Show simple item record

Cost-Utility Analysis of Endovascular Treatment in Patients with Acute Ischemic Stroke in Thailand

dc.contributor.authorวรัญญา รัตนวิภาพงษ์th_TH
dc.contributor.authorWaranya Rattanavipapongth_TH
dc.contributor.authorบุสดี โสบุญth_TH
dc.contributor.authorBudsadee Soboonth_TH
dc.contributor.authorวิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตรth_TH
dc.contributor.authorVilawan Luankongsomchitth_TH
dc.contributor.authorยงชัย นิละนนท์th_TH
dc.contributor.authorYongchai Nilanontth_TH
dc.contributor.authorธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัยth_TH
dc.contributor.authorThanaboon Worakijthamrongchaith_TH
dc.contributor.authorมนันชยา กองเมืองปักth_TH
dc.contributor.authorMananchaya Kongmuangpukth_TH
dc.date.accessioned2022-09-02T08:28:38Z
dc.date.available2022-09-02T08:28:38Z
dc.date.issued2565-02
dc.identifier.otherhs2875
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5727
dc.description.abstractโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program, HITAP) ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ดำเนินการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “การรักษาหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันด้วยการใช้เครื่องมือผ่านสายสวนหลอดเลือด thrombectomy” เพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายเรื่อง การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และผลกระทบด้านงบประมาณของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment รวมทั้งรวบรวมข้อมูลเรื่อง ความพร้อมของการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประเทศไทย วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการแพทย์ในมุมมองสังคม โดยใช้แบบจำลอง decision tree และ Markov รวมทั้งประเมินผลกระทบด้านงบประมาณของการตัดสินใจเชิงนโยบายเรื่อง การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประเทศไทย ในผู้ป่วยทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ทั้งนี้ ระเบียบวิธีวิจัย ดำเนินงานตามแนวทางการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประเทศไทย ตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองมาจากการเก็บข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันในประเทศไทย และทบทวนวรรณกรรมทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลเรื่องสถานพยาบาลและจำนวนแพทย์ที่สามารถให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประเทศไทยจากราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประเทศไทย ทั้งในผู้ป่วยได้รับและไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (alteplase) มีความคุ้มค่าในบริบทประเทศไทย ซึ่งมีเกณฑ์ความคุ้มค่าที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ โดยมีอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 147,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ในผู้ป่วยที่ได้รับยา alteplase และ 114,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา alteplase นอกจากนี้ ระบบหลักประกันสุขภาพต้องเตรียมงบประมาณเพิ่มขึ้น 887 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า สำหรับผู้ป่วย 2,000 รายต่อปี ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงพยาบาล 52 แห่งและแพทย์ จำนวน 50 คน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ สรุปผลการศึกษา งานวิจัยนี้พบว่า การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประเทศไทย ทั้งในผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีความคุ้มค่า มีความเป็นไปได้ทั้งในด้านงบประมาณและขีดความสามารถของผู้ให้บริการ ดังนั้น ควรเพิ่มการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment เป็นชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยราคาเบิกจ่ายที่เหมาะสมสำหรับ thrombectomy และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมด้วย คือ 73,800-88,100 บาทต่ออุปกรณ์ 1 ชุดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectStroketh_TH
dc.subjectStroke Patientsth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectAcute Ischemic Stroketh_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectงบประมาณทางการแพทย์th_TH
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--ค่าใช้จ่ายth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประชากรไทยth_TH
dc.title.alternativeCost-Utility Analysis of Endovascular Treatment in Patients with Acute Ischemic Stroke in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction The Subcommittee for Development of the Benefit Package and Service Delivery (SCBP), which holds decision-making authority for the health benefit package of the Universal Coverage Scheme (UC), requested the Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) to conduct a health technology assessment of “Endovascular treatment for acute ischemic stroke”. This information will be used by the SCBP to decide whether to include endovascular therapy in the UC benefit package. Objectives This study aims to determine the value for money and the fiscal burden to the Thai government of introducing endovascular treatment for acute ischemic stroke into the UC. We also review the feasibility of providing endovascular treatment in Thailand. Methods Model-based economic evaluations, consisting of a decision tree and a Markov model, were conducted to assess the value for money (societal perspective) and budget impact analysis (provider perspective) of endovascular treatment for acute ischemic stroke, either alone or in combination with intravenous alteplase. The methodology follows the Thai methodological and process guidelines for conducting health technology assessment. Model input parameters were collected locally from retrospective data and from a literature review of both national and international studies. In addition, number of hospitals and number of specialists in radiology/neurology were gathered from the relevant Royal Colleges. Results According to the Thai cost-effectiveness threshold of 160,000 THB per quality-adjusted life-year (QALY) gained, treatment with endovascular treatment as an adjunct therapy to intravenous alteplase for alteplase eligible-patients, and endovascular therapy alone for alteplase ineligible patients is cost-effective in treating patients with acute ischemic stroke. Adding endovascular treatment to intravenous alteplase was associated with an ICER of 147,000 THB per QALY gained compared to intravenous alteplase alone. For patients ineligiblefor intravenous alteplase, the ICER of endovascular treatment alone compared to supportive care was estimated at 114,000 THB per QALY gained. With an assumption that there will be 2,000 new cases per year, an additional budget of 887 million THB over a time horizon of 5 years would be incurred if SCBP decides to adopt endovascular therapy under the Thai health benefits package. Currently, in Thailand, there are 50 specialists in radiology and neurology, located across 52 hospitals with the capacity to provide endovascular treatment for acute ischemic stroke. However, most are located in Bangkok. Conclusions Endovascular treatment for acute ischemic stroke represents good value for money, when provided alone and when delivered with intravenous alteplase. Provision of endovascular treatment in Thailand is likely to be feasible in terms of government budget and provider capacity. Thus, endovascular treatment should be included in the Thai health benefits package, with the thrombectomy device priced between 73,800 and 88,100 THB.th_TH
dc.identifier.callnoW74 ว711ก 2565
dc.identifier.contactno64-211
dc.subject.keywordEndovascular Treatmentth_TH
dc.subject.keywordThrombectomyth_TH
dc.subject.keywordEconomic Evaluationth_TH
.custom.citationวรัญญา รัตนวิภาพงษ์, Waranya Rattanavipapong, บุสดี โสบุญ, Budsadee Soboon, วิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตร, Vilawan Luankongsomchit, ยงชัย นิละนนท์, Yongchai Nilanont, ธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัย, Thanaboon Worakijthamrongchai, มนันชยา กองเมืองปัก and Mananchaya Kongmuangpuk. "การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันผ่านสายสวนหลอดเลือดด้วยวิธี endovascular treatment ในประชากรไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5727">http://hdl.handle.net/11228/5727</a>.
.custom.total_download69
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year25

Fulltext
Icon
Name: hs2875.pdf
Size: 2.931Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record