Show simple item record

Policy Recommendation for Model Development of Health Services System and Appropriated Environment for Elderly People in Town Municipality

dc.contributor.authorสิริมา มงคลสัมฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorSirima Mongkolsomlitth_TH
dc.contributor.authorคัติยา อีวาโนวิชth_TH
dc.contributor.authorKatiya Ivanovitchth_TH
dc.contributor.authorศุภางค์ วัฒนเสยth_TH
dc.contributor.authorSupang Wattanasoeith_TH
dc.contributor.authorสุรางค์รัตน์ พ้องพานth_TH
dc.contributor.authorSurangrat Pongpanth_TH
dc.contributor.authorสยัมภู ใสทาth_TH
dc.contributor.authorSayambhu Saitath_TH
dc.contributor.authorนนท์ธิยา หอมขำth_TH
dc.contributor.authorNontiya Homkhamth_TH
dc.contributor.authorชวินทร มัยยะภักดีth_TH
dc.contributor.authorChavinthorn Maiyapakdeeth_TH
dc.date.accessioned2022-10-06T07:57:11Z
dc.date.available2022-10-06T07:57:11Z
dc.date.issued2565-08
dc.identifier.otherhs2889
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5749
dc.description.abstractการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 2) ประเมินผลรูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร และ 3) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเขตเมือง รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (AIC-Participatory Action Research) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรภาครัฐ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้สูงอายุเทศบาลเมืองปทุมธานี เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 1,399 ราย และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จำนวน 1,912 ราย ผลการศึกษา ผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ มีความต่างกันระหว่างเทศบาลเมืองปทุมธานี และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ทั้งนี้รูปแบบที่เป็นข้อเสนอจากเทศบาลเมืองเขลางค์นคร คือ การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเชิงรุก จัดกิจกรรมสันทนาการอย่างสม่ำเสมอ การให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ การตั้งกองทุน การจัดตั้งธนาคารความดี การส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งหรือไม่มีคนดูแล การปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ปรับภูมิทัศน์และการจัดสภาพบ้านเรือน ที่พักอาศัย เหมาะสม ปลอดภัย เช่น มีราวบันได รวมถึงที่สาธารณะ ในขณะที่เทศบาลเมืองปทุมธานีเสนอรูปแบบ ระบบส่งต่อผู้ป่วย ติดต่อรวดเร็ว (เจ็บป่วย) โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินแบบไม่เลือกปฏิบัติ ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตรวจ ลงเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงสม่ำเสมอ เดือนละครั้ง เสริมสร้างศักยภาพ อสม. สร้างคุณค่าผู้สูงอายุโดยการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างรายได้ กลุ่มอาชีพ หาตลาดขาย ส่งเสริมความสามารถผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน จัดระเบียบชุมชนจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุ เช่น เรียนออนไลน์และประเมินสิ่งแวดล้อมในบ้านผู้สูงอายุให้ปลอดภัย การประเมินผลรูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมือง พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต น้ำหนักร่างกาย ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุเทศบาลเมืองปทุมธานี มีค่าสูงกว่าเทศบาลเมืองเขลางค์นคร แต่มีมวลกล้ามเนื้อที่น้อยกว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองปทุมธานีมีความสามารถในการกลั้นการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะได้ปกติ ร้อยละ 90-94 ในขณะที่ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ความสามารถในการกลั้นการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะได้ปกติ ร้อยละ 96-97 ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุของทั้งสองเทศบาลเมือง พบว่า ร้อยละ 56-62 ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 17-21 ที่มีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป และร้อยละ 19-21 มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป สำหรับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 97 มีความพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ในตอนนี้ ไม่อยากทำในสิ่งที่เคยสนใจหรือเคยทำเป็นประจำ ร้อยละ 15-21 รู้สึกชีวิตว่างเปล่า ร้อยละ 14-15 รู้สึกเบื่อหน่ายบ่อยๆ ร้อยละ 12-15 มีความกังวลตลอดเวลาและเลิกคิดไม่ได้ ร้อยละ 14-17 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตข้างหน้า ร้อยละ 21-23 คิดว่าความจำไม่ดีเท่าคนอื่น ร้อยละ 17-21 รู้สึกหมดกำลังใจหรือเศร้าบ่อยๆ ร้อยละ 7-8 และรู้สึกชีวิตไม่มีคุณค่า ร้อยละ 5-6 ในด้านคุณภาพชีวิต พบว่าผู้สูงอายุพอใจกับสุขภาพตอนนี้ในระดับมาก ร้อยละ 62-67 พอใจกับการนอนหลับในระดับมาก ร้อยละ 68-72 ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต (เช่น มีความสุขความสงบ มีความหวัง) ในระดับมาก ร้อยละ 65-81 มีความพึงพอใจในตนเองในระดับมาก ร้อยละ 65-68 รวมถึงความพึงพอใจในด้านอื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุของทั้งสองเทศบาลมีความพอใจต่อการเกิดกระบวนการพัฒนารูปแบบการจัดบริการ แต่การดำเนินการรูปแบบการจัดบริการยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มระบบ เนื่องจากมีความซับซ้อนในการดำเนินการและต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากประชาชน รวมถึงการบูรณาการการทำงานจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี รูปแบบกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาสามารถจูงใจให้ผู้สูงอายุออกมาเข้าร่วมกิจกรรมได้มากกว่า สำหรับการจัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยปลอดภัยในพื้นที่เทศบาลเมืองเขลางค์นคร มีผู้สูงอายุ จำนวน 7 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลในการซ่อมแซมห้องน้ำและบันได สำหรับเทศบาลเมืองปทุมธานียังไม่ได้ดำเนินการในการสำรวจสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบูรณาการข้อมูลทางด้านสุขภาพระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อการพัฒนาระบบการจัดบริการผู้สูงอายุ การกำหนดคุณสมบัติและศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข การส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลผู้สูงอายุและจัดที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น และบทบาทของสถาบันการศึกษาในการสร้างการเปลี่ยนแปลงการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกให้แก่ผู้สูงอายุท้องถิ่นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectAgingth_TH
dc.subjectOlder Peopleth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลth_TH
dc.subjectผู้สูงอาย--ที่อยู่อาศัยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การพัฒนาคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectสภาพแวดล้อมth_TH
dc.subjectการจัดการสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองth_TH
dc.title.alternativePolicy Recommendation for Model Development of Health Services System and Appropriated Environment for Elderly People in Town Municipalityth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research objective of project “Policy Recommendation for model development of health services system and appropriated environment for elderly people in Town Municipality” were to 1) develop the health and environmental services for the elderly in Pathum Thani municipality and Khelang Nakhon Municipality, 2 ) evaluation of health and environmental service arrangements for the elderly in Pathum Thani Municipality and Khelang Nakhon Municipality and 3) synthesize policy recommendations on providing appropriate health and environmental services for the elderly in urban communities. Study design was conduct with AIC- Participatory Action Research. Qualitative data was collected from community leaders, health volunteer’s worker and government workers. Quantitative data was collected from 1,399 elderly people from Pathum Thani Municipality and 1,912 in Khelang Nakhon Municipality. The results showed that the development of health services system and appropriated environment for elderly people in Town Municipality are difference between Pathum Thani Municipality and Khelang Nakhon Municipality. The model proposed by Khelang Nakhon Municipality are to proactively organize health services for the elderly, organize recreational activities regularly, educating the elderly, setting up funds for elderly, establishing goodness banks, promoting the careers of the elderly care for the neglected or unsupervised elderly, improve the home environment, reshape and lighting of the house, provide suitable and safe shelters such as railings. While Pathum Thani Municipality proposes a model for patient referral system, EMS emergency operations centers express health volunteers to check in regularly with bedridden patients, creating value for the elderly by exchanging learning activities and earning money, find a model for sale promote the ability of caregivers to be elderly at home, organize communities, provide a conducive environment for learning for the elderly, such as online learning and assessing the environment in the elderly's home to be safe. The result of evaluation of health and environmental service arrangement models for municipal elderly found that blood glucose levels, blood pressure, body weight, body Mass Index in elderly people of Pathum Thani Municipal higher than the municipality of Khelang Nakhon, except muscle mass. Elderly people in Pathum Thani Municipality could normally defecation and urination around 90-94%, while the elderly of Khelang Nakhon Municipality the ability to defecation and urine normally 96-97 % Mental health problems in the elderly of both municipalities showed 56-62% of elderly people had the same mental health as the average, 17-21% better mental health than the average person, 19-21 % lower mental health than the average person. For depression problem in the elderly found 97% of elderly people are satisfied with their lives right now. Around 14-15% of elderly feel empty life, 12-15% feel frequently bored, 14-17% are constantly anxious and unthinkable, 21-23% have anxiety about life ahead, 17-21% is feel not as good memory as others, 7-8% feel discouraged or sad, and 5-6 % feel life is worthless. Quality of life status result found that elderly people are satisfied with their health now to a considerable extent. Around 6 2 - 6 7 % were most satisfied with sleep. 68-72% feel moderated satisfied in life (e.g. happiness, peace, hope). 65-81% feel a very high level of self-satisfaction and 65-68% as well as high satisfaction in other quality of life. Satisfaction on the appropriate health and environmental service model for the elderly of both municipalities is satisfied with the development process of the service model, but the implementation of the service model has not been fully implemented due to the complexity of the operation and requires public participation. This includes integrating work from different sectors, which must be conducted continuously. Religiously relevant activity patterns can incentivize older people to come out and participate. For environmentally safe housing arrangements in Kalen Nakhon Municipality Seven elderly people received municipal funding to repair toilets and stairs. For the municipality, Pathum Thani has not yet undertaken to explore a safe housing environment for the elderly. The Policy recommendations on providing appropriate health and environmental services for the elderly in urban communities including development of local government potential, integration of health information between local governments and health authorities for the development of the elderly services system, specify of qualifications and potential of public health volunteers, promoting supports public participation in elderly people and providing safe housing. Moreover, enhancing the use of health insurance fund budgets at the local level and push the role of educational institutions in creating initiative-taking changes in healthcare provision for local elderly people.th_TH
dc.identifier.callnoWT27 ส732ข 2565
dc.identifier.contactno64-013
.custom.citationสิริมา มงคลสัมฤทธิ์, Sirima Mongkolsomlit, คัติยา อีวาโนวิช, Katiya Ivanovitch, ศุภางค์ วัฒนเสย, Supang Wattanasoei, สุรางค์รัตน์ พ้องพาน, Surangrat Pongpan, สยัมภู ใสทา, Sayambhu Saita, นนท์ธิยา หอมขำ, Nontiya Homkham, ชวินทร มัยยะภักดี and Chavinthorn Maiyapakdee. "ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5749">http://hdl.handle.net/11228/5749</a>.
.custom.total_download131
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year32
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs2889.pdf
Size: 6.365Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record