dc.description.abstract | องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสุขภาพในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 จากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบนี้ เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ดังนั้น การดูแลตนเองเพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวลจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การที่ต้องลดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำให้ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อลดภาวะเครียดและวิตกกังวลจากผลกระทบ COVID-19 สำหรับประชาชนโดยออกแบบเพื่อ (1) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บแอปพลิเคชัน (2) ศึกษาระดับความเครียด ความวิตกกังวลและการเผชิญความเครียด (3) เปรียบเทียบผลของการใช้เว็บแอปพลิเคชันที่มีโปรแกรมการคิดเชิงบวกต่อการลดความวิตกกังวล (4) สังเคราะห์แนวทางการช่วยเหลือตนเองของประชาชนในภาวะวิกฤติจากความเครียดและความวิตกกังวล จากสถานการณ์การระบาด COVID-19 วิธีการศึกษา: งานวิจัยระยะที่ 1 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เป็นประชาชนทั่วไปในเขตจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บแอปพลิเคชันที่มีแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้เว็บแอปพลิเคชัน แบบสอบถามความเครียด (GHQ-28) แบบสอบถามความวิตกกังวล และแบบสอบถามวิธีการเผชิญเครียดจากผลกระทบ COVID-19 ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน คัดเลือกจากระยะที่ 1 ที่มีระดับความวิตกกังวลระดับปานกลางถึงมาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่มีโปรแกรมการฝึกการคิดเชิงบวกเพื่อลดความวิตกกังวล กลุ่มทดลองได้รับการฝึกการคิดเชิงบวกผ่านเว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 15 กิจกรรม การใช้เวลาแต่ละครั้งไม่จำกัด ขึ้นกับผู้ใช้ แต่ไม่เกิน 20 วันต่อเนื่องกัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ การเก็บข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน พ.ศ. 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test-dependent และ t-test-independent ส่วนการสังเคราะห์แนวทางการช่วยเหลือตนเองของประชาชนในภาวะวิกฤติจากความเครียดและความวิตกกังวลจากสถานการณ์การระบาด COVID-19 เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพใช้โปรแกรม Atlast. ti ในการทำ content analysis ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นวัยทำงาน อายุ 21-30 ปี ร้อยละ 23 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 19 และอายุ 31-40 ปี ร้อยละ 18.5 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็ปแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x ̅ = 4.04 ,S.D. + 0.83) รองลงมาเป็นความพึงพอใจด้านการออกแบบและประสิทธิภาพ (x ̅ = 4.00 , S.D. + 0.78) (x ̅ = 3.14 ,S.D. + 1.64 ) ตามลำดับ และผลการวัดระดับความเครียด พบว่า ระดับความเครียดปกติ ร้อยละ 86.3 ระดับความเครียดมากกว่าปกติ ร้อยละ 13.8 และระดับความวิตกกังวล พบว่า ระดับความวิตกกังวลสูง ร้อยละ 4.5 ระดับความวิตกกังวลปานกลาง ร้อยละ 49 และระดับความวิตกกังวลต่ำ ร้อยละ 46.5 ส่วนวิธีการเผชิญเครียดที่ใช้มากที่สุด คือการเบี่ยงเบนความสนใจ (x ̅ = 2.72 , S.D. + 0.61 ) รองลงมาเป็นการมองโลกในแง่ดี (x ̅ = 2.70 , S.D. + 0.61 ) และผลจากการใช้เว็บแอปพลิเคชันเพื่อลดความวิตกกังวล พบว่า คะแนนความวิตกกังวลภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้เว็บแอปพลิเคชันที่มีโปรแกรมการฝึกการคิดเชิงบวกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x ̅ = 3.47 , S.D. + 0.29 ) และ (x ̅ = 3.18 , S.D. + 0.17) ตามลำดับ และคะแนนความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการใช้เว็บแอปพลิเคชันที่มีโปรแกรมการฝึกการคิดเชิงบวกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x ̅ = 3.18 , S.D. + 0.16) และ (x ̅ = 3.48 , S.D. + 0.33 ) ตามลำดับ ส่วนแนวทางการช่วยเหลือตนเองของประชาชนในภาวะวิกฤติจากความเครียดและความวิตกกังวล จากสถานการณ์การระบาด COVID-19 ที่ทำแล้วได้ผลดีในการลดความเครียดและความวิตกกังวล ได้แก่ การผ่อนคลายโดยการดูภาพยนตร์ ฟังเพลง การทำอาหาร ปลูกต้นไม้ อยู่กับธรรมชาติและปรับความคิดในทางบวก การป้องกันตนเองในรูปแบบป้องกันการได้รับเชื้อโดยตรงและรูปแบบทางอ้อม ได้แก่ การลดการเสพข่าวที่อ่านแล้วทำให้ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น เลือกเสพข่าวที่มีประโยชน์ การพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และวิธีอื่นๆ เช่น การใช้สติในการแก้ปัญหา การส่งเสริมสุขภาพจิต ทำใจยอมรับ เป็นต้น ในทางกลับกัน แนวทางการช่วยเหลือตนเองที่ทำแล้วแต่ไม่ค่อยได้ผลในการลดความเครียดและความวิตกกังวล ได้แก่ การไม่สามารถปรับความคิดพยายามลืมเรื่องเครียดแต่ทำไม่ได้ ไม่สามารถตั้งสติหรือทำจิตใจให้สงบและปล่อยวางไม่ได้ การเสพข่าวมากเกินไป การไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยงเพราะจำเป็นต้องเดินทางไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The World Health Organization was announced that a major pandemic a health emergency in April 2020 due to the COVID-19 pandemic. This evidence was impacted many people to stress and anxiety. Self-care is important. For reducing interpersonal interactions, technology is now increasingly active. Objectives: To develop a web application that reduces stress and anxiety resulting from the effects of the COVID-19 pandemic. This web application was designed to (1) Assess satisfaction with the use of the application website. (2) Measure the levels of stress and anxiety, and coping mechanisms. (3) Compare the effects of using a website application with a positive thinking program on reducing anxiety. (4) Synthesizing people's self-help approaches to stress and anxiety from the COVID-19 pandemic. Methodologies: Phase I was a mixed - method research to analyze data from the web application (N = 400) collected in Pathum Thani province. The instruments were the satisfaction survey, GHQ-28 Tool, Anxiety questionnaires, Coping questionnaires, and Positive Thinking Program, with the web application usage. Phase II was a quasi-experimental research method. The sample (N = 80) was randomly selected from Phase I into the experimental group (N = 40) and control group (N = 40). The experimental group completed the 15-Positive Thinking Program exercises within 20 days. Data collection was conducted from February 2022 to April 2022. The data analysis used were descriptive statistics, percentages, frequencies, averages, standard deviations, t-test dependent, and t-test independent. The content analysis used Atlast.ti software to synthesizing people's self-help Results: The sample consisted of individuals of working age, 21-30 years old (23%), 41-50 years old (19%), and 31-40 years old (18.5%). The satisfaction of using the web application was evaluated in three parts, the most satisfaction with the benefits (x ̅ = 4.04, S.D. + 0.83). The satisfaction with design, and performance were x ̅ = 4.00, S.D. + 0.78 and x ̅ = 3.14, S.D. + 1.64 respectively. The stress levels were categorized as normal (86.3 %) and abnormal levels (13.8 %). The anxiety levels were categorized as high (4.5%), moderate (49%), and low (46.5%). The coping methods used by the sampled individuals were distractions (x ̅ = 2.72, S.D. + 0.61) and positive thinking (x ̅ = 2.70, S.D. + 0.61). As a result of using web applications to reduce anxiety, anxiety scores were found within the trial group before and after using web applications with positive thinking training programs. Statistically significant differences at .05 (= 3.47, S.D. + 0.29) and (= 3.18, S.D. + 0.17) respectively, and anxiety scores between the trial group and the control group after using web applications with positive thinking training programs differed statistically significantly at .05 (= 3.18, S.D. + 0.16) and (= 3.48, S.D. + 0.33) respectively. People's self-help approaches to stress and anxiety from the COVID-19 pandemic which can reduce stress and anxiety, including relaxing by watching movies, listening to music. Cooking, planting trees, living with nature, and adjusting ideas in a positive way. Self-defense in the form of prevention of direct infection and indirect were reducing to read news which causing anxiety, choose useful news, get enough rest. exercise, eat healthy foods, and other methods, such as using mindfulness to solve problems. Promoting mental health, acceptance, etc. On the other hand, Self-help practices that have been done but rarely effect to reduce stress and anxiety include not being able to adjust your mindset, trying to forget about stress but not being able to. can't stay focused or calm your mind and can't let go. too much news. not being able to avoid risky places because it is necessary to go to work and go about daily life. | th_TH |
.custom.citation | เอื้อญาติ ชูชื่น, Uayart Chuchuen, ปวีณา นันทวิสิทธิ์, Pavena Nuntawisit, Pfaff, Glenn, นันทา ชัยพิชิตพันธ์ and Nanta Chaipichitpan. "การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อลดภาวะเครียดและวิตกกังวลจากผลกระทบ COVID-19 สำหรับประชาชน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5722">http://hdl.handle.net/11228/5722</a>. | |