Show simple item record

Integrated School-Based Program to Improve Reading Ability and Its Cost-Effectiveness for Screening and Managing Children at Risk of Dyslexia (Third Year)

dc.contributor.authorภาสกร ศรีทิพย์สุโขth_TH
dc.contributor.authorPaskorn Sritipsukhoth_TH
dc.contributor.authorอิสราภา ชื่นสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorIssarapa Chunsuwanth_TH
dc.contributor.authorตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorTawanchai Jirapramukpitakth_TH
dc.contributor.authorติรยา เลิศหัตถศิลป์th_TH
dc.contributor.authorTiraya Lerthattasilpth_TH
dc.contributor.authorกนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์th_TH
dc.contributor.authorKanokporn Vibulpatanavongth_TH
dc.contributor.authorน้ำฝน ศรีบัณฑิตth_TH
dc.contributor.authorNamfon Sribunditth_TH
dc.date.accessioned2022-09-13T06:54:31Z
dc.date.available2022-09-13T06:54:31Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.otherhs2878
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5730
dc.description.abstractโครงการวิจัยในปีที่ 3 นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การบำบัดความบกพร่องทักษะด้านการอ่านระหว่างเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อความบกพร่องทักษะด้านการอ่าน ในโรงเรียนกลุ่มศึกษากับกลุ่มควบคุม ภายหลังจากการจัดการสอนเสริมต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งมีนักเรียนกลุ่มเสี่ยงฯ ในโรงเรียนกลุ่มสอนเสริมและกลุ่มควบคุม จำนวน 42 ราย และ 77 ราย ในช่วงเริ่มการทดลองในปีที่ 2 โดยนักเรียนในกลุ่มสอนเสริมได้รับการสอนเป็นระยะเวลารวม 24 สัปดาห์ ในระหว่างที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 และไม่ได้เรียนเสริมในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เนื่องจากโรงเรียนปิดการเรียนการสอนที่โรงเรียน แต่ได้รับการติดตามเพื่อทดสอบความสามารถในการอ่านและวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนด้านการอ่านด้วยเครื่องมือ (Wide Range Achievement Test; WRAT) เมื่อเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีเด็กกลุ่มสอนเสริมและกลุ่มควบคุมที่ยังเหลืออยู่ในโครงการจำนวน 32 และ 58 คน ตามลำดับ เด็กนักเรียนในโครงการวิจัยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงฯ ซึ่งเหลือเป็นจำนวน 621 คน จากการติดตามความสามารถของการอ่านของเด็กประถมในระยะตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความสามารถในการอ่านของเด็กทั่วไปจะพัฒนาในอัตราที่เร็วกว่าเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างชัดเจน การทดสอบเมื่อเด็กเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า เด็กกลุ่มเสี่ยงฯ ที่ได้รับการสอนเสริมมีคะแนนทดสอบการอ่านและทักษะพื้นฐานของการอ่านเกือบทุกด้านสูงกว่าเด็กกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนด้านการอ่านจากเครื่องมือ WRAT พบว่า เด็กกลุ่มสอนเสริม ร้อยละ 68 และเด็กกลุ่ม กลุ่มควบคุม ร้อยละ 58 มีผลการทดสอบด้านการอ่านด้วยแบบทดสอบ WRAT ไม่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานเกิน 2 ชั้นเรียน บ่งบอกว่ามีปัญหาในด้านการอ่านที่ไม่รุนแรง แต่พบว่าเด็กมากกว่าร้อยละ 90 จากทั้งสองกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ของการเรียนด้านและการเขียนต่ำกว่าค่ามาตรฐานเกิน 2 ชั้นเรียน นอกจากนี้คะแนนจากแบบทดสอบการอ่านมีความสัมพันธ์กับค่าคะแนน WRAT ของเด็กกลุ่มเสี่ยงฯ ในระดับสูง สามารถใช้คะแนนจากแบบทดสอบการอ่านที่ทดสอบระดับประถมศึกษาปีที่ 2 และ 5 ในการช่วยบ่งบอกความรุนแรงของภาวะบกพร่องด้านการอ่านได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectนักเรียนth_TH
dc.subjectChildrenth_TH
dc.subjectการอ่านth_TH
dc.subjectReadingth_TH
dc.subjectReading--Ability Testingth_TH
dc.subjectโรงเรียนth_TH
dc.subjectSchoolsth_TH
dc.subjectDyslexiath_TH
dc.subjectDyslexia--Diagnosisth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleโปรแกรมพัฒนาทักษะด้านการอ่านแบบบูรณาการในโรงเรียนและต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรม สำหรับคัดกรองและบำบัดช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อความบกพร่องทักษะด้านการอ่าน (ปีที่ 3)th_TH
dc.title.alternativeIntegrated School-Based Program to Improve Reading Ability and Its Cost-Effectiveness for Screening and Managing Children at Risk of Dyslexia (Third Year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis third year research project has the main objective to compare the outcomes of treatment for at-risk of dyslexia children between the supplementary teaching group and the control group, after two years of small group reinforcement teaching with 42 and 77 high-risk students in the supplementary and control group schools entering the experiment in the second year. Teaching for a total of 24 weeks during the 3rd grade has been adjusted for in accordance with the situation of the COVID-19 epidemic. Unfortunately, the school was closed for onsite teaching in the 4th grade level. However, the students was followed up to test reading ability and to measure learning achievement in reading with the WRAT tool at the fifth grade level, with the children in the supplementary group and the control group of 32 and 58 people, respectively. For students in research projects who are not at risk group, the remaining 621 students were monitored for reading ability of elementary school children from grade 1 to grade 5. Reading abilities of not-at risk of dyslexia pupils develop at a faster rate than those of at risk of dyslexia pupils. The result of the reading test when in the fifth grade showed that the children in the at-risk group who received supplemental teaching had higher scores on reading and basic reading skills in almost all areas than the children in the control group, but not reach statistically significance. Learning achievement in reading from the WRAT test showed that 68% of the children in the supplementary teaching group and 58 percent of the children in the control group had a reading domain not lower than the standard value for more than 2 classes as there was a mild reading problem. However, the results showed that more than 90 percent of children from both groups had an achievement of writing domain less than the standard for more than two classes. In addition, reading test scores were highly correlated with WRAT scores. So, scores from the Reading Test at Grade 2 and 5 can be used to help determine the severity of the reading disability.th_TH
dc.identifier.callnoWS19 ภ493ป 2565
dc.identifier.contactno64-025
dc.subject.keywordทักษะด้านการอ่านth_TH
dc.subject.keywordแบบทดสอบการอ่านth_TH
dc.subject.keywordความบกพร่องทักษะด้านการอ่านth_TH
dc.subject.keywordภาวะบกพร่องด้านการอ่านth_TH
dc.subject.keywordWide Range Achievement Testth_TH
dc.subject.keywordWRATth_TH
.custom.citationภาสกร ศรีทิพย์สุโข, Paskorn Sritipsukho, อิสราภา ชื่นสุวรรณ, Issarapa Chunsuwan, ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, Tawanchai Jirapramukpitak, ติรยา เลิศหัตถศิลป์, Tiraya Lerthattasilp, กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์, Kanokporn Vibulpatanavong, น้ำฝน ศรีบัณฑิต and Namfon Sribundit. "โปรแกรมพัฒนาทักษะด้านการอ่านแบบบูรณาการในโรงเรียนและต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรม สำหรับคัดกรองและบำบัดช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อความบกพร่องทักษะด้านการอ่าน (ปีที่ 3)." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5730">http://hdl.handle.net/11228/5730</a>.
.custom.total_download18
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2878.pdf
Size: 1.448Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record