatth_TH
dc.contributor.authorปณิธี ธัมมวิจยะth_TH
dc.contributor.authorPanithee Thammawijayath_TH
dc.contributor.authorวรสิทธิ์ ศรศรีวิชัยth_TH
dc.contributor.authorVorasith Sornsrivichaith_TH
dc.contributor.authorพาส์น ฑีฆทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorPard Teekasapth_TH
dc.contributor.authorวรารัตน์ ใจชื่นth_TH
dc.contributor.authorWararat Jaichuenth_TH
dc.contributor.authorปฐมพร ศิรประภาศิริth_TH
dc.contributor.authorPathomphorn Siraprapasirith_TH
dc.contributor.authorขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทยth_TH
dc.contributor.authorKwanpracha Chiangchaisakulthaith_TH
dc.contributor.authorภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัยth_TH
dc.contributor.authorPhanuwich Kaewkamjornchaith_TH
dc.contributor.authorแพรวนภา พันธุ์สวาสดิ์th_TH
dc.contributor.authorPraewnapa Puntusavaseth_TH
dc.date.accessioned2022-08-11T08:35:08Z
dc.date.available2022-08-11T08:35:08Z
dc.date.issued2565-03
dc.identifier.otherhs2856th_TH
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5704
dc.description.abstractการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19 หรือ COVID-19) เป็นปัญหาที่ซับซ้อน มีพลวัตรสูงและส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทั้งระดับภายในประเทศและระดับนานาชาติ นอกจากผลกระทบโดยตรงต่อด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 การระบาดของโรคโควิด-19 ยังส่งผลต่อการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคและภาวะอื่นๆ อีกจำนวนมาก ผู้กำหนดนโยบายในประเทศไทยและทั่วโลกจึงพยายามใช้มาตรการเพื่อจัดการกับภาวะโรคระบาดที่เกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งอาจแบ่งกลุ่มนโยบายการจัดการเป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่ การควบคุมโรคโดยมาตรการทั่วไป (non-pharmaceutical intervention: NPI) และการควบคุมโรคโดยใช้ยาหรือวัคซีน (pharmaceutical intervention: PI) ซึ่งในระยะแรกของการระบาดใหญ่ยังไม่มียาหรือวัคซีนสำหรับการควบคุมโรคโควิด-19 หลายประเทศทั่วโลกจึงมุ่งเน้นการบังคับใช้ NPI เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาด เช่น การห้ามเดินทางเข้าออกประเทศ การประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในบางช่วงเวลา (เคอร์ฟิว) การปิดสถานที่ราชการและการงดกิจกรรมทางสังคม การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การรณรงค์เรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้ล้วนมีประสิทธิผลจำกัดเมื่อบังคับใช้ในระยะยาวและยังส่งผลทำให้เกิดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง เนื่องจากความรุนแรงของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ติดเชื้อและข้อจำกัดของ non-pharmaceutical interventions ทำให้หน่วยงานทั่วโลกทั้งภาครัฐและเอกชนได้เร่งทำการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ซึ่งถึงแม้จะมีวัคซีนหลายชิ้นถูกพัฒนาขึ้นมาและพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลในมนุษย์แต่ยังคงมีความท้าทายและความยากลำบากในการนำวัคซีนไปใช้จริงในระดับกลุ่มประชากร เนื่องจากวัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตให้นำไปใช้กับมนุษย์ได้เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และยังมีข้อจำกัดในแง่ความปลอดภัยที่ยังไม่ถูกประเมินอย่างรอบด้านในระยะยาววัคซีนบางชนิดที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ซึ่งต้องใช้การจัดเก็บและขนส่งแบบเฉพาะซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับการใช้งานในหลายบริบท และวัคซีนที่ถูกผลิตขึ้นในระยะแรกยังมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ดังนั้น การตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่ไม่รอบด้าน อาจจะทำให้การควบคุมโรคไม่บรรลุตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ (ineffectiveness) อาจเกิดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น (avoidable loss) รวมทั้งอาจกระทบทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ (health inequity) นอกจากการระบาดของโรคโควิด-19 จะเป็นปัญหาซับซ้อนที่มีพลวัตสูงแล้ว การตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ก็มีความซับซ้อนและไม่แน่นอนสูงมากเช่นเดียวกัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนและไม่แน่นอนเกี่ยวกับที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงระบบ (systems thinking) และกระบวนการสร้างแบบจำลองพลวัตระบบ (system dynamics modelling) โดยใช้กระบวนการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดและข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนชนิดต่างๆ คณะผู้วิจัยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างแบบจำลองแบบกลุ่ม (group model building) เพื่อทำงานกับผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับนโยบายการจัดการวัคซีนต้านโรคโควิด-19 สังเคราะห์แบบจำลองการไหล (stock and flow diagram) ที่พัฒนาต่อยอดจากแบบจำลองทางระบาดวิทยา SEIR เพื่อจำลองฉากทัศน์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปสนับสนุนการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ทั้งการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการรับวัคซีนและการจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและเกิดผลไม่คาดคิดน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์เพื่อตอบสนองการตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนต้านโรคโควิด-19 นั้นยังมีจำกัดมากในประเทศไทย แต่การทบทวนวรรณกรรมในต่างประเทศและการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญไปสู่การสังเคราะห์แบบจำลองพลวัตระบบในบริบทของประเทศไทยในระหว่างการระบาดระลอกเมษายน 2564 ซึ่งวัคซีนยังมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อได้ดี แต่ประเทศไทยมีปริมาณวัคซีนจำกัดไม่เพียงพอสำหรับประชาชนทุกคน ผลการศึกษาจากแบบจำลองสถานการณ์ชี้ให้เห็นว่า นโยบายการจัดสรรวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่มุ่งปูพรมฉีดในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคสูงก่อนจะลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้มากกว่าการตัดสินใจกระจายฉีดทั่วประเทศ และแม้ว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ว่าหากประชากรเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตมากกว่าหากติดเชื้อ แต่นโยบายการจัดสรรวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ให้ทั้งประชากรกลุ่มเปราะบางทางสุขภาพและกลุ่มที่แข็งแรงสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้มากกว่าการมุ่งเน้นฉีดเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางทางสุขภาพ ส่วนผลการศึกษาจากแบบจำลองสถานการณ์ในบริบทประเทศไทยในระหว่างการระบาดระลอกมกราคม 2565 ซึ่งประเทศไทยเริ่มมีปริมาณวัคซีนเพียงพอสำหรับประชาชนแต่วัคซีนมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้เพียงบางส่วนชี้ให้เห็นว่า นโยบายการจัดหาและจัดสรรวัคซีนต้านโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้น (booster dose) ให้แก่ประชากรกลุ่มเปราะบางมีความสำคัญต่อการลดอัตราป่วยตายจากโรคโควิด-19 และเมื่อประชากรกลุ่มซึ่งเคยได้วัคซีนครบแล้วหรือกลุ่มที่เคยติดเชื้อมีระดับภูมิคุ้มกันลดลงเมื่อเวลาผ่านไป (vaccine waning) อาจทำให้เกิดโอกาสของการระบาดระลอกใหม่ได้ ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายควรมีตัวชี้วัดในการติดตามสถานการณ์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายที่มีประสิทธิผลไม่ว่าจะเป็นนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนเอง นโยบายเพื่อควบคุมโรคอื่นๆ ข้อมูลในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2565 ชี้ว่าอัตราความครอบคลุมของประชากรผู้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นยังน้อยกว่าที่ควรจะเป็นและอัตราการฉีดเข็มกระตุ้นรายวันยังต่ำมาก และการได้รับวัคซีนครบสองเข็มยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อแบบมีอาการที่เกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ดังนั้น หากผู้กำหนดนโยบายไม่มีมาตรการจูงใจหรือมาตรการประเภทอื่นเพื่อเร่งอัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้สูงขึ้น โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเปราะบางทางสุขภาพจะทำให้มีผู้ติดเชื้อแบบมีอาการและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกระลอกในปี พ.ศ. 2565 คณะผู้วิจัยได้นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายให้แก่ผู้กำหนดนโยบายในหลายระดับ เช่น คณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.), ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (emergency operation center: EOC) ของกระทรวงสาธารณสุข, ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข รวมทั้งสื่อสารผลการศึกษาเบื้องต้นแก่สาธารณะผ่านเว็บไซต์ของคณะผู้วิจัยและผ่านทางสื่อมวลชนเป็นระยะ อย่างไรก็ตามการพัฒนาแบบจำลองพลวัตระบบให้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งพิจารณานโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 เนื่องจากกระบวนการวางแผนและตัดสินใจเชิงนโยบายในภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินของประเทศไทย มีแนวโน้มที่ผู้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นการตอบโต้ต่อสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยยังไม่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบสุขภาพ ทำให้ปัญหาหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ยังคงอยู่ เช่น ความสับสนในกระบวนการสื่อสารความเสี่ยงต่อสาธารณะเรื่องการรับวัคซีนของประชากรกลุ่มต่างๆ ดังนั้น การสร้างเวทีและกระบวนการเรียนรู้ของผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการนโยบายในระหว่างการทำงานวิชาการ เช่น การพัฒนาแบบจำลองพลวัตระบบเพื่อสนับสนุนระบบการจัดการภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินในระยะที่ผ่านมาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และน่าจะมีส่วนทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนากระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายในภาวะวิกฤตบนพื้นฐานของหลักฐานวิชาการ (evidence-informed policy-making) แม้ว่าจะเป็นความท้าทายต่อผู้กำหนดนโยบายที่จะใช้งานวิชาการในกระบวนการตัดสินใจท่ามกลางความกดดันรอบด้านจากสาธารณะและมีข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของข้อมูลแต่เป็นการทำงานที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมการจัดการสถานการณ์สาธารณสุขฉุกเฉินในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัคซีนth_TH
dc.subjectVaccinesth_TH
dc.subjectวัคซีนโควิด-19th_TH
dc.subjectCOVID-19 Vaccinesth_TH
dc.subjectSARS-CoV-2th_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCOVID-19--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectSupply Chain Managementth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการใช้แบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนโควิด-19th_TH
dc.title.alternativeThe Synthesis of Policy Recommendation for Thailand’s Health Systems Resilience by Applying System Dynamics Modeling of COVID-19 Epidemic: Supply Chain Management of the COVID-19 Vaccinesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic is a complex, highly dynamic problem with negative impacts on health and socio-economics aspects, both nationally and internationally. In addition to the direct impacts on the health of COVID-19 patients, the pandemic also affected the provision of healthcare services for patients with many other diseases and conditions. Policymakers in Thailand and around the world are trying to take measures to deal with the outbreak to reduce its consequences with two major groups of disease control policies: by general measures (non-pharmaceutical interventions: NPI) and by using drugs or vaccines (on-pharmaceutical interventions: PI). At the beginning of the pandemic there were no drugs or vaccines to control COVID-19. Many countries around the world therefore focus on an enforcement of non-pharmaceutical interventions, such as a ban on travels in and out of the country, limited people going out of residence for certain periods (curfew), the closure of government buildings and the suspension of social and business activities, physical distancing and personal hygiene campaign. Yet, these non-pharmaceutical interventions measures are of limited effectiveness when applied over the long term, and also have serious economic and social impacts. Due to the severity of COVID-19 that affects the health of the infected persons and the limitation of NPIs, agencies around the world, both public and private, have accelerated research studies to develop anti-COVID-19 vaccines. While many vaccines have been developed and proven to be effective in humans, there are still challenges and difficulties in implementing them at the population level. This is because newly developed vaccines need to be certified and allowed before being used for a larger population. There are also limitations in terms of its long-term safety that have not been comprehensively assessed. Some of the vaccines being developed by new technologies that require specialized storage and transportation that may not be suitable for use in many contexts. Lastly, the number of vaccines produced at an early stage is still insufficient to meet both global and national demands. Therefore, without a well-informed policy decision to manage the COVID-19 vaccine supply chain, the policy makers not even achieve the effectiveness of disease control, may cause unnecessary loss of life, and even create health inequity. Not only the COVID-19 pandemic is a complex problem with high dynamics, policy decisions regarding the anti-COVID-19 vaccines are also very complex with uncertain results. We applied systems thinking process to deal with complexities and uncertainties by reviewing the related vaccine literature and conducting system dynamics modeling of the epidemic situations with vaccinating the anti-COVID-19 in Thailand’s populations. Group model building (GMB) process was used to work with policymakers and stakeholders of the COVID-19 vaccine policies. The Susceptible-Exposed-Infectious-Recovered (SEIR) model customarily used for epidemiological forecasting can be modified to build a structure of system dynamics (SD) models that simulated the scenarios emerging from various COVID-19 vaccine policy decisions. The target populations and the prioritization among the target groups were considered when considering which options can lead to the most effectiveness, and with the least unexpected results. We found that the data needed for developing simulation modeling of the anti-COVID-19 vaccines in Thailand had been very limited. But our literature review and consultations with experts led to sufficient data to construct a system dynamics model. We modeled the epidemiological scenarios during the April 2021 outbreak in Thailand, where the vaccines was somewhat effective in preventing infection but only limited supplies of vaccines available domestically, not enough for all population groups. The findings from our simulation model suggested that, deaths would be lower if the policymakers prioritized vaccines to people living in hyperendemic rather than distributing them across the country. Even though empirical evidence suggests that the vulnerable populations had a greater risk of developing severe symptoms and deaths if infected, allocating the vaccines to both the healthy and vulnerable populations can lead to less number of deaths than vaccinating only the vulnerable. As for the results from a situational model during the January 2022 outbreak with Omicron strain, as Thailand started to secure sufficient doses of vaccines yet the vaccines become less effective in preventing COVID-19 infections. This, the policy option of procuring and allocating a booster dose of COVID-19 vaccine to vulnerable populations becomes critical to reducing the COVID-19 case-fatality rate. Lastly, after the populations fully vaccinated or the immune levels of the previously infected reduced over time (vaccination waning), there is a chance of a new wave of outbreaks domestically. Therefore, policymakers should continue monitoring a set of indicators for effective policy decision-making on vaccination and other disease control policies in the first quarter of 2022, particularly when the vaccination coverage of the booster-dose vaccine was still less than desirable. With the Omicron strain, two doses of vaccination became not sufficient to prevent the symptomatic infections caused by infection. Other policy deployment mechanism to speed up the vaccination coverage, especially in the health-sensitive population groups, would reduce the severity of another wave of severe infections and deaths in 2022. The preliminary results of our research have been presented to policymakers at different levels to support their decision-making process. These included the scientific advisory committees of The Centre for COVID-19 Situation Administration (CCSA) of the Royal Thai Government, The Emergency Operation Center (EOC) of The Ministry of Public Health, The Macroeconomics Department of the Central Bank of Thailand, and The Board of Directors of the Health Systems Research Institute. Yet, using system dynamics modeling as a policy decision support tool (DST) still has limitations. The public policy process to cope with Thailand's public health emergencies tends to focus more on reactive measures than on planning and addressing the structural issues of the health systems that created persisting problems during the COIVD-19 pandemic. Without policies that address the high-leverage point of the systems, many issues related to the management of the COVID-19 vaccine supply chain still persists, including confusing communication of the risks of vaccination versus no vaccination to the public. Therefore, it is crucial to create a learning platform among policymakers and stakeholders to synthesize lessons learned on integrating research in the public policy process, and focusing more on the evidence-informed policy-making process under the country's emergency management systems. It can be challenging for policymakers to use evidence from simulation modeling in the decision-making process amid uncertain information and pressure from the public. But it is vital to work on this complex problem-solving process to prepare for any soon emerging public health emergencies.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 บ189ก 2565
dc.identifier.contactno64-055
dc.subject.keywordวัคซีนเข็มกระตุ้นth_TH
dc.subject.keywordNon-Pharmaceutical Interventionth_TH
dc.subject.keywordNPIth_TH
dc.subject.keywordPharmaceutical Interventionth_TH
dc.subject.keywordPIth_TH
dc.subject.keywordการจัดการห่วงโซ่อุปทานth_TH
dc.subject.keywordแบบจำลองพลวัตระบบth_TH
dc.subject.keywordSystem Dynamics Modellingth_TH
.custom.citationบวรศม ลีระพันธ์, Borwornsom Leerapan, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, ปณิธี ธัมมวิจยะ, Panithee Thammawijaya, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, Vorasith Sornsrivichai, พาส์น ฑีฆทรัพย์, Pard Teekasap, วรารัตน์ ใจชื่น, Wararat Jaichuen, ปฐมพร ศิรประภาศิริ, Pathomphorn Siraprapasiri, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, Kwanpracha Chiangchaisakulthai, ภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัย, Phanuwich Kaewkamjornchai, แพรวนภา พันธุ์สวาสดิ์ and Praewnapa Puntusavase. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการใช้แบบจำลองสถานการณ์พลวัตระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของวัคซีนโควิด-19." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5704">http://hdl.handle.net/11228/5704</a>.
.custom.total_download75
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs2856.pdf
Size: 2.263Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record