Show simple item record

Integrated Community-Based Care for Dependent Older People Community Participation in Preparation for Recurrent Outbreaks of COVID-19

dc.contributor.authorสุพิชญา หวังปิติพาณิชย์th_TH
dc.contributor.authorSupichaya Wangpitipanitth_TH
dc.contributor.authorแสงเดือน ปิยะตระกูลth_TH
dc.contributor.authorSangduen Piyatrakulth_TH
dc.contributor.authorธิดา ทองวิเชียรth_TH
dc.contributor.authorThida Tongvicheanth_TH
dc.date.accessioned2022-08-17T05:22:18Z
dc.date.available2022-08-17T05:22:18Z
dc.date.issued2565-08
dc.identifier.otherhs2868
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5712
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเตรียมรับการระบาดซ้ำของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) ศึกษารูปแบบและแนวทางปฏิบัติสำหรับครอบครัวและชุมชนที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ 3) เตรียมรับการระบาดซ้ำของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2. ผู้ดูแลหลักในครอบครัว 3. บุคลากรสุขภาพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ อาศัยอยู่ในพื้นที่มีการระบาด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยาและสมุทรปราการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มด้วยการจับสลาก จำนวน 440 กลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมโดยแบบสอบถาม จำนวน 5 ชุด ได้แก่ แบบประเมินคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสำหรับคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 3) แบบประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 4) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแนวคำถามปลายเปิดเพื่อสอบถามข้อมูลเชิงลึก และ 5) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีส่วนรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแนวคำถามปลายเปิดเพื่อสอบถามข้อมูลเชิงลึก ผลการศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่าเกินกว่าครึ่ง ร้อยละ 59.29 รู้จักโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 และได้รับข้อมูลจากบุตรหลานผู้ดูแล สื่อวิทยุและโทรทัศน์ สำหรับแนวทางการป้องกันและดูแลตนเองไม่ให้ติดเชื้อ ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างระหว่างกัน พกแอลกอฮอล์หรือเจลแอลกอฮอล์ การอยู่บ้านไม่ออกไปข้างนอก รวมถึงไม่ให้ใครมาเยี่ยมที่บ้าน กลุ่มที่ 2 ผู้ดูแลหลักในครอบครัว พบว่า ร้อยละ 36.59 เป็นผู้ดูแลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สถานะจะมีทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ดูแลอย่างเป็นทางการ (formal caregiver) เป็นผู้ดูแลที่ได้รับผ่านการฝึกอบรมมาก่อน ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้รับการดูแล โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในการให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ส่วนผู้ดูแลที่ไม่เป็นทางการ (informal caregiver) เป็นผู้ดูแลที่ทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือในชีวิตประจำวันต่างๆ มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ญาติหรือสมาชิกในครอบครัว) กลุ่มที่ 3 บุคลากรสุขภาพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ติดต่อสื่อสารกับญาติหรือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทางโทรศัพท์ เพื่อติดตามอาการก่อนออกไปเยี่ยมบ้าน และมีการป้องกันโรคโควิด-19 การเตรียมรับการระบาดซ้ำของโรค ปัญหาและอุปสรรคในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในช่วงระบาดของโรค คือ การสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรงกันในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ผู้สูงอายุและผู้ดูแล การดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค โดยเฉพาะที่มีการระบาดระลอกแรก พบปัญหาการบริหารจัดการด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ เอกสาร/ข้อมูล รวมถึงการจัดอัตรากำลังและการทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีความซ้ำซ้อนในการดูแล จึงควรมีการวางระบบให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดการดูแลที่ครอบคลุมและทั่วถึง ข้อเสนอแนะเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในช่วงระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ (1) การของบประมาณในการจัดหา/เตรียมอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานสะดวกมากขึ้น (2) เพิ่มค่าตอบแทน/ค่าล่วงเวลาในการลงชุมชนเพื่อเฝ้าระวัง สอบสวนโรค ควบคุมป้องกันโรค หรือดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุที่บ้าน ที่เป็นการทำงานนอกเหนือจากงานประจำหรืองานที่มอบหมาย (3) การพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพิ่มเติมจากมาตรการของภาครัฐ และ (4) การทำสนธิสัญญาร่วมกันในชุมชนที่เป็นการใช้กฎหมายบังคับที่ผ่านการเห็นชอบทั้งองค์กรท้องถิ่นและตำรวจ จะทำให้ประชาชนในชุมชนยอมรับและยินดีปฏิบัติตาม ซึ่งจะก่อให้เกิดการรับมือโรคโควิด-19 ได้อย่างยั่งยืน (ให้สังคมขัดเกลา) ข้อค้นพบของการศึกษาในครั้งนี้ ควรยึดหลักการป้องกัน คือ “หลัก 4 ไว้” ได้แก่ “ไว้ใจ ไว้บ้าน ไว้ตัว ไว้ระยะ”th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectAgingth_TH
dc.subjectOlder Peopleth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลที่บ้านth_TH
dc.subjectCaregiversth_TH
dc.subjectผู้ดูแลผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCOVID-19--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectCommunity-Basedth_TH
dc.subjectชุมชน--การร่วมมือth_TH
dc.subjectCommunity Participationth_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเตรียมรับการระบาดซ้ำของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019th_TH
dc.title.alternativeIntegrated Community-Based Care for Dependent Older People Community Participation in Preparation for Recurrent Outbreaks of COVID-19th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeOlder people with dependency are those who have limitations in daily activities. It affects physical and mental ability, social participation, and the need for help caring for the family and the community. Descriptive research aims to study the context of integrated care for the dependent older people with community participation by community participation in preparation for the re-epidemic of the coronavirus disease 2019. In addition, develop policy proposals for integrated care for the older people with dependency on community participation in preparation for the re-emergence of the coronavirus disease 2019. They have selected random samples from 6 provinces across the country. According to the inclusion criteria, 440 households of primary caregivers assessed the functioning ability of the older people, primary caregivers, and 440 families involved in older people's care. There were 154 community dependencies. Data were collected from the tools tested for the content quality of the research tools. From 3 qualified health experts, the content accuracy was 0.91, and the confidence value (Reliability) Cronbach's alpha coefficient was 0.69. There were both quantitative and qualitative. The study results were based on the principle of "Trust, Stay at home, Keep distance" and perceptions of COVID-19, impacts, problems, obstacles, and the need for care. Results In terms of quality, there are four preventive principles in mind: "Trust, Self Care, Stay at Home, Keep Distance" and guidelines for preventing COVID-19 at the family level. The gathering data is expected to form the information for planning, operating, and organizing training to provide knowledge and training in caregiving skills. It refers to preparing guidelines for caring for the dependent older people with dependency conditions in the personnel health, social workers, local government organizations, and related agencies.th_TH
dc.identifier.callnoWT20 ส831ก 2565
dc.identifier.contactno64-026
.custom.citationสุพิชญา หวังปิติพาณิชย์, Supichaya Wangpitipanit, แสงเดือน ปิยะตระกูล, Sangduen Piyatrakul, ธิดา ทองวิเชียร and Thida Tongvichean. "การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเตรียมรับการระบาดซ้ำของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5712">http://hdl.handle.net/11228/5712</a>.
.custom.total_download119
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year17

Fulltext
Icon
Name: hs2868.pdf
Size: 6.574Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record